Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3224
Title: ความแข็งแรงพันธะในการยึดอินซีแรมกับเคลือบฟันหรือเนื้อฟัน ด้วยซีเมนต์และการปรับสภาพผิวด้วยวิธีต่างๆ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Effect of various cements and surface treatments in bonding In-Ceram to enamel and dentin
Authors: ปรารมภ์ ซาลิมี
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
Subjects: พอร์ซเลนทางทันตกรรม
อินซีแรม
เรซินซีเมนต์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนในการยึดติด อะลูมินัสเซรามิก อินซีแรม กับเคลือบฟันหรือเนื้อฟันโดยใช้เรซินซีเมนต์และการปรับสภาพผิวต่างๆ กัน การทดลองทำโดยใช้โลหะผสมนิเกิลและโครเมี่ยมเป็นตัวกลางในการเปรียบเทียบโดยทำการยึดด้านเรียบของชิ้นโลหะผสมรูปทรงกระบอก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. ยาว 10 มม.) กับเคลือบฟัน เนื้อฟัน และอินซีแรม ที่ทำการตัดผิวเรียบและฝังอยู่ในเรซิน ด้วยเรซินซีเมนต์ ก่อนการยึดติด ทำการปรับสภาพผิวตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต เรซินซีเมนต์ที่ใช้ได้แก่ พานาเวีย21 ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และเรซิโนเมอร์ (ร่วมกับออลบอนด์2) นำชิ้นตัวอย่างที่ยึดติดแล้วเก็บไว้ในความชื้นสัมพัทธ์ 100% อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนนำไปทดสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนด้วยเครื่องทดสอบยูนิเวอร์ซัล ความเร็วตัดขวาง 2 มม./นาที ผลการทดสอบและการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าพานาเวีย21 สามารถยึดเคลือบฟัน เนื้อฟัน ติดกับ อินซีแรมได้ดีกว่าและซูเปอร์บอนด์ ซีแอนด์บี อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่เรซินโนเมอร์ร่วมกับออลบอนด์ 2 ไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้เนื่องจากไม่สามารถยึดติดกับโลหะตัวกลางที่ใช้ในการทดลองได้ดีพอ
Other Abstract: The bonding ability of Aluminous ceramic, In-Ceram to the enamel and Dentin using different resin cemenst were evaluate in shear bond strength. In this study, the non-precious alloy surface was used as a media to compare the failure interface. Cast metal cylinder (5x10 mm.) were bonded to human enamel dentin and In-Ceram disk (10x4 mm.) the resin cements used were Panavia21, Superbond C&B and Resinomer (with all bond 2) using each manufacturer surface treatment condition. Bonded speciment were stored in 100% humidity at 37 C for 24 hours before randomly tested in shear mode on the Universal testing machine (Autograph, Shimadzu Co., Japan) at crosshead speed of 2 mm/min. The results showed the Panavia 21 exhibited significantly higher shear bond strength between enamel or dentin to In-ceram (at the interface) than Superbond C&B (P<0.05), while Resinomer failed in the analysis since the bond strength to the metal media is not strong enough.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3224
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prarom(vari).pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.