Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30549
Title: โมเดลเชิงสาเหตุและผลของสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A cause and effect model of the competency of teachers under the Office of Basic Education Commission
Authors: สุรเดช อนันตสวัสดิ์
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: สมรรถนะ
ครู
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล เชิงสาเหตุและผลของสมรรถนะของครู ระหว่างครูระดับประถมศึกษากับครูระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 694 คน และมีผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมคือนักเรียน จำนวน 1,388 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิงประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง การวิเคราะห์อิทธิพล และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.17) โดยองค์ประกอบด้านสมรรถนะหลักพบว่าครูมีสมรรถนะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการบริการดี และด้านการทำงานเป็นทีม สำหรับองค์ประกอบด้านสมรรถนะประจำสายงานพบว่าครูมีสมรรถนะด้านการพัฒนาผู้เรียนสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของครูพบว่าครูที่มีอายุ แตกต่างกัน มีระดับสมรรถนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 35.58 df = 44 p = .81 GFI = .99 AGFI = .98 RMSEA = .00) โดยปัจจัยที่มีอิทธิทางตรงต่อสมรรถนะของครูมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านองค์กร มีขนาดอิทธิพล 0.53 และสมรรถนะของครูมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรความสุขในการเรียนมากที่สุด มีขนาดอิทธิพล 0.33 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรสมรรถนะของครูได้ร้อยละ 53 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 17 3. โมเดลเชิงสาเหตุและผลของสมรรถนะของครูระหว่างกลุ่มครูประถมศึกษาและกลุ่มครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรแฝงภายนอกไปยังตัวแปรแฝงภายใน (GA) และค่าพารามิเตอร์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรแฝงภายในไปยังตัวแปรแฝงภายใน (BE)
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study level of the teacher competency under the office of basic education commission. 2) to develop and to validate of a causal and effect model of the teacher competency under the office of basic education commission. 3) to test invariance of a cause and effect model of teacher competency across primary and secondary schools teachers. The sample of this study was 694 teachers. 1,388 students were those who gave additional information. Two questionnaires were used as research instrument. Data was analyzed using descriptive statistics (e.g., means, S.D., C.V., skewness, kurtosis) One-way ANOVA and Pearson’s correlation by employing SPSS. Second order confirmatory factor analysis, path analysis and multiple group analysis by LISREL. Results were the following 1. Overall, teachers under the Office of Basic Education Commission had high level of competency with average score of 4.17. By considering each aspect in core competency, it was found that teachers had highest level of core competence in ethics and code of ethics of teaching profession. Good service and teamwork were the second and third highest level of core competency that teachers had. By considering each aspect in functional competency, it was found that teachers had highest level of functional competency in learner development. Classroom management was a second level of functional competency. Moreover, teachers with different age had significant difference competency at .05. 2. The causal model fitted the empirical data (X² = 35.58 df = 44 p = .81 GFI = .99 AGFI = .98 RMSEA = .00) The most influential factor on teacher competency was organizational factor. Teacher competency influenced learning happiness at most significant level. The variables in the model accounted for 53 percent of the total variance of teacher competency and for 17 percent of the total variance of learning achievement. 3. The causal model of the teacher competency under the Office of Basic Education Commission indicated invariance of model form but parameters were variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30549
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1213
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1213
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suradech_an.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.