Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/301
Title: การศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู เด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก
Other Titles: A study on infant and toddler educare operation of administrators and caregivers in child care centers
Authors: วรนาฏ สุคนธรัตน์, 2519-
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เด็ก--การดูแล
ทารก--การดูแล
ผู้ดูแล
สถานเลี้ยงเด็ก
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารก และวัยเตาะแตะของผู้บริหารและผู้เลี้ยงดูเด็ก ในสถานรับเลี้ยงเด็ก ในด้านนโยบายของสถานรับเลี้ยงเด็ก การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก การอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหาร 75 คน ผู้เลี้ยงดูเด็ก 150 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบสำรวจ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) นโยบายของสถานรับเลี้ยงเด็ก มีการคัดเลือกผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กมาก่อน และเป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่อบอุ่น ใจดี อดทนและรักเด็ก มีการกำหนดอัตราส่วนระหว่างผู้เลี้ยงดูเด็ก 1 คน ต่อเด็กวัยทารก ไม่เกิน 3 คน และผู้เลี้ยงดู 1 คน ต่อเด็กวัยเตาะแตะ 1 ไม่เกิน 10 คน การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกคือ กรมประชาสงเคราะห์ สถานีอนามัยและโรงพยาบาล ไม่มีการนิเทศผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างเป็นทางการ นอกจากใช้การสังเกตและมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก แนะนำและให้แก้ไขทันทีถ้าเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีการส่งเสริมผู้เลี้ยงดูเด็กด้านจัดการอบรมเลี้ยงดู ด้วยการจัดหาหนังสือให้อ่าน และจัดส่งไปอบรม 2) การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม มีการปรับจากแนวหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือประสบการณ์ในการทำงาน การเลี้ยงดูบุตรและจากการอบรมต่างๆ 3) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ด้านลักษณะของอาคารส่วนใหญ่มีชั้นเดียว ภายในห้องเลี้ยงดูเด็ก มีผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้จัดเอง เพื่อให้สะดวกกับการใช้งานของผู้เลี้ยงดูเด็ก และเน้นความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ 4) การอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก มีพัฒนาการทุกด้านตามวัย ฝึกให้เด็กปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและทักษะการช่วยเหลือตนเองได้ 5) การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ใช้การสังเกตและบันทึกเกี่ยวกับการเจริญเติบโต พัฒนาการของเด็ก และพฤติกรรมของเด็กแต่ละวัน ด้วยแบบประเมินที่สถานรับเลี้ยงเด็กจัดทำขึ้นเอง และรายงานให้ผู้ปกครองทราบด้วยการพูดคุยกับผู้ปกครองโดยตรง 6) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ใช้การพูดคุย ให้คำปรึกษาและแนะนำความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเด็กแก่ผู้ปกครองในช่วงที่ผู้ปกครองมารับส่งเด็ก
Other Abstract: To study the infant and toddler educare operation of administrators and caregivers in child care centers on policies essential for achieving programs, appropriated curriculum development, creating a caring community for learners, educaring to enhance development and learning, assessment of childrens, learning and development, and establishment of mutual relationship with families. The samples consisted of 75 administrators and 150 caregivers. Data collection methods were the using of questionnaire, an interview, an observation and survey. The research findings were as follows 1) On policies essential for achieving programps, selection of caregivers were based on child care experiences and the characteristics of warm, gentle, patient, and loving adult. Specification for caregiver and child ratio was 1:3 for infant and 1:10 for toddler. There were cooperative relation with outside agencies of social work department, community health center, and hospital. No formal supervisions of caregivers were found except the use of observations and involvement in educaring, providing suggestions and immediate corrections when inappropriate educaring occurred. The caregivers, child care knowledge was enhanced by providing books to read and being sent for training. 2) On appropriated curriculum development, there was an adapatation from the Ministry of Education curriculum or a direct experience from work, child care, and training. 3) On creating a carring community for learners, most of the child care centers were one storey building. The caregivers arranged the room based on main objective activities, and safty reason. 4) On educaring to enhance development and learning, the objective was to prepare developmentally appropriates in all areas, and to train children on following routines, and self help skills. 5) On assessment of children's learning and development, there was an application of observations and records on child's growth, development, and daily behaviors with the centers' assessment forms, and used oral reports directly to the parents. 6) On establishmant of mutual relationship with families, there were discussions, counsellings, and communications on care center knowledge to the parents during the arrival and periods pick-up.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/301
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.645
ISBN: 9741730276
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.645
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woranart.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.