Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35715
Title: การพัฒนากลยุทธ์การศึกษาตลอดชีวิตด้วยการบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรสู่ความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: Development of lifelong education strategies by integrating adult learning theory and action learning concept to establish the organizational culture of fiscal trasparency for local authorities
Authors: พรชัย ฐีระเวช
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
ปาน กิมปี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
การเรียนรู้ของผู้ใหญ่
วัฒนธรรมองค์การ
องค์การบริหารส่วนตำบล
การคลังท้องถิ่น
Continuing education
Adult learning
Corporate culture
Local finance
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเรื่องความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) วิเคราะห์ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการสร้างความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การศึกษาตลอดชีวิตด้วยการบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรสู่ความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงบรรยาย เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรเอกสาร ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาการศึกษาตลอดชีวิต การคลัง และท้องถิ่น รวมทั้งสำรวจพื้นที่และข้อมูลปฐมภูมิจากผู้บริหาร พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา 9 แห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสอบถามตัวชี้วัด แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus group) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) ตัวชี้วัดการเรียนรู้ด้านความโปร่งใสทางการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ตัวชี้วัดในระดับองค์กร บุคคล และสภาพแวดล้อมทางการศึกษาตลอดชีวิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 10 ตัวชี้วัด คือ ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบุคลากร ความสามารถของบุคลากร คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ วิสัยทัศน์ นโยบาย แผน และการปฏิบัติงาน ระบบบริหารและทรัพยากรที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการทำงาน ข้อมูลสารสนเทศ การมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคคลภายนอก แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในการทำงาน และการประเมินผลการเรียนรู้ 2) ระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ระบบการเรียนรู้ของบุคลากรภายในองค์กรควบคู่กับระบบการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนพื้นที่ขององค์กร โดยระบบการเรียนรู้ของบุคลากรภายในองค์กรอยู่ในรูปการเรียนรู้ตามแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั่วไป และการเรียนรู้จากการทำงานเป็นทีม ส่วนระบบการเรียนรู้ของประชาชนเกิดจากการมีส่วนร่วมในการทำงานของประชาชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการสร้างความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 8 ปัจจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร การสร้างแรงจูงใจ การมีส่วนร่วมของประชาชน บุคลากร ความมีประโยชน์ของข้อมูล การติดตามและประเมินผล ทรัพยากรและงบประมาณ และวิธีการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กรและประชาชนที่เกี่ยวข้อง และ 4) กลยุทธ์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรสู่ความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์หลัก คือ การสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยทีมงานขององค์กร การกำหนดหน้าที่ของผู้บริหารเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ขององค์กร การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมีส่วนร่วมของประชาชน การกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก การพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ข้อมูลสารสนเทศ และการบูรณาการทรัพยากรทางการเงินและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลยุทธ์ย่อยรวม 28 กลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้จากการทำงานเป็นทีมขององค์กรและนำไปสู่ความโปร่งใสด้านการคลังสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งประเมินผลได้จากตัวชี้วัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้ง 10 ตัวชี้วัด
Other Abstract: The objectives of this research includes 1) to develop indicators regarding lifelong education on fiscal transparency for local authorities, 2) to analyze lifelong learning system on fiscal transparency for local authorities, 3) to analyze and identify success factors for lifelong learning on fiscal transparency for local authorities, and 4) to suggest lifelong education strategies by integrating adult learning theory and action learning concept to establish the organizational culture of fiscal transparency for local authorities. The research was conducted as a descriptive research with data collection from relevant documents and experts in the fields of lifelong education, fiscal and local administration. Case study research was performed with collection of primary data by surveys and indepth interviews with high level executives, officers, and other key stake-holders from selected 9 local authorities in Northern, Central, East, Northeast, and Southern regions of Thailand. The research instruments consisted of the content analysis applications, questionnaires on lifelong learning indicators, indepth interviews of the key informants and experts’ focus group meeting. Data collection and information gathering in this research were analyzed by descriptive statistics, content analysis, and strategies formulation. Major findings of this research as follows: 1) Indicators regarding lifelong learning on fiscal transparency for local authorities comprises of 3 levels; organization, personnel, and environment in which there are 10 indicators as knowledge, capacity, moral and desirable social value, organization vision and administration, available resources, information technology, people participation, knowledge source, learning activities and evaluation. 2) Lifelong learning system on fiscal transparency for local authorities composes of personnel learning system of officers originated from human resource development and team work system, while citizen learning comes from people participatory process. 3) Eight success factors for lifelong learning on fiscal transparency for local authorities are executives, incentive system, public participation, personnel involvement, appropriate data system, evaluation, resources uses, and learning styles for officer, as well as people. 4) Lifelong education strategies to establish the organizational culture of fiscal transparency for local authorities contain 7 strategies which are supporting of learning via team work, empowering change management, supporting participation of organizational learning, supporting lifelong education and people participation, creating of awareness, developing and disseminating of knowledge and information and integrating financial and other relevant resources. These 7 strategies have 28 action plans to promote organization culture for teamwork learning that would aim toward achieving fiscal transparency for local authorities in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35715
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1436
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1436
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pronchai_th.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.