Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30510
Title: การพัฒนาดัชนีชี้วัดการอำนวยความสะดวกในการค้าสำหรับท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทย
Other Titles: Development of trade facilitation indices for Thailand international ports
Authors: วิรชา สุขสิริวรบุตร
Advisors: จิตติชัย รุจนกนกนาฏ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การขนส่งทางน้ำ
การขนส่งสินค้า
ท่าเรือ -- ไทย
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาดัชนีชี้วัดการอำนวยความสะดวกในการค้าสำหรับท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของไทย ทั้งกรณีนำเข้า/ส่งออกสินค้าโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น โดยได้แบ่งดัชนีเป็นองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ คือ 1) โครงสร้างพื้นฐาน, 2) การบริหารจัดการท่าเรือ, 3) ขั้นตอนพิธีการศุลกากร และ 4) ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายศุลกากร งานศึกษานี้ได้คัดเลือกท่าเรือตัวอย่างรวม 7 ท่าเรือและได้ดำเนินการสังเกตการณ์ เก็บข้อมูลภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารท่าเรือ เจ้าหน้าที่ศุลกากร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือ เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระยะเวลาการดำเนินพิธีศุลกากร ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังได้แจกแบบสอบถามไปยังผู้รับจัดการขนส่งสินค้าเพื่อสอบถามความคิดเห็นในการใช้ท่าเรือและใช้คำนวณคะแนนองค์ประกอบย่อยสำหรับจัดทำดัชนี จากค่าดัชนีที่ได้พบว่าท่าเรือส่วนใหญ่มีคะแนนระดับปานกลาง และยังไม่มีความพร้อมต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 เท่าที่ควร นอกจากนี้ ดัชนีที่พัฒนาขึ้นมายังสามารถนำไปใช้จำลองสถานการณ์อนาคตหากท่าเรือเหล่านั้นมีการพัฒนาตามแผนที่วางไว้ หรือหากมีการปรับเปลี่ยนตามข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่สมบูรณ์ ท้ายที่สุด ดัชนียังสามารถใช้วิเคราะห์เจาะลึกถึงประเด็นที่ต้องมีการปรับปรุงและนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาท่าเรือเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าต่อไป
Other Abstract: This research is the development of trade facilitation indices for both imports and exports at major international ports in Thailand applying the Analytic Hierarchy Process (AHP). The indices consist of four elements, i.e., 1) port infrastructure, 2) port management, 3) customs procedures, and 4) customs law enforcement efficiency. The data in this study are from field observations at seven major ports, in-depth interviews of port managers, customs officers, and related parties were conducted to collect transportation procedures, customs procedures, development plan, and current obstacles in operations. In addition, questionnaires were distributed to freight forwarder companies to ask for their comments regarding ports and customs operations and to use for calculating sub-element scores of indices. The resulting indices show that most ports just passed current expectation of freight forwarders and might not sufficiently serve the future demand according to ASEAN Economic Community in 2015. Later, the indices can be used to simulate future scenarios for predicting how ports can facilitate trade after the development plan and AEC scenarios. Lastly, the indices can point out what element would be improved and lead to recommendations for port development for better trade facilitation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30510
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wiracha_su.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.