Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3300
Title: | การนำเสนอรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับโรงเรียนในโครงการพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | A proposed model for supporting learning environment with information and communications technology for schools in education quality improvement project |
Authors: | ศณียา จิโนวัฒน์, 2522- |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สื่อการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษา |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครู และนักเรียน เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโครงการพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโครงการพัฒนาการสื่อสารในโครงการพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโครงการพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูจำนวน 380 คน และนักเรียน จำนวน 75 คน ในโรงเรียนโครงการพัฒนาการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูและนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าโรงเรียนจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ในห้องคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุดและบริเวณโรงเรียนในห้องเรียนควรมี 1 เครื่องต่อนักเรียน 2 คน ตั้งอยู่หลังห้อง ควรมีมุมสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต ห้องคอมพิวเตอร์มี 1 เครื่องต่อนักเรียน 2 คน ตั้งอยู่หลังห้อง มีมุมสื่อการศึกษาด้วยตนเองและในห้องสมุดมี 1-5 เครื่องมีบริการอินเทอร์เน็ตหน้าห้องสมุด จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กันมากที่สุด 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับข้อความเกี่ยวกับรูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน จำนวน 51 ข้อจากจำนวน 81 ข้อ 3. รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงเรียนในโครงการพัฒนาการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 1) ในห้องเรียนควรมีคอมพิวเตอร์เป็นสัดส่วน เครื่องต่อนักเรียน 5 คน มีการจัดมุมสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และมุมสื่อการศึกษาด้วยตนเอง มีการนำเสนอผลงานหรือโครงงานของนักเรียน 2) ในห้องคอมพิวเตอร์มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 1 คน จัดมุมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT 4 มุม มุมสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มุมการศึกษาด้วยตนเองมุมตอบคำถามและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ICT 4 มุม : มุมสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มุมการศึกษาด้วยตนเอง มุมตอบคำถามและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับปัญหาด้าน ICT และมุมอุปกรณ์ จัดกิจกรรม การนำเสนอเว็บไซต์ การจัดประกวดโครงการคอมพิวเตอร์ การอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การอบรมพัฒนาครูด้าน ICT การแข่งขันการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการนำเสนอเกมที่ส่งเสริมการศึกษาและการพัฒนาความคิด 3). ในห้องสมุด ควรมีคอมพิวเตอร์เป็นสัดส่วน 1 เครื่องต่อนักเรียน 50 คนจัดมุมคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ต มุมสื่อการศึกษาด้วยตนเอง และมุมหนังสือเอกสารด้าน ICT มีจัดกิจกรรมการแข่งขันการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การจัดงานสัปดาห์ ICT การแข่งขันการตอบปัญหาเกี่ยวกับ ICTและการแข่งขันการจัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับ ICT 4). ภายในโรงเรียนมีบริการคอมพิวเตอร์บริเวณหน้าห้องสมุด โดยให้บริการอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และบริการกระด่านข่าวภายในโรงเรียน มีการแข่งขันการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และการแข่งขันการตอบปัญหาด้าน ICT |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study status and needs of teachers and students concerning environment supporting learning with information and communications technology (ICT) for schools in education quality improvement project 2) to study specialists, opinions concerning the model for supporting learning with ICT for schools in education quality improvement project and 3) to propose the model for supporting learning with ICT for schools in education quality improvement project. The samples of this research consisted of 380 teachers, 75 students and 20 specialists. The data were collected by means of survey questionnaires and three-round of Delphi questionaires. The data were analyzed by percentage, median and interquartile range. The results indicated that : 1. Most of teachers and students agreed that schools should provide computers in a classroom, a library and in the school area. Each classroom may have one computer per five students located in the rear area with internet corner. Each computer room may have one computer per two students with self-study media corner and in the library may have 1-5 computers with internet service in front of the library. ICT activities should based on student participation and interaction. 2. The 51 statements from 81 statements of specialists final consensus were considered for the model for supporting learning with ICT for schools. 3. The model for ICT supporting learning in schools consisted of : 1) Each classroom should place one computer per five students with internet corner and self-study media corner. ICT activities are ICT report or project presentation. 2) Each computer room should provide a computer for individual basis with four supporting learning corner : internet, self-study, ICT question-answer, and equipment facility. ICT activities are website presentations, computer project-based competition, a training on computer and facility utilization, a teacher training , internet search competition and an educational and thinking development games 3) Eachlibrary should place one computer per fifty students with internet corner, self-study media corner and ICT books and documents. ICT activities are internet search competition, ICT week, ICT question-answer competition and ICT bulletin board design competition. 4) In school area, computer should be located in front of the library for all to use internet search, intranet, e-library and webboard within a school. ICT activities are internet search and ICT question-answer competition. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3300 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.692 |
ISBN: | 9741769245 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.692 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saneeya.pdf | 6.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.