Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32316
Title: | การเปรียบเทียบการก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ด้วยระบบโครงสร้าง เสา-คานเหล็กสำเร็จรูปกับระบบเดิม |
Other Titles: | A comparison on two story housing construction between prefabricated steel skeleton structure and conventional method |
Authors: | ปกรณ์ สุวรรณคีรีขันธ์ |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | บ้านสำเร็จรูป การสร้างบ้าน โครงสร้างเหล็กกล้า Prefabricated houses House construction Steel, Structural |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้นด้วยระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูปกับระบบเดิม เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการก่อสร้าง เปรียบเทียบระยะเวลา ต้นทุน ข้อดีและข้อจำกัด ซึ่งตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้นขนาดใกล้เคียงกัน มีพื้นที่ใช้สอย มากกว่า 300 ตร.ม.และน้อยกว่า 300 ตร.ม. โดยวิธีการเฝ้าสังเกต จดบันทึก สัมภาษณ์ และถ่ายภาพในการก่อสร้าง ผลการศึกษาต้นทุนพบว่า บ้านเดี่ยวที่พื้นที่ใช้สอยมากกว่า 300 ตร.ม.ที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูป มีค่าก่อสร้าง 18,979.31 บาท/ตร.ม.ส่วนระบบเดิม 11,685.10 บาท/ตร.ม.สูงกว่าระบบเดิม 7,294.20 บาท/ตร.ม.ส่วนบ้านที่พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 300 ตร.ม.ที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูปมีค่าก่อสร้าง 18,372.94 บาท/ตร.ม.ส่วนระบบเดิม 12,507.98 บาท/ตร.ม.สูงกว่าระบบเดิม 5,864.96 บาท/ตร.ม ซึ่งความแตกต่างมีผลเนื่องจากการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน ต้นทุนค่าขนส่งและก่อสร้างโรงงานที่สูงของระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูป สำหรับด้านระยะเวลาก่อสร้างพบว่าบ้านที่พื้นที่ใช้สอย มากกว่า 300 ตร.ม.ที่ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูป ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 105 วัน ส่วน ระบบเดิม 227 วัน เร็วกว่าระบบเดิม 122 วัน ส่วนบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 300 ตร.ม.ที่ก่อสร้างด้วยระบบ โครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูป ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 108 วัน ส่วนระบบเดิม 211 วัน เร็วกว่าระบบเดิม 103 วัน ข้อดีของระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูปคือความแข็งแรง คุณภาพที่ดี ลดการขาดแคลนแรงงาน สภาพพื้นที่ทำงานสะอาดเรียบร้อย และออกแบบเพื่อเน้นการอยู่อาศัยมากขึ้น เช่น ระบบหมุนเวียนอากาศ กระจกประตูหน้าต่าง 2 ชั้นช่วยกันความร้อนทำให้ลดการใช้พลังงานภายในบ้าน แต่ข้อจำกัดของระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูปคือความสูงของโครงสร้างที่มีผลต่อเส้นทางการขนส่งและจำนวนรถขนส่ง ชิ้นส่วนที่มากทำให้พื้นที่สำหรับจอดรถอาจไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระยะเวลาการทำงานและการเข้าพื้นที่ ดังนั้นสรุปผลการวิจัย ระบบโครงสร้างเสา-คานเหล็กสำเร็จรูปจะมีความเหมาะสมหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาเงื่อนไขที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการเป็นหลัก หากต้องการเรื่องระยะเวลาและมีเงินทุนก็ถือว่ามีความเหมาะสมอย่างมาก เพราะส่งผลด้านการเงินหากสามารถส่งมอบสินค้าได้รวดเร็ว และคุณภาพที่ได้มาตรฐาน แต่หากมองที่ต้นทุนเป็นหลักก็ถือว่าระบบดังกล่าวยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ก่อสร้าง แต่ถือว่าเป็นอีกทางเลือกใหม่ทางด้านเทคโนโลยีที่ควรศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | The main purpose of this study was to make a comparison between the construction method using prefabricated steel skeleton and conventional construction method. The compared aspects were their construction techniques, Their costs and their construction timeframe, their advantages and disadvantages, obstacles affecting the construction. The example used in this study was two-storey houses with the functional area over 300 sq.m. and less than 300 sq.m. in a housing estate project were there two method were used. The data was collected though observation, recording, interviews and talking photographs of each stage of construction. It was found that the construction cost of a more than 300 square meters house which was built by prefabrication steel skeleton was approximately 18,979.31 baht/square meter, while the construction cost of a more than 300 meters house which was built by conventional system was approximately 11,685.10 baht/square meter. The difference was 7,294.20 baht/square meter. The lather finding on a comparison of the construction cost of a less than 300 square meters houses, which were built by prefabrication steel skeleton and conventional system, are also the same. The construction time of both a more than 300 square meters house and a less than 300 square meter house built by conventional system are 227 days and 221 days which are 122 days and 103 days longer than prefabrication steel skeleton house accordingly. However the higher construction cost on prefabrication steel skeleton is due to the different building materials, prefabricated component cost and transportation expense including the factory cost. The advantages are on a shorter construction time and better building quality is more explicit, durable, a cleaner construction site and avoiding labor shortage. The limitations of prefabrication steel skeleton system are transportation routes from the factory and insufficient construction site parking for oversize trailer convoy which affects the construction time and site approach. It could be concluded that prefabrication steel skeleton system has a potential to save construction time and improve building quality, however it require higher skilled labor and its technical knowhow to gain a higher standard housing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32316 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.333 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.333 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pakorn_su.pdf | 9.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.