Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3309
Title: การน้อมนำสาระสำคัญของหลักธรรมในพระไตรปิฎกเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษา
Other Titles: The application of essential principles of the Tipitaka to develop the student development model
Authors: ดรุณี ชูประยูร, 2504-
Advisors: ธิดารัตน์ บุญนุช
แม่ชีวิมุตติยา (สุภาพรรณ ณ บางช้าง)
พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พระไตรปิฎก -- การแปลความหมายและการตีความ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาระสำคัญของหลักธรรมในพระไตรปิฎกด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา และเสนอรูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเอกสารโดยใช้วิธีการอ่าน สังเคราะห์และจัดสารบบหลักธรรมในพระไตรปิฎก และขอความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิในการคัดสรรหลักธรรมที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมในพระไตรปิฎกจำนวน 244 หลักธรรมมีคุณค่าต่อการน้อมนำมาพัฒนานิสิตนักศึกษา ครอบคลุมการพัฒนานิสิตนักศึกษาทุกด้าน คือ กาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา แต่ละหลักธรรมสามารถนำไปพัฒนานิสิตนักศึกษาได้ตั้งแต่ 1 ด้านถึงครบทั้ง 4 ด้าน และหลักธรรมในพระไตรปิฎกครอบคลุมการพัฒนานิสิตนักศึกษาตามทฤษฎีจิตสังคม ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา ทฤษฎีสัญลักษณ์ และทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อม โดยมีอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นหลักธรรมสำคัญ ดังนั้น รูปแบบในการพัฒนานิสิตนักศึกษาจึงเป็นการน้อมนำอริยมรรคมีองค์ 8 มาพัฒนานิสิตนักศึกษา โดยบูรณาการ 1) หลักธรรมที่เป็นบุพนิมิต 7 ประการ ได้แก่ ความเป็นผู้มีมิตรดี ความถึงพร้อมด้วยศีล ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ ความถึงพร้อมด้วยตน ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท และความถึงพร้อมด้วยการมนสิการ โดยแยบคาย 2) อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) การเจรจาชอบ (สัมมาวาจา) การกระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) การเลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความพยายามชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) และการตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) และ 3) ทฤษฎีพัฒนานิสิตนักศึกษาเข้าด้วยกัน โดยใช้มิติการพัฒนานิสิตนักศึกษา 3 มิติ ซึ่งประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ ได้แก่ การเรียนรู้ทางปัญญา พัฒนาการทางจริยธรรมและอารมณ์ สมรรถนะในการประยุกต์ ความก้าวหน้าขององค์ความรู้ การค้นพบและส่งเสริมผู้มีพรสวรรค์ ความก้าวหน้าของสวัสดิการสังคม และการหลีกเลี่ยงผลทางลบ 2) เป้าหมายได้แก่ ปัจเจกบุคคล นิเวศสถาบัน นิเวศสถาบันด้านกายภาพ นิเวศสถาบันด้านสังคม นิเวศสถาบันด้านวัฒนธรรมนิเวศสถาบันด้านวิชาการ และนิเวศสถาบันด้านองค์กร/โครงสร้าง และ 3) วิธีการ ได้แก่ การเรียนรู้เชิงรุก การพัฒนาค่านิยมและมาตรฐานทางจริยธรรม การสื่อสารความคาดหวังสูง การสืบสวนอย่างเป็นระบบ การใช้ทรัพยากรอย่างสัมฤทธิ์ผล การผลักดันจากผู้มีส่วนร่วม และการสร้างชุมชนสนับสนุนและชุมชนโดยรวม เป็นเครื่องมือได้สมการในการพัฒนานิสิตนักศึกษา 343 สมการ ข้อค้นพบที่สำคัญคือ ผลจากการพัฒนานิสิตนักศึกษาตามรูปแบบการพัฒนานิสิตนักศึกษาโดยน้อมนำหลักธรรมในพระไตรปิฎก ทำให้นิสิตนักศึกษาได้รับการพัฒนาโดยองค์รวม
Other Abstract: The purposes of this research are to analyze the essential principles of the Tipitaka for student development, and to present the student development model based on the essential principles of Tipitaka. The documentary research approach was used for synthesizing and taxonomizing the principles of the Tipitaka including the suggestion from experts for considering and selecting the appropriate principles to develop students. Results of the study show that the principles of the Tipitaka are valuable for student development. The 244 principles cover fourfold to develop students, namely, physical, behavioral, mental, and intellectual development. Each principle can be applied for developing student covering from one to fourfold. The principles cover psychosocial, cognitive-structural, typological, and person-environment interaction theories. The Noble Eightfold Path is the essential principle for student development; therefore, the student development model is to apply the Path to develop students. The model integrates 1) the 7 foregoing signs, namely, good company, possession of virtue, possession of will, self-possession, possession of right view, possession of earnestness, and possession of reasoned attention, 2) The Noble Eightfold Path, namely, right view, right thought, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right concentration, and 3) student development theories. The three-dimension student development model comprises 1) purposes consist of cognitive learning, emotional and moral development, practical competence, advancement of knowledge, discovery an encouragement of talent, advancement of social welfare, and avoidance of negative outcomes, 2) targets consist of individual, campus ecology, physical ecology, social ecology, cultural ecology, academic ecology, organizational/structural ecology, and 3) methods consist of active learning, development of coherent values and ethical standards, high expectation communication, systematic inquiry, using resources effectively, push from educational partnership, and building supportive and inclusive communities. The three-dimension model is the tool for developing students which generates 343 equations for student development. Essential finding is the outcome of the student development model based on the principles of The Tipitaka as the holistic students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3309
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.776
ISBN: 9745320668
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.776
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
darunee.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.