Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31525
Title: กรรมวิธีของผู้นำท้องถิ่นในการพัฒนาชนบท : ศึกษาแง่มุมทางการเมืองของผู้นำหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง เขาป้าเจ้ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
Other Titles: Rural development techniques of local leaders in Khao Pojae Village, Khuan Khanun District, Patthalung Province : a study of political aspects
Authors: อรุณ สงผอม
Advisors: วิทยา สุจริตธนารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสังคมในชนบทของไทย เรื่องกรรมวิธีของผู้นำท้องถิ่นในการพัฒนาชนบท ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านเข้าป้าเจ้ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น ว่าผู้นำท้องถิ่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อผลสำเร็จของการพัฒนาชนบท ผลการวิจัยพบว่า กรรมวิธีของผู้นำท้องถิ่นที่ใช้ในการพัฒนาชนบทนั้นเป็นผลมาจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด กล่าวคือ คุณลักษณะเหล่านี้ประกอบด้วย ความเสียสละ ความรู้ ความมีชื่อเสียง ความซื่อสัตย์พูดจริงทำจริง ความคิดริเริ่ม เป็นผู้อุปถัมภ์ของกลุ่มเป็นที่พึ่งของคนอื่นมีความเป็นกันเองและมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ความกล้าเสี่ยง ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และการมีศิลปในการพูด เป็นต้น ในขณะที่ปัจจัยสถานภาพทางเศรษฐกิจมีความสำคัญรองลงมา กล่าวคือมีส่วนสนับสนุนช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นแสดงบทบาทการเป็นผู้นำของเขาได้ดียิ่งขึ้นตามความคาดหวังของผู้ตามในสังคมไทย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้นำจะต้องเป็นคนมีฐานะดีเพราะว่าสังคมชนบทนั้นยังมีลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน คนที่เป็นผู้นำ จึงอยู่ในฐานะผู้อุปถัมภ์ของกลุ่ม สามารถให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนบ้าน ในส่วนปัจจัยสถานภาพทางสังคม ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการนั้น การศึกษาไม่พบว่า ผู้นำได้ใช้อิทธิพลต่อผู้อื่นจากตำแหน่งที่เป็นทางการ จะพบบ้างก็ในกรณีตำแหน่งที่ไม่เป็นทางการ คือ การเป็นผู้นำของละแวกบ้านต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ข้อน่าสังเกต ก็คือ การรวมตัวเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นการรวมตัวกันระหว่างผู้นำเป็นทางการ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำแบบไม่เป็นทางการ เช่น ผู้นำของละแวกบ้าน ที่อาจเป็นผู้อาวุโส อดีตครูที่ปลดเกษียณ ทำให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีตำแหน่งในคณะกรรมการหมู่บ้าน แต่ว่าในกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านนั้น ผู้นำท้องถิ่นมิได้แบ่งแยกหน้าที่กัน ตามที่ดำรงตำแหน่งฝ่ายต่าง ๆ ในรูปคณะกรรมการหมู่บ้านอย่างเด็ดขาด การพัฒนาจนบรรลุผลสำเร็จนั้น มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่าการแบ่งแยกกันทำตามหน้าที่ แบบแผนกรรมวิธีการใช้และขั้นตอนในการใช้ทรัพยากรทางการเมืองให้ผู้นำมีอิทธิพลที่สำคัญนั้น คือ การใช้คุณลักษณะเฉพาะตัวเป็นปัจจัยแรก แล้วใช้สถานภาพทางเศรษฐกิจมาสนับสนุนความเสียสละ ความคิดริเริ่ม ความเป็นผู้อุปถัมภ์ ในขณะที่สถานภาพทางสังคมมีส่วนสนับสนุนความมีชื่อเสียง และความเป็นผู้อุปถัมภ์ของกลุ่ม ดังนั้น อิทธิพลของผู้นำจึงเกิดความศรัทธาและนิยมนับถือ สืบเนื่องจากคุณค่าสังคมกำหนดคุณสมบัติ “ผู้นำ” ที่ดีในสังคมไทยคล้ายกับ “ลูกพี่ (ผู้อุปถัมภ์)” นั่นเอง
Other Abstract: This research is a study of rural Thai society. It looks into the rural development techniques of the local leaders in Khoa Pa Ja village, Khuan Khanun istrict, Patthalung province. It aims to analyse the role of the local leaders, to point out that they are the key to the success of rural development work. The research findings show that rural development techniques of local leaders are essentially a question of personality, indeed, this personality is made up of sacrifice, knowledge, reputation honesty, steadfastness, initiative, patronage, friendliness, human relations, risk taking, communicativeness, rhetoric etc. The study finds that beside these qualities, a financial situation is also important though to a lesser degree. It helps enhance a leader’s role as it is expected of him by his followers in rural Thai society. In other words, a leader must be a well-to-do person since rural society is still marked by interdependence of its members. The leader is, so to speak, a patron of his followers, ready to help those in his entourage. As for his social status, which is made up of official and non-official positions, the research findings don’t reveal the leader’s use of his influence in these caposities against other members. However, there are cases of misuse of non-official positions among “ad hoc” leaders within the different localities of the village. It should be noted that a village committee is an official grouping of leaders such as the village head, his assistants and the other non-official leaders who are leaders within village localities. This last group consists of senior village members and retired teachers who sit on the village committee. Nevertheless, there is no clear division of duties in development activities in the way that various positions in the village committee suggest. In the final analysis, success in development work takes the form of mutual assistance, rather than a division of labour according to duties. The Pattern of the use of political resources and its process point to a leader’s personality as the most important factor, supported by a financial situation, sacrifice, initiatives and patronage whereas a good social status contributes to a leader’s reputation and his role as a patron. As a result, a leader’s influence derives from faith in the leader and his personality; thus reflecting Thai social values that project the qualities of a leader as those of a patron.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31525
ISBN: 9745784524
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aroon_son_front.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_son_ch1.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_son_ch2.pdf14.93 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_son_ch3.pdf11.88 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_son_ch4.pdf39.69 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_son_ch5.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_son_back.pdf52.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.