Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3328
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.advisorสุชาติ ตันธนะเดชา-
dc.contributor.authorศุภลักษณ์ วิริยะสุมน, 2501--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-01-11T10:02:10Z-
dc.date.available2007-01-11T10:02:10Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745315591-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3328-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อให้ได้ภาพของแต่ละแห่งและภาพรวม เทียบวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับเกณฑ์ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและนำเสนอวาระปฏิบัติเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์สาระจากเอกสาร และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยประชาคม 4 ประเภท คือ ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรเสริมและนักศึกษา จำนวน 1,248 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 36 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ค่าเอฟ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ จัดทำร่างวาระปฏิบัติและตรวจสอบโดยการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์สาระเอกสารพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมีพันธกิจ 8 ด้าน คือ 1. การจัดการศึกษา 2. การวิจัย 3. การบริการวิชาการแก่ชุมชน 4.การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. การผลิตและพัฒนาครู 7. การปรับปรุง พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและ 8. การบริหารจัดการสถาบัน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏมีวัฒนธรรมการปฏิบัติงานตามพันธกิจในระดับมาก 2 ด้านคือ ด้านการผลิตและพัฒนาครูและด้านการจัดการศึกษา ส่วนอีก 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่ควรเสริมสร้างพบว่า ควรเสริมสร้างในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการผลิตและพัฒนาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏมีแบบวัฒนธรรมองค์การ 3 แบบ ผสมผสานกันคือ วัฒนธรรมแบบเครือญาติ วัฒนธรรมแบบราชการ และวัฒนธรรมแบบปรับตัว มหาวิทยาลัยราชภัฏยังไม่มีการเทียบผลการดำเนินงานกับคู่แข่งองค์กรอื่นๆ ที่เทียบเคียงกันได้หรือเกณฑ์เปรียบเทียบ ผลการวิจัยขั้นสุดท้ายได้วาระปฏิบัติ 9 วาระปฏิบัติ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to survey Rajabhat Universities' Organizational Culture to obtain a profile of each university and as a general profile of all universities, to compare their organizational culture with the Baldrige Criteria for performance excellence, and to propose an action agenda to develop Rajabhat Universities' organizational culture towards performance excellence as higher education institutions for local development. The subjects of this study were 1,248 administrators, faculties, officials, and students in 36 Rajabhat Universities. The data were analyzed by utilized content analysis, percentage, mean, standard deviation, frequency, F-test and factor analysis. The action agenda was designed and checked by Connoisseurship. The results of the documentary analysis revealed that the mission of Rajabhat Universities could be divided into 8 areas: education management, research conduction, academic service for the local communities, art and culture preservation, natural resource and environment conservation, teacher production and development, improvement, development and transference of technology, and institution management. The results of the questionnaire showed that the culture of performance for the university mission was a high level in the two areas: education management and teacher production and development, while the other six areas of performance were at a medium level. It is suggested that every area should be improved to a high level and the most important area is the teacher production and development. As the Rajabhat Universities had 3 types of mixed organizational cultures, clan culture, bureaucratic culture, and adaptability culture, they did not compare their performances with competitors, other comparable organizations or benchmarks. The final results of the study suggested 9 action agenda that the Rajabhat Universities could implement to improve their organizational culture for performance excellence.en
dc.format.extent10680100 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.772-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาen
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การen
dc.subjectชุมชนกับสถาบันอุดมศึกษาen
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏen
dc.subjectการพัฒนาชุมชนen
dc.titleการนำเสนอวาระปฏิบัติเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นen
dc.title.alternativeA proposal of an action agenda for Rahabhat Universities organizational culture development towards performance excellence as higher education institutions for local developmenten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาเอกen
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.772-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SupalakWi.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.