Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30683
Title: | การนำเสนอแนวทางการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิทยาลัยชุมชนในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Proposed guidelines for organizing short-course vocational training in community college in Bangkok |
Authors: | นนท์ อนัคกุล |
Advisors: | วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน การฝึกอาชีพ วิทยาลัยชุมชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ ตามการรับรู้ของนักศึกษา ครู ผู้สอน ผู้บริหาร และผู้นำชุมชน ในด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ด้านสถานที่ใช้สอน และฝึกงาน ด้านการวัด และประเมินผล ตามการรับรู้ของนักศึกษา ครู ผู้สอน ผู้บริหารและผู้นำชุมชน เพื่อเปรียบเทียบ สภาพ ปัญหา และความต้องการในแต่ละด้านตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง และ เปรียบเทียบ สภาพ ปัญหา และความต้องการในแต่ละด้านของนักศึกษา ตาม เพศ อายุ และประเภทวิชาที่เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประเมิน ค่าแบบลิเคิร์ต (Likert’s Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์ ประชากรที่ใช้วิจัยในการทำแบบสอบถามได้แก่ นักศึกษา ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 3,388 คน ครู ผู้สอน จำนวน 163 คน ผู้บริหารจำนวน 10 คน และผู้นำชุมชน ในเขตที่ตั้งหน่วยจัดการศึกษา จำนวน 10 แห่ง จำนวน 357 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในการทำแบบสอบถาม ได้แก่ นักศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 357 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีจำนวนแน่นอน โดยวิธีของ Taro Yamana แล้วกระจายสัดส่วน ครู ผู้สอน จำนวน 115 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีจำนวนแน่นอน โดยวิธีของ Taro Yamana แล้วกระจายสัดส่วน ผู้บริหาร จำนวน 10 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง และผู้นำชุมชนในเขตที่ตั้งหน่วยจัดการศึกษา จำนวน 10 แห่ง จำนวน 188 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีจำนวนแน่นอน โดยวิธีของ Taro Yamana แล้วกระจายสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ , SD., t-test, ANOVA และ Scheff’s test กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ครู ผู้สอน จำนวน 10 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหิมะ ผู้บริหาร จำนวน 10 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง และผู้นำชุมชนในเขตที่ตั้งหน่วยจัดการศึกษา จำนวน 10 แห่ง จำนวน 10 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหิมะ ผลการวิจัยพบว่า สภาพทำการจัดการเรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น โดยรวมอยู่ที่ระดับเป็นจริงมาก ปัญหาด้านครู ผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสถานที่ใช้สอน และฝึกงาน โดยรวมอยู่ที่ระดับปัญหาน้อย ปัญหาด้านการวัด และประเมินผล โดยรวมอยู่ที่ระดับปัญหาปานกลาง ความต้องการด้านหลักสูตร และด้านการวัดและประเมินผลโดยรวมอยู่ที่ระดับความต้องการปานกลาง ความต้องการด้านครู ผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านสถานที่ใช้สอนและฝึกงานโดยรวมอยู่ที่ระดับความต้องการน้อย การเปรียบเทียบการรับรู้ของจำแนกตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้นำชุมชน มีการรับรู้น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างกลุ่มอื่นๆ ในด้านหลักสูตร การเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ และประเภทวิชาที่เข้ารับการฝึกอบรม นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาที่มี อายุแตกต่างกัน มีการรับรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย นักศึกษา กลุ่ม อายุ 55 ปี ขึ้นไป มีการรับรู้น้อยกว่านักศึกษากลุ่มอายุอื่นๆ ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ นักศึกษาที่มีประเภทวิชาแตกต่างกัน มีการรับรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษากลุ่มประเภทวิชาอุตสาหกรรมกรรม มีการรับรู้น้อยกว่านักศึกษากลุ่มประเภทวิชาอื่นๆ ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และด้านสถานที่ใช้สอนและฝึกงาน แนวทางในการจัดการฝึกอบรม ด้านหลักสูตร ควรสำรวจความต้องการของนักศึกษา และร่วมมือกับท้องถิ่น และแหล่งอาชีพ สถานประกอบการณ์ ปรับปรุงหลักสูตร สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ด้านครู ผู้สอน ควรสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อุทิศตนเป็นแบบอย่างแก่นักศึกษา เอาใจใส่ทุ่มเทในการสอน พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนโดย ส่งเสริมศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การอบรมความรู้ เป็นต้น ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติ 80% ใช้เทคนิคการสาธิต มีประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ส่งเสริมกิจกรรมในการประกอบอาชีพ เช่น ทัศนศึกษา ฝึกงาน ออกหน่วยบริการ กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน การเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ในท้องถิ่น หรือแหล่งอาชีพ มาให้ความรู้ ฯลฯ ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เน้นการใช้สื่อของจริง หุ่นจำลอง มีการบำรุงรักษาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรมีสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ที่ทันสมัยทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีจำนวนเพียงพอ โดยร่วมมือกับสถานประกอบการ และใช้ทรัพยากรในชุมชน มาทำเป็นสื่อ วัสดุอุปกรณ์จัดหาแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ฯลฯ ด้านสถานที่ใช้สอนและฝึกงาน ควรปรับปรุงบริเวณรอบโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อย ถูกสุขอนามัย ปลูกต้นไม้ให้สวยงาม อาคารเรียน ควรจัดให้กว้างขวาง เป็นระเบียบ จัดการเรื่อง การระบายอากาศ แสงสว่าง เสียงรบกวน โรงฝึกงานควรทำให้มี สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสามารถปฏิบัติงาน เหมือนกับสถานปรกอบการณ์ ด้านการวัดและประเมินผล มีการวัดผลการเรียนโดยเน้นทักษะการปฏิบัติงานในทุกๆบทเรียนย่อย มีการสอบข้อเขียนปลายภาคการศึกษา โดยควรจัดทำข้อสอบมาตรฐาน ควรใช้วิธีที่หลากหลาย และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study state, problems and needs for organizing short vocational training courses to Community College in Bangkok in the aspects of learning curriculum, instructors’ ability, study’s activity including media and material, learning arena and evaluation toward the perception of learners, instructors, institution management team and community leaders, to compare with the perception in each aspects of different population that varies by genders, ages and a group of learners’ subjects, and to propose the essential guidelines for organizing short vocational training courses to Community College in Bangkok. The study methodology is separated into two ways which were launching the questionnaires with 50 questions of checklist style and analysis by using the Linkert’s rating scale that representing the reliability at 0.95 points and conducting the interview with the sample groups by using the open-end questions. The analysis of research results was mainly using to be the key reason to support the suggestion guidelines for arranging the short vocational training courses for Community College in Bangkok. The sampling population was included 3,388 students who were currently enrolled in the first semester of the year 2010, 163 instructors, 10 institution management and community leaders. The statistic analysis tools are [Mean], SD.,t-test, ANOVA and Scheff’s Test. Additionally, the interview sampling group was also included 10 instructors, 10 institution management and 10 community leaders who came from different 10 communities. The research results were shown that there was high demand for short vocational training courses. Besides, there were some little problems in term of instructors’ ability, study’s activities and learning arena. Additionally, there were moderate problems level that arise from measurement and evaluation. In terms of the need of learning curriculum and learning evaluation was shown in the moderate level. Also, there were low level of need that concerned about number of instructors, learning activities including media and material and place of study. The perception of sample group also varies which can be analyzed. It can be concluded that different sample groups had different level of perception as it was shown from the statistic value at 0.05 points such as community leaders have low level of perception comparing to the others. Moreover, different learners ‘gender is not affect from the statistic value at 0.05 points. On the other hand, different learners’ age has different level of perception as it was shown from the statistic value at 0.05 points. For example, learners who aged 55 years and over have low level of perception comparing to the others who has age below 55 years old. Lastly, different academic knowledge backgrounds of learner have different level of perception such as learners who have an industrial academic background have the lower perception level. Therefore, there were some recommendations provided as the guidelines for organizing the short vocational training courses. Firstly, it was necessary to survey the demand of short training course in cooperate with the community and private organization to fulfill the learners’ need. Secondly, it is essential to develop instructors’ skill to assure that they have high potential teaching ability by further their education and send them to attend the significant training course. Third, it should emphasize on practical learning activities in several experience such as field trip and student internship. Forth, it should use high technology learning media and material in order to ensure the understanding of learners. Fifth, the learning arena or training place should comfortable and hygiene. Lastly, it is important that learning measurement and evaluation must be conducted regularly and have high standard to substantiate the learners’ skill. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30683 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2040 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2040 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Non_an.pdf | 4.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.