Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32222
Title: | สภาพการใช้ที่จอดรถของอาคารชุดพักอาศัยที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ในแนวรถไฟฟ้า : กรณีศึกษา อาคารชุดพักอาศัยขนาดใหญ่บนถนนสุขุมวิท |
Other Titles: | Car park usage in large condominiums along the rail transit: a case study of a large condominium on Sukhumvit Road |
Authors: | ฉัตรชัย ตั้งมหาสถิตกุล |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ที่จอดรถ อาคารที่จอดรถ อาคารชุด Parking lots Park buildings Condominiums |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการใช้ประโยชน์ของพื้นที่จอดรถเปรียบเทียบกับมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการพื้นที่ที่จอดรถในอาคารชุดที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าเพื่อนำเสนอแนวทางในการกำหนดจำนวนที่จอดรถให้เหมาะสมกับการใช้งานและเป็นการออกแบบการใช้พื้นที่จอดรถยนต์สำหรับอาคารชุดที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าต่อไป จากผลการศึกษาพบว่ามีการใช้พื้นที่จอดรถยนต์ของอาคารชุดพักอาศัยที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ามากที่สุดในช่วงเวลาตั้งแต่ 18.00-08.00 น. และมีการใช้พื้นที่จอดรถยนต์ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการที่จอดรถของอาคารชุดในแนวรถไฟฟ้าประกอบไปด้วย 1)ขนาดพื้นที่ของอาคาร ซึ่งอาคารที่มีพื้นที่น้อยจะมีความต้องการใช้พื้นที่จอดรถน้อยกว่าอาคารที่มีพื้นที่มาก ซึ่งอาคารที่มีพื้นที่น้อยจะมีการใช้พื้นที่จอดรถเหลือและในอาคารที่เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นที่มากกว่า 25,000 ตารางเมตร จะมีความต้องการใช้พื้นที่จอดรถยนต์ในอัตราที่สอดคล้องกับการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร, 2)กรรมสิทธิ์ของพื้นที่จอดรถยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลจะมีความต้องการใช้พื้นที่จอดรถยนต์มากกว่าที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนกลาง, 3)พื้นที่เฉลี่ยของห้องชุด ซึ่งการพิจารณาพื้นที่เฉลี่ยของห้องพักน่าจะเป็นเกณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงความต้องการของจำนวนห้องพักอาศัยต่อจำนวนที่จอดรถที่เหมาะสม จากผลการวิจัยพบว่าจำนวนหน่วยพักอาศัย 1 หน่วยต่อที่จอดรถ 1 คัน มีพื้นที่เฉลี่ยของห้องชุดพักอาศัยที่เหมาะสมอยู่ประมาณ 90-100 ตารางเมตร, 4)ขนาดห้องชุดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นการครอบครองรถจะเพิ่มมากขึ้น, 5)อัตราการครอบครองรถยนต์และรูปแบบการเดินทาง จากกลุ่มตัวอย่างของผู้พักอาศัยในอาคารชุดทีอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ายังมีการครอบครองรถสูงถึงร้อยละ 88.7 และเลือกรูปแบบการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเป็นหลักและมีการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นส่วนเสริม ความคิดเห็นของผู้ที่พักอาศัยที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ถึงแม้ที่พักจะอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าและสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้ แต่ก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวและเห็นว่าไม่สามารถลดพื้นที่จอดรถยนต์ลงได้ และไม่คิดที่จะซื้อ ถึงแม้ว่าอาคารชุดดังกล่าวสามารถลดราคาถูกลงแต่มีการลดพื้นที่จอดรถยนต์ลง ข้อสังเกตในงานวิจัยนี้พบว่าพื้นที่จอดรถยนต์มีการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา ดังนั้นควรมีการนำพื้นที่จอดรถยนต์ไปใช้ประโยชน์ เช่น ให้มีการเช่าที่จอดรถเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาคารชุดพักอาศัย เป็นต้น ส่วนกรรมสิทธิ์ที่จอดรถที่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลจะเป็นปัจจัยให้มีความต้องการใช้พื้นที่จอดรถยนต์มากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการควรพิจารณารูปแบบการขายพื้นที่จอดรถยนต์ให้แก่ผู้ที่มีความต้องการจริงๆ เท่านั้น และนำพื้นที่จอดรถยนต์ที่เหลือมาบริหารจัดการเอง |
Other Abstract: | The objectives of this research were (i) to study the use of a car park at a large condominium along the rail transit to determine how it complied with the standards and regulations of Bangkok City, and (ii) to analyze the factors that influence the need for car parking at this condominium. The results of this research can be utilized as guidelines in future usage design when determining how much parking space is needed for a large condominium along the rail transit. This study has revealed that this car park has a high usage rate between 18.00 and 08.00. The factors that affect the car park are (i) the area of the condominium; the greater the area of the condominium, the great the size of the car park, though a car park at a condominium on a small block will be used less efficiently than one at a condominium whose area is greater than 25,000 sq.m., (ii) a private car park is preferred by residents of the condominium to a public car park, (iii) the average residential floor space per car is 90 - 100 sq.m., (iv) the greater the area of residential space, the greater the area of car park required, and (v), car owners, who comprise 88.7% of residents in this large condominium along the rail transit, view their cars as their primary transportation option, and the BTS as their secondary option. The residents in this large condominium along the rail transit believe that, although they live near a BTS station and can use this form of transportation easily, they still need to use their own cars so the car park area cannot be reduced. They stated that they would not buy a lower-priced condominium car park. This research suggests that the use of car parks in large condominiums along the rail transit is ineffective. The authorities should manage these car parks so they are more effectively utilized from 8.00 to 18.00 by renting them to non-residents during office hours. The availability of a private car park is one of the criteria for purchasers of large condominiums along the rail transit so developers should ensure sufficient car parking space for residents while managing the rest of the car park area according to condominium regulations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32222 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1466 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1466 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chatchai_ta.pdf | 5.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.