Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32785
Title: | ความรับผิดทางแพ่งอันเกิดจากการล่วงละเมิดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล |
Other Titles: | Civil liability for the infringement of personal data |
Authors: | อัจจิมา กนกมณีโชติกุล |
Advisors: | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความรับผิดทางแพ่ง ความรับผิดฐานละเมิดโดยเด็ดขาด สิทธิส่วนบุคคล การป้องกันข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ Civil liabilities Strict liability Privacy, Right of Data protection -- Law and legislation |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความรำคาญยิ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้จดหมายหรือโทรศัพท์สอบถามการขอใช้บริการทางธุรกิจบางประเภท ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นไปปรากฏอยู่กับผู้สอบถามได้อย่างไร ปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความรำคาญแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ยังอาจสร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อเจ้าของข้อมูล เพราะเจ้าของข้อมูลไม่อาจทราบวัตถุประสงค์ของผู้ละเมิดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และเมื่อใดการวิจัยนี้ได้ศึกษาในเรื่องของความรับผิดทางแพ่งของไทยในปัจจุบัน อันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาความเสียหายมากที่สุด ว่าจะเพียงพอต่อการกำหนดความรับผิดทางแพ่งให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ได้รับความเสียหายจากการล่วงละเมิดในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือไม่ อีกทั้งในขณะนี้มีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... ที่จะออกมาใช้บังคับกับเรื่องนี้โดยตรงจึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย จากการศึกษาพบได้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป จึงทำให้มีการล่วงละเมิดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลสำหรับข้อมูลประเภทที่กฎหมายยังครอบคลุมไปไม่ถึง และเมื่อความคุ้มครองไม่อาจครอบคลุมในทุกเรื่องได้ การเยียวยาความเสียหายจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หมายความว่าความรับผิดทางแพ่งอันเกิดจากการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลก็ย่อมไม่ครอบคลุมเพียงพอ ที่จะคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ซึ่งหากไม่พิจารณาถึงร่างพระราชบัญญัติฯ จะพบได้ว่าเมื่อเกิดการล่วงละเมิดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลขึ้น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องนำเอาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องละเมิดมาปรับใช้ในการเยียวยาความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นภาระแก่เจ้าของข้อมูลผู้เสียหายที่ต้องนำสืบพิสูจน์ถึงองค์ประกอบความผิดทางละเมิด โดยในโลกแห่งเทคโนโลยีที่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้โดยง่าย จึงเป็นการยากที่เจ้าของข้อมูลผู้เสียหายจะพิสูจน์หาความผิดต่อการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลที่เป็นนามธรรมนี้ ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติฯ จึงเป็นเสมือนทางออกในการชดใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลผู้เสียหายได้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดมาตรการความรับผิดทางแพ่งเอาไว้เป็นการเฉพาะ ในลักษณะของความรับผิดเด็ดขาดที่ผู้กระทำย่อมต้องรับผิดเสมอ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ว่าผู้กระทำละเมิดนั้นจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม จึงเห็นควรที่จะนำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... นี้ที่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันออกมาเป็นกฎหมายมีผลใช้บังคับโดยเร็ว |
Other Abstract: | Recently, the issue of privacy rights infringement is an important irritated problem. As you can see from the enquired letter or phone calling request for applying to be a member of some business services which causing the doubtfulness to the owner of personal data, why they knew my personal data?. This problem is not only causing the annoyance but also may causing the terribly damage to the owner of such personal data because the owner does not know the wrongdoer’s objective whether they are looking for optimism or pessimism. Research has been conducted by the executed law relating to personal data protection and the Bill of Personal Data Protection and Studying the concept of civil liability to remedy the damages causing from the infringement of personal data. Therefore this research will answer you the question that the above mentioned laws remedy the owner of personal data sufficiently or not. Based on the study, at present Thailand still has no legislative generally protecting personal data. This results in the infringement of personal data by which the law has not protected and accordingly, under no circumstances is the remedy measures for injured person to be made. Apart from the Bill of Personal Data Protection, in the event of personal data infringement, the owner of such personal data shall bring an action subject to the general tort under Civil and Commercial Code which bear the burden of proof. Moreover, nowadays, our information technology, the owner of personal data will find more difficulty in the burden of proof for the infringement of privacy rights. Therefore, the Bill of Personal Data Protection would be one of the potential solutions to remedy the damages causing from the infringement of personal data in the form of strict liability which the wrongdoer shall have civil liability, whether the action has been done intentionally or negligently, unless otherwise provided by the law. It would be grateful if the Bill of Data Protection was enacted soonest. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32785 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1331 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1331 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ajjima_ka.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.