Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35335
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการแขวงการทางกรมทางหลวง ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการความรู้ |
Other Titles: | Development of a learning model to enchance performance competency for district officers in Department of Highways based on action learning and knowledge management |
Authors: | อาพันธ์ชนิตร์ สู่พานิช |
Advisors: | วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา อมรา ปฐภิญโญบูรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | กรมทางหลวง -- ข้าราชการและพนักงาน การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ สมรรถนะ การเรียนแบบมีส่วนร่วม การบริหารองค์ความรู้ Department of Highways -- Officials and employees Adult learning Performance Active learning Knowledge management |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง (2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการความรู้ (3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการความรู้ และ (4) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังต่อไปนี้ ระยะที่ 1 ผู้วิจัยได้ออกแบบสำรวจสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยการใช้ค่าเฉลี่ย และเลือกค่าเฉลี่ยที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นหัวข้อในการพัฒนาสมรรถนะ ระยะที่ 2 ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย 11 ขั้นตอน คือ 1) การระบุปัญหา 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ 3) การกำหนดสมาชิก 4) กลุ่มวิเคราะห์ปัญหา 5) การวางแผนการแก้ไขปัญหา 6) การลงมือปฏิบัติ 7) การสรุปสร้างองค์ความรู้ 8) การสกัดความรู้ 9) การประยุกต์ใช้ความรู้ 10) การจัดการความรู้ และ 11) การเผยแพร่ความรู้ พร้อมทั้งร่างรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยชุดการเรียนการเรียนรู้ 3 หน่วยการเรียน หลังจากนั้น นำไปทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของแขวงการทางกรมทางหลวงจำนวน 4 หน่วยงานตามภูมิภาค ได้แก่ แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 3 แขวงการทางปราจีนบุรี สำนักงานบริหารบำรุงทางธนบุรี และแขวงการทางราชบุรี และดำเนินการสรุปผลการการเรียนรู้ จากแบบประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ โดยนำไปวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผลออกมาเป็น ค่าร้อยละ และค่าช่วงคะแนน ระยะที่ 3 เป็นการศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากการใช้รูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมเปรียบเทียบของ 4 หน่วยงาน ผลของการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะที่จำเป็นที่สุดสำหรับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง คือ สมรรถนะทักษะการแก้ไขปัญหา (2) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการความรู้ มีทั้งหมด 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการเตรียมการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ดำเนินการตามรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการความรู้มีทั้งหมด 11 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุปัญหา 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ 3) การกำหนดสมาชิก 4) กลุ่มวิเคราะห์ปัญหา 5) การวางแผนการแก้ไขปัญหา 6) การลงมือปฏิบัติ 7) การสรุปสร้างองค์ความรู้ 8) การสกัดความรู้ 9) การประยุกต์ใช้ความรู้ 10) การจัดการความรู้ และ 11) การเผยแพร่ความรู้ และระยะที่ 3 ระยะของการประเมินและทบทวนผล และเมื่อดำเนินการทดลอง พบว่า รูปแบบการเรียนรู้สามารถพัฒนาสมรรถนะทักษะการแก้ไขปัญหาให้กับข้าราชการแขวงการทาง กรมทางหลวง มีความรู้ ทักษะและเจตคติในการแก้ไขปัญหาได้ (3) ปัจจัยและเงื่อนไขที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ ได้แก่ ก) กระบวนการฝึกอบรมคือ วิธีการฝึกอบรม การกำหนดหัวข้อสมรรถนะ และความสามารถของวิทยากร ข) กระบวนการแก้ไขปัญหาคือ การกำหนดหัวข้อเรื่อง ความมุ่งมั่นของประธานกลุ่ม และความร่วมใจของสมาชิกกลุ่ม สำหรับเงื่อนไขที่เป็นผลกระทบคือ การสนับสนุนจากผู้บริหาร ความเหมาะสมในการกำหนดเวลาของผู้เรียนสำหรับการเข้าร่วมดำเนินการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียน |
Other Abstract: | To 1) analyze the performance competency of district officers in the department of highways; 2) development of a learning model to enhance performance competency for district officers in the department of highways based on action learning and knowledge management; 3) implement of the developed model and 4) to study the factors and conditions in using the developed learning model. The research methodology was separated into 3 phases, starting with phase 1, survey of performance competency needed for district officers in the department of highways. Data from the survey was analyzed by using the average (X̅) and percentage (100%) results. Phase 2 developed a learning model that had 11 steps: 1) identify the problem, 2)identify the objectives, 3) choice of numbers, 4) analysis of the problem, 5) plan to solve the problem, 6)implementation of problem-solving, 7) knowledge creation, 8)extraction of knowledge, 9) application of knowledge,10) management of knowledge and lastly 11) dissemination of knowledge. Components of the learning model had three units. The research led to trials of the learning model for four district offices in the department of highways, namely at Chiang Mai highways district 3, Prachinburi highways district, Ratchaburi highways district and at the Highways Maintenance district office. A summary of learning was made from the evaluation form to establish knowledge, skill and attitude. Data from the evaluation form was analyzed by using the percent and score range. Phase 3 studied the factors and conditions in using the learning model by comparing behavior. The findings were as follows: 1. The most important competency required for district officers in the department of highways is that of problem solving. 2. The development learning model to enhance performance competency for district officers in the department of highways based on action learning and knowledge management is in three phases: Phase 1, prepare the creation of the learning process, Phase 2, implementation learning divided into 11 steps: 1) identify the problem, 2) identify the objectives, 3) choice of numbers, 4)analysis of the problem, 5) plan to solve the problem , 6) implementation of problem solving, 7) knowledge creation, 8) extraction of knowledge, 9) application of knowledge, 10) management of knowledge and lastly 11) dissemination of knowledge. Phase 3 evaluation and reviews of learning model. 3. The factors concerning the development of learning model implementation were: 1) factors of learning: learning method; topic of competency; and ability of instructor and 2) factors of problem solving: topic of problem solving; the aim of the chairman and unity of the group. The conditions concerning the development learning model implementation were the policy of executives, time of available learners and the use of technology of the learner’s. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35335 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.576 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.576 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
apanchanit_su.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.