Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33145
Title: อิทธิพลของความเชื่อในศาสนา การมองโลกในแง่ดี และการฟื้นคืนได้ต่อความผูกใจมั่นในงาน : บทบาทการส่งผ่านของความสุขในการทำงาน
Other Titles: Effects of religious orientation, optimism, and resilience on work engagement : mediating role of work happiness
Authors: ช่อผกา แซ่โค้ว
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ศาสนา -- แง่จิตวิทยา
การมองโลกในแง่ดี -- แง่จิตวิทยา
ความสามารถในการฟื้นพลัง
คุณภาพชีวิตการทำงาน
Religion -- Psychological aspects
Optimism -- Psychological aspects
Resilience (Personality trait)
Quality of work life
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเชื่อในศาสนา การมองโลกในแง่ดีและการฟื้นคืนได้ต่อความผูกใจมั่นในการทำงานและเพื่อศึกษาอิทธิพลของความเชื่อในศาสนา การมองโลกในแง่ดี และการฟื้นคืนได้ ต่อความผูกใจมั่นในการทำงานโดยมีความสุขในการทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจหรือภาครัฐที่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีอายุ 21 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวนทั้งสิ้น 750 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอกความเชื่อในศาสนา ตัวแปรแฝงภายนอกการมองโลกในแง่ดี และตัวแปรแฝงภายนอกการฟื้นคืนได้ ตัวแปรแฝงภายในความสุขในการทำงานและตัวแปรแฝงภายในการผูกใจมั่นในงาน โดยตัวแปรดังกล่าววัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งสิ้น 13 ตัวแปร ข้อมูลรวบรวมโดยใช้ เครื่องมือวิจัยซึ่งเป็นแบบวัดประมาณค่ารวม 5 ตอน มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตั้งแต่ .62 ถึง .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สําคัญสรุปได้ดังนี้โมเดลลิสเรลของความผูกใจมั่นในงานที่มีความสุขในการทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่านโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi square = 35.645, df = 26, p = .101, RMSEA = 0.022, RMR = 0.007, GFI = 0.993, AGFI = 0.975) ตัวแปรแฝงการมองโลกในแง่ดีมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรแฝงความสุขในการทำงานและตัวแปรแฝงการผูกใจมั่นในงาน ส่วนตัวแปรแฝงการฟื้นคืนได้มีอิทธิพลทางตรงและทางอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรแฝงความผูกใจมั่นในงานโดยมีตัวแปรแฝงความสุขในการทำงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the effects of religious orientation, optimism and resilience on work engagement, with the work happiness as a mediator. The research sample consisted of 750 government or state enterprise employee or private business employees who are Buddhist. The variables consisted of five latent variables: religious orientation, optimism, resilience, work happiness, work engagement, all of which were totally Measured by 13 observed variables. Data were collect by 5 sets of likerts scale questionnaires, with reliability ranged from .62 - .85. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, confirmatory factor analysis and LISREL model analysis. The major findings are as follows: the LISREL model of work engagement with work happiness as a mediator, as a whole fit to the empirical data. (chi-square = 35.645, df = 26, p = .101, RMSEA = 0.022, RMR = 0.007, GFI = 0.993, AGFI = 0.975). The latent variable: optimism had direct effect on work engagement. The latent variable: resilience had both direct and indirect effect on work engagement via the work happiness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาประยุกต์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33145
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1456
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1456
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chopaka_sa.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.