Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34338
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Development of a causal model of environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok
Authors: ธนดล ยิ้มถนอม
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สิ่งแวดล้อม
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความรับผิดชอบในวัยรุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความรับผิดชอบในวัยรุ่น -- แง่สิ่งแวดล้อม
Environment
Environmental protection
Responsibility in adolescence -- Thailand -- Bangkok
Responsibility in adolescence -- Environmental aspects
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครเมื่อจำแนกตามปัจจัยภูมิหลัง 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2554 จำนวน 997 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร เป็นตัวแปรแฝงภายนอก 1 ตัวแปร คือ ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม และตัวแปรแฝงภายใน 4 ตัวแปร คือ เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความสามารถของตน แรงจูงใจภายใน และพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 25 ตัวแปร เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามจำนวน 4 ชุด และแบบสอบความรู้ทางสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวตัวแปรพหุนาม (one-way MANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ด้วยโปรแกรม LISREL for windows ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้านการใช้ทรัพยากรและด้านการเดินทางอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริโภค ด้านการใช้สิ่งของและอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้านการลดปริมาณขยะ ด้านการเป็นพลเมือง และด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ปัจจัยภูมิหลังทุกตัว ได้แก่ เพศ ระดับชั้นเรียน เขตที่อยู่อาศัย การเป็นสมาชิกชมรมด้านสิ่งแวดล้อม ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา รายได้ของครอบครัว และการได้รับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากแหล่งต่าง ๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในบางด้าน 2. โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลโดยรวมต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามลำดับจากมากไปน้อย คือ การรับรู้ความสามารถของตน เจตคติต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ทางสิ่งแวดล้อม และแรงจูงใจภายใน โดยสองปัจจัยสุดท้ายส่งผลเท่ากัน โมเดลที่พัฒนาขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=134.29, df=136, p=0.53, RMSEA=0.00, GFI=0.99, AGFI=0.97, RMR=0.01) และปัจจัยในโมเดลเชิงสาเหตุสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 67
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study and compare environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok, 2) to develop and examine the goodness of fit of the model of environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok with empirical data, and 3) to study direct effect and indirect effect of effecting toward environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok. The research sample consisted of 997 secondary school students in Bangkok. Variables consisted of 5 latent variables: environmental knowledge, environmental attitude, self-efficacy, intrinsic motivation, and environmentally responsible behaviors. These latent variables were measured by 25 observed variables. Data were collected by 4 questionnaires and environmental knowledge test. The analysis methods of this research consisted of descriptive statistics, one-way MANOVA, one-way ANOVA, and pearson’s product moment correlation coefficient through SPSS for windows, and confirmatory factor analysis, and structural equation model through LISREL for windows. The major finding were as follows: 1. The secondary school students in Bangkok had environmentally responsible behaviors in resource actions and transportations at high level. They had environmentally responsible behaviors in consumptions, instrument usings, waste reductions, citizenship actions, and environmental activities in moderate level. All demographic variables: gender, grade, residence area, environmental club membership, father’s education level, mother’s education level, income level, and receiving environmental information sources affect on some categories of environmentally responsible behaviors. 2. The causal model of environmentally responsible behaviors of secondary school students in Bangkok consisted of variables having both direct and indirect effect. The highest total effect factors on environmentally responsible behaviors are self-efficacy, environmental attitude, environmental knowledge, and intrinsic motivation respectively. This causal model was valid and fit the empirical data with Chi-Square=134.29, df=136, p=0.53, RMSEA=0.00, GFI=0.99, AGFI=0.97, RMR=0.01. The variables in this model could explain 67 percent of variance of environmentally responsible behaviors
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34338
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.565
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.565
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tanadon_yi.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.