Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32011
Title: | การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการสัมภาษณ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษาโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม |
Other Titles: | An analysis of the components of interview competencies of graduate students using behavioral event interview technique |
Authors: | คุณีกร ศรีประดู่ |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสัมภาษณ์ สมรรถนะ นักศึกษาบัณฑิต |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการสัมภาษณ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการสัมภาษณ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน การวิจัยครั้งนี้มี 2 ระยะ ระยะแรกเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีข้อคำถามเชิงพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สองเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 818 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง การทดสอบค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. สมรรถนะการสัมภาษณ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2) การมีทักษะสื่อสารและการจับใจความ 3) การช่างสังเกต 4) การเตรียมการสัมภาษณ์ 5) การวางแผนการสัมภาษณ์ 6) การมีความรู้ 7) การมีความซื่อสัตย์และความสามารถในการวิเคราะห์บุคคล 8) การบริหารจัดการเวลาและการรักษาความลับ 9) การมีสติปัญญาฉับไว 10) การมีมนุษยสัมพันธ์ และ 11) การตีความข้อมูลและการมีความเป็นกลาง สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 57.16 2. โมเดลสมรรถนะการสัมภาษณ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (α 2= 33.806, df = 2265, p = 1.000, GFI = 0.997, AGFI = 0.997 และ RMR = 0.041)3. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการสัมภาษณ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา 1) จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่านิสิตบัณฑิตศึกษากลุ่มสาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษามีคะแนนสมรรถนะการสัมภาษณ์สูงกว่านิสิตบัณฑิตศึกษากลุ่มสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนทุกด้าน และสูงกว่านิสิตบัณฑิตศึกษากลุ่มสาขาวิชานโยบายและภาวะผู้นำทางการศึกษาในด้านการวางแผนการสัมภาษณ์ ด้านการมีความรู้ และด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ 2) จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า นิสิตระดับปริญญาเอกมีคะแนนสมรรถนะการสัมภาษณ์สูงกว่านิสิตระดับปริญญาโททุกด้าน 3) จำแนกตามประสบการณ์การเป็นผู้สัมภาษณ์ พบว่า นิสิตที่มีประสบการณ์การเป็นผู้สัมภาษณ์ 3 ครั้งขึ้นไปมีคะแนนสมรรถนะการสัมภาษณ์สูงกว่านิสิตที่มีประสบการณ์การสัมภาษณ์ 1-2 ครั้งทุกด้าน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to analyze the components of the interview competencies of graduate students and 2) to compare the interview competencies of graduate students with different background. The research was conducted in two stages: The first stage had 10 interviewees. The research instrument was an interview schedule using behavioral interview questions. The data were analyzed by content analysis. The second stage had 818 samples. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by using exploratory factor analysis, second order confirmatory factor analysis, t-test and One – Way ANOVA. The results were as follows: 1. The components of interview competencies of graduate students consisted of 11 factors which were 1) immediate problems solving 2) communicative and comprehensible skills 3) observant 4) interview preparation 5) interview planning 6) having knowledge 7) honest and person analysis 8) time management and confidentiality 9) intellectual agility 10) human relation 11) comprehensive skill and neutral. All variables could explain interview competencies by 57.16 percent. 2. The structural model of interview competencies of graduate students was consistent with empirical data. (α2= 33.806, df = 2265, p = 1.000, GFI = 0.997, AGFI = 0.997 and RMR = 0.041) 3. The comparison of the interview competencies of graduate students was as follows: 1) separated by fields of study, the students who studied in education research and psychology had higher interview competency than those who studied in curriculum. Their competency was also higher than those from Instruction and education policy and leadership in terms of interview planning, having knowledge and human relation. 2) separated by level of education, the students who studied in the doctoral degree program had higher interview competency than those who studied in the master’s degree program 3) separated by interview experience, the students who had an interview experience more than 3 times had higher interview competency than those who had an interview experience only for 1-2 times. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32011 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.294 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.294 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kuneegon_sr.pdf | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.