Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32143
Title: การศึกษาตัวชี้วัดความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือดในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับสูตรยาที่มี Sirolimus
Other Titles: A study of cardiovascular risk markers in renal transplant recipients receiving sirolimus-based regimen
Authors: ณัฐพัชร นามจัด
Advisors: สุพีชา วิทยเลิศปัญญา
ปาจรีย์ ลิลิตการตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค
ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค -- ผู้ป่วย
ไต -- การปลูกถ่าย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือดในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับสูตรยาที่มี sirolimus จำนวน 21 คน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับยาในกลุ่ม calcineurin inhibitor based regimen (CNI) จำนวน 21 คน ตรวจวัดระดับตัวชี้วัดความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด 4 พารามิเตอร์หลัก ได้แก่ asymmetric dimethylarginine (ADMA), nitric oxide, homocysteine และ total antioxidant capacity ในพลาสมา พบว่าระดับความเข้มข้น ADMA ในผู้ป่วยกลุ่ม CNI และ sirolimus มีค่า 0.60 ±0.02 µmol/L และ 0.52 ± 0.02 µmol/L ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ระดับความเข้มข้น nitric oxide ในกลุ่มผู้ป่วย CNI และ sirolimus มีค่า 138.68 ± 28.91 µmol/L และ 82.01 ± 9.46 µmol/L ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ระดับความเข้มข้น homocysteine ในกลุ่มผู้ป่วย CNI และ sirolimus มีค่า 14.34 ± 0.87 µmol/L และ 17.33 ±1.65 µmol/L ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และระดับ total antioxidant capacity ในกลุ่มผู้ป่วย CNI และ sirolimus มีค่า 1072.40 ± 51.67 µmol/L และ 1000.51 ± 65.15 µmol/L ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่รับยา CNI มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยา sirolimus จากการตรวจวัดระดับ ADMA จึงเป็นไปได้ว่า sirolimus น่าจะมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
Other Abstract: The aim of this study was to investigate cardiovascular risk markers in renal transplant recipients receiving sirolimus-based regimen (n=21) compared to calcineurin inhibitor based regimen (CNI) based (n=21). Cardiovascular risk markers including asymmetric dimethylarginine (ADMA), nitric oxide, homocysteine and total antioxidant capacity were measured in plasma. Plasma ADMA concentrations for CNI-based and sirolimus-based regimen were 0.60 ± 0.02 µmol/L and 0.52 ± 0.02 µmol/L, respectively (P < 0.05). Plasma concentrations of nitric oxide for CNI-based and sirolimus-based patients were 138.68 ± 28.91 µmol/L and 82.01 ± 9.46 µmol/L, respectively. A level of homocysteine in CNI-based and sirolimus-based groups were 14.34 ± 0.87 µmol/L and 17.33 ± 1.65 µmol/L and a level of total antioxidant capacity were 1072.40 ± 51.67 µmol/L and 1000.51 ± 65.15 µmol/L. These results suggested the higher cardiovascular disease risk in CNI-based than in sirolimus patients as shown by increased ADMA levels and may support the role of Sirolimus-based regimen in reducing the cardiovascular disease risk in this group of patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32143
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1403
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1403
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuttaphat_na.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.