Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33204
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโครงการคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดน |
Other Titles: | Development of indcators of the effectveness of the border patrol police "kurutayat" project |
Authors: | จุรีพร ปานแก้ว |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โครงการคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดน การวิเคราะห์และประเมินโครงการ ครู -- การฝึกอบรม นักศึกษาครู โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน Border Patrol Police HkurutayatL Project Cost effectiveness Teachers -- Training of Student teachers |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโครงการคุรุทายาทตำรวจตะเวนชายแดน และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโครงการคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดนที่ผ่านการฝึกอบรมระยะ รุ่นที่ 1-5 จำนวน 285 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประสิทธิลของโครงการคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย และแบบสอบถามครูคุรุทายาทที่ผ่านการฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายความเบ้ ความโด่ง และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิผลของโครงการคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดนประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่ 1) องค์ประกอบประสิทธิผลด้านปัจจัยเบื้องต้น ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบประสิทธิผลด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ และ 3) องค์ประกอบประสิทธิผลด้านผลผลิต ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโครงการคุรุทายาทตำรวจตระเวนชายแดนตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chisquare) เท่ากับ 35.266 (p = 0.823, df = 44) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .983 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .958 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (RMR) เท่ากับ 0.025 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานขององค์ประกอบตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ด้านมีค่าเป็นบวกและมีขนาดตั้งแต่ 0.755-0.987 โดยงองค์ประกอบด้านปัจจัยเบื้องต้นมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุด รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านผลผลิต และน้อยที่สุด รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านผลผลิต และน้อยที่สุดคือ องค์ประกอบด้านกระบวนการค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ในรูปคะแนนมาตรฐาน ทั้ง 14 ตัวบ่งชี้มีค่าเป็นบวกและมีขนาดตั้งแต่ 0.406-0.863 โดยตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบด้านปัจจัยเบื้องต้นที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุดคือ ทักษะการสอนของวิทยากร ตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบด้านกระบวนการที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุดคือ ความสอดคล้องของการจัดกิจกรรมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบด้านผลผลิตที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุดคือ ทักษะในการปฏิบัติการสอน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1.) develop effectiveness indicators of the border patrol police HkurutayatL project 2.) to validate model effectiveness of the border patrol police HkurutayatL role indicators instruction based on theoretical concept and empirical data. The participants of this research were 285 police teachers kurutayat one distance and have been trained form1st to 5th graduates. The research variable were indicators effectiveness of the border patrol police HkurutayatL project. The research tool were in-depth interview with expert and questionnaires. Data were analyed using descriptive statistics (e.g., means, S.D., C.V., skewness, kurtossis) and Pearson s correlation by employing SPSS. Analyed using second order confirmatory factor analysis by LISREL. The research results were as follows 1. Effectiveness of the border patrol police HkurutayatL project comprises three components including 1) to effectiveness input were 7 indicators 2.) to effectiveness process were 2 indicators 3.) to effectiveness output were 5 indicators 2. The result of second order confirmatory factor analysis of the model of the effectiveness of the border patrol police HkurutayatL project instruction were found that model was fitted with empirical data (Chi u square = 35.266, p = 0.823 ,df = 44, GFI= .983 AGFI= .958 RMR = 0.025). Standard score factor loading effectiveness of the border patrol police HkurutayatL project in three factors were positive, size were form 0.755-0.987 which had similar size. With input factor have highest standard score factor loading, next below were output factor and process factor have lowest. Standard score factor loading of 14 indicators were positive, size were form 0.406-0.863 which had similar size. With teaching skill of lecturer indicators have highest standard score factor loading in input factor . With consistent of activity objective of project indicators have highest standard score factor loading in process factor and with teaching skill of kurutayat indicators have highest standard score factor loading in output factor. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33204 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.607 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.607 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jureeporn_pa.pdf | 7.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.