Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/321
Title: อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในองค์กร ที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์
Other Titles: Effects of factors concerning adult learning, personal background and organizational environment on the performance of medical service providers
Authors: อังศินันท์ อินทรกำแหง, 2508-
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การเรียนรู้องค์การ
การเรียนรู้ของผู้ใหญ่
สภาพแวดล้อมการทำงาน
บุคลากรทางการแพทย์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์ และเปรียบเทียบเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝง ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ 1 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 พยาบาลวิชาชีพ และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 เจ้าหน้าที่สนับสนุนงานการรักษาพยาบาล โดยมีกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 960 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 6 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด มี 6 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS for windows version 11.0 ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรมลิสเรล เวอร์ชั่น 8.10 และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์มี 5 ปัจจัยคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ในระดับสถาบัน ภูมิหลังส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในองค์กร 2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็น จากแบบสอบถามของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในเกณฑ์ดี โดยที่รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้ สามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการปฏิบัติงาน ของกลุ่มตัวอย่างที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ 2 และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ได้ร้อยละ 81.0, 70.0 และ 53.0 ตามลำดับ และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ 2 พยาบาลวิชาชีพ อยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด ด้วยค่าไค-สแควร์ = 120.52, p = 0.47, df = 120, GFI = 0.97, AGFI = 0.95 และ RMR = 0.10 3. ปัจจัยการเรียนรู้ด้วยตนเองมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกสูงสุด ต่อการปฏิบัติงานของทั้งสามกลุ่มตัวอย่างโดยนัยคือ ถ้าพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ให้บริการทางการแพทย์อยู่ในระดับสูง จะมีผลทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามมาด้วย 4. ผลการเปรียบเทียบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ กับข้อมูลเชิงคุณภาพจาการสนทนากลุ่มของกลุ่มที่1 แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร กลุ่มที่ 2 พยาบาล และกลุ่มที่ 3 ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเภสัชกร กลุ่มละ 7 คน พบว่า ทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นส่วนใหญ่สอดคล้องกับ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
Other Abstract: To develop and validate the causal relationship model of factors effecting job performance of medical service providers and to compare the path of latent variables among three sample groups. The first group was doctors, dentists and pharmacists. The second group was nurses and the third group was officers supporting the medical professional group. The total sample size was 960. The developed model was a LISREL model consisting of six latent variables and eighty observed variables. Descriptive statistics were analyzed through SPSS for windows versions 11.0. The causal models for performance were analyzed through LISREL 8.10 and diagnosed by the focus groups. The research results indicated that 1. There were five factors effecting performance : personal background, self directed learning, collaborative learning, institutional learning and organizational environment. 2. Three adjusted models from three sample groups were consistent with opinion from the questionnaires of each sample groups. The model accounted for 81%, 70% and 53% of the variance in performance on the first, the second and the third sample groups. And the causal model for performance of the second sample group was highest consistent with opinion from the questionnaires. The model provided by the Chi-square goodness of fit test = 120.52, P-value = 0.47, df = 120, GFI = 0.97, AGFI = 0.95 and RMR = 0.10 3. Self-directed learning was the factor that had highest positive effected to performance of three sample groups. This implied, if the self-directed learning behaviors of medical service providers reached the high level, the efficiency performance could exactly come out. 4. The result of the comparison between the causal models for performance of three sample groups and qualitative data from the focus group discussion ; 7persons in each groups, showed positive correlation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/321
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.189
ISBN: 9741721978
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.189
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ungsinun.pdf13.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.