Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33419
Title: การวิเคราะห์การทดลองปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นป้ายจราจรในเวลากลางคืน
Other Titles: An experimental analysis of factors affecting nighttime visibility of traffic sign
Authors: พัชรายุทธ์ จันทน์หอม
Advisors: เกษม ชูจารุกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เครื่องหมายจราจร
การรับรู้ทางสายตา
ความปลอดภัยในท้องถนน
Traffic signs and signals
Visual perception
Traffic safety
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการวิเคราะห์การทดลองปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นป้ายจราจรในเวลากลางคืนตั้งอยู่บนการศึกษาปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นป้ายจราจรโดยสามารถตรวจวัดได้จากระยะทางที่ผู้ขับขี่บนถนนตรวจพบและมองเห็นป้ายจราจรในเวลากลางคืน ปัจจัยที่ทำการศึกษาได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพของป้ายจราจร ประเภทยานพาหนะ และลักษณะของผู้ขับขี่ โดยพิจารณาบนพื้นฐานการศึกษาเงื่อนไขการติดตั้งและสายทางในประเทศไทยเพื่อนำไปสู่แนวทางมาตรฐานที่เหมาะสมในการติดตั้งป้ายจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาระดับของปัจจัยประกอบไปด้วย ประเภทยานพาหนะ ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของป้ายจราจร ความเร็วขับขี่ ระดับความสูงป้าย และกลุ่มอายุผู้ขับขี่ ซึ่งจากงานวิจัยในอดีตมีแนวโน้มว่าปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลต่อการมองเห็นป้ายจราจรในเวลากลางคืน งานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบหาค่าระยะการมองเห็นป้ายจราจรของผู้ขับขี่แต่ละช่วงอายุ นอกจากนี้ในงานวิจัยได้มีการควบคุมปัจจัยควบคุมต่างๆเพื่อให้ผลการทดสอบถูกต้อง ได้แก่ ประเภทถนน ลักษณะเรขาคณิตของถนน ปริมาณการจราจร และช่วงเวลาในการทดสอบ นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัดตัวแปรหรือปัจจัยที่ไม่สนใจในการศึกษาและอาจส่งผลต่อปัจจัยที่ศึกษาอื่นๆในงานวิจัย ผลลัพธ์จากการทดลองพบว่าค่าระยะการมองเห็นและระยะการตรวจพบป้ายจราจรของรถยนต์ส่วนบุคคลมีค่าสูงกว่ารถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ปัจจัยค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง และระดับความสูงป้ายจราจรส่งผลต่อระยะการตรวจพบและระยะการมองเห็นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับป้ายทางแยกรูปตัวที ป้ายหยุด และป้ายจำกัดความเร็ว จากผลการวิจัยผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาป้ายจราจรโดยให้มีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการสะท้อนแสงขั้นต่ำ หรือปรับเพิ่มระยะการติดตั้งป้ายจราจรให้ห่างจากจุดเตือนหรือจุดอันตรายเพื่อให้ผู้ขับขี่มีระยะการมองเห็นป้ายจราจรได้ไกลมากขึ้นในเวลากลางคืน
Other Abstract: This study attempts to investigate underlying factors that could affect traffic sign visibility, which can be measured by road user’s detection distance when driving at night. Such factors may be due to physical characteristics of traffic signs, types of vehicle, and characteristics of road users. Significant factors under prevailing road conditions in Thailand are identified. The findings would help developing a more appropriate guideline for installation of traffic signs so that such road furniture can guarantee the maximum safety of road users, particularly on the visibility at night. In terms of study design, several factors are investigated, i.e., types of vehicles, coefficient of retroreflectivity, driving speed, height of traffic signs, and characteristics of road users. Systematic experimental deign is applied to study these effects on legibility distance. Subjects were recruited from road users with different age groups. The controlled variables in the experiment consist of road condition, road geometry, traffic volume, and time of the day during the experiment. Findings indicate that the passenger car provided statistically longer legibility distances and detection distances than the motorcycle. Coefficient of Retroreflection and Sign height was significant for T-junction sign stop sign and speed limit sign. The researcher also recommends that Department of Rural Roads (DRR) installs and maintains traffic sign to be higher than minimum retroreflectivity levels or increase the advance placement of traffic signs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33419
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.256
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.256
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharayut_ch.pdf20.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.