Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32577
Title: | วิเคราะห์เดี่ยวซอด้วงเพลงกราวในทางครูแสวง อภัยวงศ์ |
Other Titles: | A musical analysis of Saw-Daung solo : a case study of Kru Sawang Apiwong's Krawnai solo |
Authors: | ชนัสถ์นันท์ ประกายสันติสุข |
Advisors: | พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ โกวิทย์ ขันธศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | แสวง อภัยวงศ์, 2453-2515 แสวง อภัยวงศ์ -- ศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย เครื่องดนตรี -- ไทย ซอด้วง เพลงซอด้วง -- ประวัติและวิจารณ์ เพลงกราวใน Sawang Apaiwong, 1910-1972 Sawang Apaiwong -- Performing arts Folk music -- Thailand Musical instruments -- Thailand So duang So duang music -- History and criticism Krawnai |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน เพื่อวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และกลวิธีพิเศษที่พบในเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน และวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การศึกษาประวัติชีวิต การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยมีการนำเสนอข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 บท เมื่อวิเคราะห์ทางเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวในแล้ว ได้ผลสรุปดังนี้ จากการวิเคราะห์เดี่ยวซอด้วงเพลงกราวในทางครูแสวง อภัยวงศ์ พบว่าเป็นเพลงที่มีความคึกคัก รุกเร้า ดุดัน และสนุกสนาน กลุ่มทำนองของเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กลุ่มลูกโยนทั้งหมด 7 กลุ่มลูกโยน กลุ่มทำนองเชื่อมโยน 2 กลุ่ม และเนื้อทำนองเพลงกราวใน 2 กลุ่ม คือ เกริ่นเนื้อทำนองเพลงกราวใน และกลุ่มเนื้อทำนองเพลงกราวใน โดยมีโยนในการบรรเลงทั้งหมด 6 เสียง คือ เสียง โด เร มี ลา และฟา ในเรื่องของกลุ่มเสียงที่พบในทางเดี่ยวมีทั้งหมด 3 กลุ่มเสียง คือ ทางเพียงออล่าง (ซลท×รม×) ทางเพียงออบน (ดรม×ซล×) และทางนอก (รมฟ×ลท×)มีการรวบรวมกลวิธีพิเศษในการบรรเลงคือ การสะบัดนิ้ว การสะบัดคันชัก การครั่นคันชัก การรูดสาย การรูดนิ้ว การเอื้อนเสียง การรัวคันชัก การพรมสายเปล่า การพรมปิด การพรมเปิด และการพรมจาก อัตลักษณ์ของเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวในทางครูแสวง อภัยวงศ์ พบว่ามีการบรรเลงเนื้อทำนองเพลงกราวใน 3 รอบ หรือ 36 จังหวะหน้าทับ โดยในการบรรเลงเนื้อทำนองเพลงกราวใน รอบที่ 1 และ 3 มีการบรรเลงที่เหมือนกัน เพียงแต่มีการเปลี่ยนสำนวนบางประโยค ส่วนในการบรรเลงเนื้อทำนองเพลงกราวใน รอบที่ 2 มีการประพันธ์ทำนองที่แตกต่างออกไป การบรรเลงเนื้อทำนองเพลงกราวใน 3 รอบถือเป็นเอกลักษณ์ของเดี่ยวซอด้วงเพลงกราวในทางครูแสวง อภัยวงศ์ ทางเดี่ยวซอด้วงมีการขึ้นต้นเพลงด้วยจังหวะที่ดุดัน รุกเร้า สนุกสนาน และกระฉับกระเฉง ก่อนที่จะมีความอ่อนหวานในทำนองครวญ การขึ้นต้นเพลงด้วยกระสวนทำนองห่างๆ การสัมผัสเสียง การสัมผัสเสียงลูกตก ความหลากหลายและพิสดารในการประพันธ์ทำนองเพลง |
Other Abstract: | To study the context of Krawnai Saw-Daung solo, to analyze musical features and performing techniques of the piece, and to analyze unique musical elements of the solo piece. The researcher selected the version rearranged by Kru Sawang Apiwong. The research methods used are data collecting, bibliography analysis, interviews, and participant observations. The results are divided in to five chapters. Kru Sawang Apaiwong’s Krawnai solo creates energetic and lively emotions. There are seven lukyons, two connecting sections, and two groups of neu tamnong (essential melodies) melodies: the introduction and the neu tamnong melodies. Six pitches are used to create centric melodies: Do, Re, Ti, Mi, La, and Fa. Three melodic modes are used throughout the pieces: thang piang-o lang, thang piang-o bon and thang nok. Ten special techniques required in the piece include sabaadnew (three-pitch triplet), sabaadcaanchak (one-pitch triplet), crancaanchak (interrupted bowing), roodnew (one-pitch sliding), roodsaay (multiple-pitch sliding), aunsaing (melismatic bowing), rauwcaanchak (tremolo bowing), phromsaayblaw (open string trilling), phrompid (fa/ti trilling), phrompaud (mi/la trilling), and phromjak (short trilling). The uniqueness of this version is that the neu tamnong melodies are played three times adding up to 36 nha-tubs (rhythmic cycles). The third time is identical to the first time with some minor changes. The beginning of the second time is different from the other two. The piece has both robust and mellow melodies. It begins with slow melodies. The compositional elements are various and unique. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32577 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.903 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.903 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanatnan_pr.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.