Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33242
Title: | การศึกษาระบบสัญจรและการวางผังภายในมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า |
Other Titles: | A Study of personal rapid transportation case study of campus Rajabhat Rajanagarindra University Bangkla |
Authors: | ณชากร บุตรศรี |
Advisors: | สุนทร บุญญาธิการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ การวางผังบริเวณ สถาบันอุดมศึกษา -- สิ่งแวดล้อม Rajabhat Rajanagarindra University Building sites -- Planning College environment |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทุกให้ความสนใจและร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง แนวทางหนึ่งที่สามารถ แก้ไขปัญหา คือ การวางผังภายในมหาวิทยาลัยและการบริหารจัดการระบบสัญจรภายในมหาวิทยาลัยให้มี ประสิทธิภาพ เพราะการวางผังของมหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบหนึ่งของการทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมี ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรให้ความตระหนักถึงสิ่งนี้เป็นอันดับแรก ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบการวางผังและระบบสัญจรภายในมหาวิทยาลัยของภาครัฐและเอกชนที่ตั้งอยู่ บริเวณพื้นที่เขตในเมืองและเขตนอกเมือง ดังนี้ 1) มหาวิทยาลัยสยาม การวางผังอาคารภายในมหาวิทยาลัยนั้นมี การก่อสร้างอาคารจำนวนมากเรียงกัน เพราะมีพื้นที่จำกัด 2) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร การวาง ผังอาคารภายในมหาวิทยาลัยมีการก่อสร้างอาคารกระจายตัวตามพื้นที่มหาวิทยาลัยทำให้พื้นที่อาคารส่วนใหญ่มี พื้นที่ห่างกัน 3) ,การวิจัยเบื้องต้นพบว่า มหาวิทยาลัยเอกชนมีความหนาแน่นของอาคารมากเพราะต้องการทำกำไร ให้สูงขึ้น ส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐบาลมีความหนาแน่นของอาคารน้อยจึงทำให้มีการกระจายตัวของอาคาร เพราะ งบประมาณมีอยู่จำกัดและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และการเปลี่ยนผู้บริหาร ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล เรื่อง ตำแหน่งอาคาร ระยะทางเดินระหว่างอาคาร กิจกรรมที่ทำอยู่ในอาคาร กิจกรรมดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาด้านระบบการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้พบว่า มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษาน้อยที่สุด และมีพื้นที่น้อยที่สุด จะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุดด้วยเช่นกัน เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้การเดินมากกว่า การใช้รถในการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ส่วนมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษามาก และมีพื้นที่มาก จะมีการ ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้รถในการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ซึ่ง จะแปรผันไปทางเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าการวางผังทางสัญจรอย่างเหมาะสมและออกแบบการจัดการเรียน การสอนเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ บางคล้าเดิม และเพิ่มแรงจูงใจใน การเดินจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ จากปัจจัยอิทธิพลให้พัฒนาการออกแบบให้บางคล้าเป็นตัวอย่างที่สร้างนโยบาย เพราะผู้บริหารมี วิสัยทัศน์ ลดทางสัญจร 50 % ลดการใช้พลังจากเครื่องปรับอากาศ 50% การวางผังเมืองจึงเป็นประโยชน์ โดยปรับ ผังอาคารและทางสัญจรโดยการทำสะพานทำให้เกิดทางเดินระหว่างอาคารที่สั้นกว่าเดิมประมาณ 200-300 เมตร ส่งผลให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง |
Other Abstract: | Climate change is a critical today. Carbon dioxide emission from transportation modes in campus is one impact to be concerned. Most university campuses should re-plan and comply to climate change issue. Government and private university campuses were evaluated. Private campus normally designed with high floor area ratio (FAR) to maximize land use while government university campus mostly designed to maximize land area with very low FAR. Both started with different planning concept. Private campus needs to reduce investment cost and make maximize profit. Government university campus objects to expand land title area, therefore, small buildings were built spread out over the land area. Class schedule is also important to transportation emission in campus design. Compact planning by private university provides classroom occupation close to 100%. Government university still organizes room use for their own faculty, therefore, room occupation is only 20%. Transportation modes in campus are walk, bicycle, motorcycle, car, and bus. Walking mode is suitable for 200-300 meter length since class schedule allows about 10 minutes break. Bicycle and motorcycle modes have longer distance but it has to fit to the class schedule. Bus is commonly used mostly from building to building. Observed data collection shows that compact planning design uses walking mode while spread out campus design needs every transportation modes. Rajabhat Rajanakarindra University, Bangkla campus was used to conduct appropriate transportation modes with suitable campus redesign. It is found that using the same classroom or nearby within walking distance is one solution even buildings were designed as spread out. Classroom occupation rate is another key factor since the energy consumption of air-conditioning system was turn on and off frequently. It increases energy consumption which increases carbon dioxide emission. With the new design, it reduces transportation distance 200-300 meters and 50% of energy used in airconditions system all over campus. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33242 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1400 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1400 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nachakorn_bo.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.