Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33367
Title: การวิเคราะห์อัตราการเต้นหัวใจและกรดแลกติกในเลือดระหว่างการแข่งขันแบดมินตันประเภทเดี่ยวของนักกีฬาระดับเยาวชน
Other Titles: Health rate and blood lactic acid analysis of junior badminton players during single badminton competition
Authors: ณธร พงษ์วิชชุลดา
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ชีพจร
อัตราการเต้นของหัวใจ
แบดมินตัน -- การแข่งขัน
กรดแล็กติกในเลือด
Pulse
Heart beat
Badminton (Game) -- Competitions
Blood lactate
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์อัตราการเต้นหัวใจ การใช้พลังงาน ปริมาณกรดแลคติกในเลือด โครงสร้างและลักษณะการเคลื่อนไหวในเกมการแข่งขันแบดมินตันประเภทเดี่ยวของนักกีฬาระดับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมเก็บตัวกับทางสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อทำการฝึกซ้อมสำหรับเตรียมการแข่งขันเยาวชนโอลิมปิคปี 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเพศชาย 8 คนและเพศหญิง 2 คน อายุ 17 - 19 ปี ทำการเลือกแบบเจาะจง และด้วยความสมัครใจ บันทึกอัตราการเต้นหัวใจ ปริมาณการใช้พลังงาน กรดแลคติก และโครงสร้างของเกม โดยเก็บข้อมูลจากรายการ SCG แบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยและรายการวิคเตอร์กรุงเทพ-เชียงใหม่โอเพ่นปี 2010 จำนวน คนละรอบการแข่งขัน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1.อัตราการเต้นหัวใจเฉลี่ยในเพศชายของรอบการแข่งขันแรก ในเซตที่ 1 และ 2 เท่ากับ 169 และ 179.6 ครั้งต่อนาที รอบการแข่งขันที่สอง ในเซตที่ 1 และ 2 เท่ากับ 171.5 และ 179.1 ครั้งต่อนาที การใช้พลังงานเฉลี่ยในเพศชายของรอบการแข่งขันแรก ในเซตที่ 1 และ 2 เท่ากับ 111.8 และ 124.9 กิโลแคลอรี่ รอบการแข่งขันที่สองในเซตที่ 1 และ 2 เท่ากับ 119.6 และ146 กิโลแคลอรี่ กรดแลคติกเฉลี่ยในเพศชายขณะอบอุ่นร่างกาย ภายหลังการแข่งขันเซตที่ 2 ทันที และในนาทีที่ 5 เท่ากับ 2.5 3.5 และ 3.3 มิลลิโมลตามลำดับ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจ พลังงานที่ใช้ และกรดแลคติกในเลือดระหว่างการแข่งขันทั้งสองรอบ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.เปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราการเต้นหัวใจเฉลี่ยทั้ง 4 เซต ของการแข่งขันทั้งสองรอบในเพศชาย พบว่านักกีฬาคนที่ 6 ต่ำกว่าคนที่ 2, 3, 5, 7และ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.จากโครงสร้างของเกมการแข่งขันพบว่า จำนวนครั้งที่ตีโต้ในหนึ่งแต้มเท่ากับ 7.3 ครั้ง ระยะเวลาเฉลี่ยในแต่ละเซตเท่ากับ 14 นาที แบ่งเป็นระยะเวลาที่เคลื่อนที่และหยุดพัก เท่ากับ 5.6 และ 8.5 นาที และมีลักษณะการเคลื่อนที่ไปตีลูกที่ตำแหน่งกลางซ้ายมากที่สุด เท่ากับ 32.1 เปอร์เซ็นต์ ผู้ฝึกสอนสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาโปรแกรมการฝึกซ้อม และการวางแผนทางด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับการแข่งขัน เพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze heart rate, energy expenditure, blood lactic acid, temporal structure and movements in junior badminton players during single badminton competition. Eight males and two females (aged 17 – 19 years) who were training with the Badminton Association of Thailand under the Royal Patronage for Youth Olympic Games in 2010 in Singapore, were purposively selected and volunteered to be subjects. The obtained data were collected in SCG All Thailand Badminton Championships 2010 and Victor Bangkok–Chiangmai Badminton Tournament 2010 and analyzed to determine means, standard deviations, independent t-test and ANOVA with repeated measures. The statistical difference at .05 significant level was determined. The results were as follow : 1.The average heart rate for male in the first round of set 1 and 2 were 169 and 179.6 beats/min and the second round of set 1 and 2 were 171.5 and 179.1 beats/min while the average energy expenditure for male in the first round of set 1 and 2 were 111.8 and 124.9 Kcal and the second round of set 1 and 2 were 119.6 and 146 Kcal and the average blood lactic acid for male during the warm up, immediately after competition finish and 5 minutes after competition were 2.5, 3.5 and 3.3 millimole respectively. The comparisons of average heart rate, energy expenditure and blood lactic acid between the first round and the second round with paired t-test were not statistically different. 2.The comparisons between average heart rates among four sets of two competitions were found that the average heart rate of subject no. 6 was statistically lower than the others. at 0.05 level. 3.From the temporal structure, an average number of rallies was 7.3 per one point. The average duration of one set was 14 minutes consisting of 5.6 minutes performance time and 8.5 minutes rest time. The middle left side of the court was the most likely area that players hit the shuttlecock (32.1%). Badminton coaches can take an advantage of these findings to develop better training program and nutrition for the success of junior badminton players in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33367
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1428
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nathorn_po.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.