Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33346
Title: | การก่อเกิดและการควบคุมไบโอฟิล์มของ Vibrio parahaemolyticus บนผิวเหล็กกล้าไร้สนิม |
Other Titles: | Formation and control of Vibrio parahaemolyticus on stainless steel surfaces |
Authors: | ณัทฐนิษฐ์ ศรีมังกรแก้ว |
Advisors: | รมณี สงวนดีกุล สุเมธ ตันตระเธียร ชื่นจิต ประกิตชัยวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] [email protected] |
Subjects: | ไบโอฟิล์ม เหล็กกล้าไร้สนิม อุตสาหกรรมอาหาร -- การควบคุมคุณภาพ Biofilms Vibrio parahaemolyticus Stainless steel Food industry and trade -- Quality control |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเกาะติด การเกิดไบโอฟิล์ม และการควบคุมไบโอฟิล์มที่เกิดขึ้นของ Vibrio parahaemolyticus ATCC 17802 DMST 21243 บนพื้นผิวเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีเกรดและพื้นผิวแตกต่างกัน โดยเลือกใช้เหล็กกล้าไร้สนิม 3 เกรด (304, 316L และ 430) และ พื้นผิว 2 ชนิด (2B และ BA) พบว่า เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316L มีความขรุขระมากที่สุด รองลงมาคือ เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 และ 430 ตามลำดับ และ เหล็กกล้าไร้สนิมพื้นผิว 2B มีความขรุขระมากกว่าพื้นผิว BA และในสารแขวนลอยเซลล์ความเข้มข้น 9 log CFU/ml เพียงแค่สัมผัส (0 นาที) ก็สามารถทำให้ V. parahaemolyticus เกาะติดบนแผ่น เหล็กกล้าไร้สนิมได้ โดยพบว่า V. parahaemolyticus สามารถเกาะติดบนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316L ได้มากกว่าเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 และ 430 ตามลำดับ และ V. parahaemolyticus สามารถเกาะติดบนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมพื้นผิว 2B ได้มากกว่า พื้นผิว BA ในขณะที่เมื่อพิจารณาการเพิ่มจำนวนและเกิดเป็นไบโอฟิล์ม พบว่า V. parahaemolyticus สามารถเพิ่มจำนวนบนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 430 ได้ดีกว่าเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 และ 316L ตามลำดับ และ V. parahaemolyticus สามารถเกาะติดและเพิ่มจำนวนบนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมพื้นผิว 2B ได้มากกว่าพื้นผิว BA และภายใต้สภาวะที่ไม่ให้สารอาหารเพิ่ม V. parahaemolyticus ก็ยังสามารถอยู่รอด เจริญ และเพิ่มจำนวนบนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมได้ ส่วนในการศึกษาประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์ของ benzalkonium chloride พบว่า ในสารแขวนลอยเซลล์ความเข้มข้น 9 log CFU/ml นั้น benzalkonium chloride ที่ความเข้มข้น 0.02% สามารถทำลายเซลล์ V. parahaemolyticus ได้ทั้งหมดในทันทีที่สัมผัส และในการทดสอบประสิทธิภาพของ benzalkonium chloride ในการทำลายไบโอฟิล์มของ V. parahaemolyticus บนพื้นผิวเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีเกรดและพื้นผิวแตกต่างกัน พบว่า ที่ความเข้มข้นที่เท่ากัน benzalkonium chloride สามารถทำลายเซลล์ V. parahaemolyticus บนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 430 ได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 และ 316L ตามลำดับ และสามารถทำลายเซลล์ V. parahaemolyticus บนแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 พื้นผิว BA ได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าเหล็กกล้าไร้สนิมพื้นผิว 2B |
Other Abstract: | This research studied the attachment, biofilm formation and control of biofilm formed by Vibrio parahaemolyticus ATCC 17802 DMST 21243 on different grades and finishes of stainless steel. Three grades (304, 316L and 430) and 2 finishes (2B and BA) were used. It was found that stainless steel grade 316L was the most roughness follow by 304 and 430 and 2B finish was rougher than BA finish. The results showed that at initial cells suspension of 9 log CFU/ml, at 0 minute bacterial cells can attach on coupons. The number of cells attached on coupons grade 316L was higher than other grades and 2B finish was higher than BA finish. The bacterial cells can form biofilm on coupons. The number of cells on coupon grade 430 was higher than 304 and 316L respect and 2B finish was higher than BA finish. V. parahaemolyticus can survive and grow on coupons under condition that no additional of nutrients. The efficacy of benzalkonium chloride was investigated. In planktonic state, the results showed that benzalkonium chloride 0.02% completely eliminated all cells at sudden contact at initial cells suspension of 9 log CFU/ml. The efficacy of benzalkonium chloride on V. parahaemolyticus biofilm on different grades and finish of stainless steel were studied. At same concentration of benzalkonium chloride the time to eliminated bacterial cells on stainless steel grade 430 was shortest follow by 304 and 316L and BA finish was than 2B finish. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33346 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1424 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1424 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nattanit_sr.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.