Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32368
Title: | ฟ็อกซ์พีสามโพซิทีฟเรกูลาทอรี ทีเซลล์ ในรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปากในผู้ป่วยคนไทย |
Other Titles: | Foxp3⁺ regulatory T cells in Thai patients with oral lichen planus |
Authors: | ปฐมาภรณ์ นาคพิพัฒน์ |
Advisors: | พรพรรณ พิบูลย์รัตนกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เยื่อบุช่องปาก -- โรค อิมมูโนฮีสโตเคมี Oral mucosa -- Diseases Immunohistochemistry |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจำนวนของ Foxp3⁺ เรกูลาทอรี ทีเซลล์ และสัดส่วนของ Foxp3⁺ เรกูลาทอรี ทีเซลล์ต่อ CD3⁺ ทีเซลล์ และต่อ CD4⁺ ทีเซลล์ในรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปาก เปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบและเนื้อเยื่อปกติ วัสดุและวิธีการ ศึกษาเซลล์ที่มีการแสดงออกของ Foxp3, CD3 และ CD4 โดยใช้วิธีการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมี ในชิ้นเนื้อรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปากจำนวน 20ราย เปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบจำนวน 20 ราย และเนื้อเยื่อปกติจำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเพื่อหาความแตกต่างของจำนวนเซลล์ที่มีการแสดงออกของ Foxp3, CD3 และ CD4 และร้อยละของ Foxp3⁺ เรกูลาทอรี ทีเซลล์ต่อ CD3⁺ ทีเซลล์ และต่อ CD4⁺ ทีเซลล์ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ One-Way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา ปฏิกิริยาที่ให้ผลบวกต่อ CD3, CD4 และ Foxp3 พบได้ในโมโนนิวเคลียร์เซลล์ในชั้นใต้เยื่อบุผิวของเนื้อเยื่อรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปาก เนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบ และเนื้อเยื่อปกติทั้งหมด ส่วนภายในชั้นเยื่อบุผิวนั้น Foxp3⁺ เซลล์ในลิมโฟไซต์พบในผู้ป่วยไลเคน แพลนัสในช่องปากทุกราย ขณะที่เนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบ และเนื้อเยื่อปกติพบใน 18 ราย (ร้อยละ90) และ 8 ราย (ร้อยละ 80) ตามลำดับ นอกจากนี้จำนวนของ Foxp3⁺ เซลล์ CD3⁺ ทีเซลล์ และ CD4⁺ ทีเซลล์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม โดยเซลล์เหล่านี้พบได้มากที่สุดในรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปาก รองลงมา คือ เนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบ และเนื้อเยื่อปกติ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสัดส่วนของ Foxp3⁺ เซลล์ต่อ CD3⁺ ทีเซลล์หรือ CD4⁺ ทีเซลล์ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อพิจารณาจากชนิดของโรคไลเคน แพลนัสในช่องปาก พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในจำนวนของ CD3⁺ ทีเซลล์ CD4⁺ ทีเซลล์ และ Foxp3⁺ เซลล์ และสัดส่วนของ Foxp3⁺ เซลล์ต่อ CD3⁺ ทีเซลล์หรือ CD4⁺ ทีเซลล์ระหว่างรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปากชนิดร่างแห และชนิดฝ่อลีบหรือแผลถลอก สรุป จำนวน Foxp3⁺เรกูลาทอรี ทีเซลล์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Foxp3⁺ เรกูลาทอรี ทีเซลล์อาจมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดพยาธิสภาพของรอยโรคไลเคน แพลนัสในช่องปาก |
Other Abstract: | Objectives To compare the numbers of Foxp3⁺ regulatory T cells (Treg) and the proportion of Foxp3⁺ Treg among CD3⁺ T cells and CD4⁺ T cells in oral lichen planus (OLP) in comparison with periodontitis and normal mucosa. Materials and Methods The expression of Foxp3, CD3 and CD4 was examined in 20 biopsied tissues of OLP compared with 20 periodontitis and 10 normal tissues by immunohistochemical method. One-Way ANOVA test was used to compare the numbers of cells expressing Foxp3, CD3 and CD4 and percentages of Foxp3⁺ Treg among CD3⁺ T cells and CD4⁺ T cells at significance level of p<0.05. Results The positive reactivity to CD3, CD4 and Foxp3 were detected in subepithelial mononuclear cells in all cases of OLP, periodontitis and normal healthy mucosa. All of the OLP patients exhibited Foxp3⁺ cells in the lymphocytes at intraepithelium whereas periodontitis and normal healthy subjects were 18 cases (90%) and 8 cases (80%), respectively. The numbers of Foxp3⁺ cells, CD3⁺ T cells and CD4⁺ T cells were statistically different among three groups, in which the highest numbers of the positive cells were found in OLP lesions, periodontitis and normal tissues, respectively. However, the proportions of Foxp3⁺ cells among CD3⁺ T cells or CD4⁺ T cells were not statistically different among three groups. Regarding type of OLP, there were no significant differences in the numbers of CD3⁺ T cells, CD4⁺ T cells and Foxp3⁺ cells and the proportions of Foxp3⁺ cells among CD3⁺ T cells or CD4⁺ T cells between reticular and atrophic/ulcerative OLP. Conclusion The number of Foxp3⁺ Treg significantly increased in OLP lesions, indicating that Foxp3⁺ Treg may play the pivotal role in the immunopathogenesis of OLP. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ช่องปาก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32368 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1522 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1522 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
patamaporn_na.pdf | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.