Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34568
Title: การวิเคราะห์การยอมรับและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูหลังการประเมินความรู้ครูของกระทรวงศึกษาธิการ
Other Titles: An analysis of teacher's acceptance and performance behaviours after being assessed by the Ministry of Education's teacher knowledge assessment
Authors: ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ครู -- การประเมิน
การพัฒนาตนเอง
การรับรู้ตนเอง
วิจัยแบบผสมผสาน
Teachers -- Rating of
Self-culture
Self-perception
Mixed methods research
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษาระดับการยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ครู และระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู หลังการประเมินความรู้ครู (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ครู และพฤติกรรมการปฏิบัติงานหลังการประเมินความรู้ครู ระหว่างครูที่มีภูมิหลังต่างกัน และเข้ารับการประเมินความรู้ในชุดวิชาที่ต่างกัน (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู ก่อนและหลังการประเมินความรู้ครู และ (4) วิเคราะห์การยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ครู ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูหลังการประเมินความรู้ครู ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (mixed-methods research) แบบลำดับเวลา (sequential mixed-methods design) ขั้นตอนแรกศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างครู ที่เข้ารับการประเมินความรู้ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 460 คน ขั้นที่สองศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ตารางไขว้ (cross-tabulation) การทดสอบทีแบบจับคู่ (paired t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (one-way MANOVA) การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และวิเคราะห์โมเดลลิสเรลด้วยโปรแกรม LISREL การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ครูยอมรับในกระบวนการสอบ และยอมรับในผลการประเมินความรู้ของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง และหลังจากการประเมินความรู้ ครูมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานทั้งด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก (2) ครูที่มีอายุประสบการณ์ในการสอน ประสบการณ์ในการเข้าร่วมอบรม ระดับผลการประเมินความรู้ที่ต่างกัน มีระดับการยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ และระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ครูที่มีวุฒิการศึกษา ระดับชั้นที่สอน และเข้ารับการประเมินความรู้ในชุดวิชาที่ต่างกัน มีระดับการยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ และระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่มีระดับการยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ไม่แตกต่างกัน (3) พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู ก่อนและหลังการประเมินความรู้ครูแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยพบว่า ครูมีพฤติกรรมการพัฒนาตนเอง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครู หลังการประเมินความรู้ สูงกว่าก่อนเข้ารับการประเมินความรู้ (4) การยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ครูส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู หลังการประเมินความรู้ครู โดยการยอมรับในกระบวนการประเมินความรู้ครู สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฎิบัติงาน ได้ 23.30% และมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.482
Other Abstract: To (1) study teacher’s acceptance level and performance behaviours level after assessment of teacher knowledge (2) analyze and compare acceptance level and performance behaviours level among teachers who had different backgrounds and who participated in knowledge assessment of different subjects, (3) compare teacher’s performance behaviours before and after assessment of teacher knowledge, and (4) analyze teacher’s acceptance level affecting performance behaviours after assessment of teacher knowledge. The researcher conducted mixed-methods research and sequential mixed-methods design. Firstly, 460 teachers in Bangkok area were asked to participate in their knowledge assessment by using questionnaire to collect qualitative data. The second stages is quantitative data collection by using in-depth interview. Qualitative data were analyzed by employing frequency, percentage, means, standard deviation, cross-tabulation, paired t-test, one-way MANOVA, factor analysis, and LISREL model analysis. Quantitative data were analyzed by content analysis. The research findings were as follows: (1)Teacher’s acceptance in testing process and assessment result of teacher knowledge was at moderate level. After assessment of teacher knowledge, teacher’s performance behaviours were improved in terms of self development, development of learning management and professional development at high level. (2) Teachers who had different ages, teaching experiences, training experiences, assessment result of knowledge had different acceptance level of knowledge assessment and performance behaviours at the 0.05 level of significance. In contrast, teachers who had different educational levels, teaching levels and subjects assessed their knowledge had indifferent acceptance level of knowledge assessment and performance behaviours. Teachers who had different positions had different performance behaviours at the 0.05 level of significance but indifferent acceptance level of knowledge assessment. (3) There was difference between performance behaviours before and after assessment of teacher knowledge at the 0.01 level of significance. Results found that teachers improved their performance behaviours in terms of self-development, development of learning management, professional development after assessment of teacher knowledge. (4) Teacher’s acceptance in knowledge assessment process affected performance behaviours after assessment of teacher knowledge. This could explain 23.30% of the variances and 0.482 in effect size.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34568
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1480
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1480
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thittaya_si.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.