Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35790
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อสร้างค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมกศึกษาปีที่ 4
Other Titles: The development of a web-based instructional model using project-based learning on science subject to develop the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy for grade ten students
Authors: วิไลลักษณ์ ชาติวิเชียร
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เศรษฐกิจพอเพียง
ค่านิยม
โครงงานวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Sufficiency economy
Values
Science -- Study and teaching
Science projects
Web-based instruction
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ การเรียนรู้แบบโครงงาน และการสร้างค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อ สร้างค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการใช้ รูปแบบ และ 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 400 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2550 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 90 โรงเรียน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 323 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนบนเว็บ ด้านการเรียนการสอนแบบโครงงาน ด้านการสร้างค่านิยม และด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 12 คน และ 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่าย มัธยม ที่ลงทะเบียนวิชาชีววิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 39 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นว่า เครื่องมือที่เหมาะสมมากที่สุดในการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นคือ กระดานสนทนา วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการส่งงานคือ การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบการทำโครงงานบนเว็บที่เหมาะสมที่สุด คือ การทำโครงงานแบบสำรวจรวบรวมข้อมูล วิธีการวางแผนการทำโครงงานบนเว็บที่เหมาะสมที่สุดคือ อาจารย์และนักเรียนควรร่วมกัน วางแผนการทำโครงงานบนเว็บ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการสร้างค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ 3-4 สัปดาห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็นว่า เครื่องมือบนเว็บที่เหมาะสมมากที่สุดในการแลกเปลี่ยนความรู้คือ ห้องสนทนา และวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการส่งงานคือ การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 2. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ว่า เครื่องมือที่เหมาะสมมากที่สุดในการติดต่อสื่อสารคือ ห้องสนทนา กระดานสนทนา จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดในการส่งงานคือ เว็บบล็อก เครื่องมือที่ช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงคือ กระดานสนทนา และเว็บบล็อก วิธีการนำเสนอโครงงานที่เหมาะสมที่สุดคือ การนำเสนอบนเว็บ และหน้า ชั้นเรียน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการสร้างค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ 3-4 สัปดาห์ วิธีการที่ เหมาะสมในการทำให้นักเรียนเกิดแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปสู่การทำโครงงานได้คือ การตั้งคำถาม ในบทเรียน และวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการสอนเนื้อหาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ สอนเนื้อหาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างการสอนเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ 3. ผลการทดลองรูปแบบพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 20 ขั้นตอน; ขั้นเตรียมก่อนการเรียนการสอน (ในชั้นเรียน) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การปฐมนิเทศนักเรียน 2) การวัดค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) การอธิบายวัตถุประสงค์ของบทเรียน ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย 14 ขั้นตอนคือ 4) การกระตุ้นหรือเร้าให้นักเรียน เกิดความสนใจเกี่ยวกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียน 5) การทบทวนความรู้เดิมแก่นักเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน 6) การนำเสนอบทเรียน 7) การให้ความรู้เกี่ยวกับค่านิยม 8) การเตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงงาน 9) การชี้แนวทางการเรียนรู้ 10) การสร้างศรัทธาเกี่ยวกับค่านิยมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียน 11) การวางแผนการทำโครงงานบนเว็บ 12) การส่งเสริมการปฏิบัติตามค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียน 13) การดำเนินโครงงาน 14) การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน 15) การสรุปและอภิปรายผลโครงงาน 16) การให้ผลย้อนกลับ และ 17) การเขียนรายงาน ขั้น ประเมินผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 18) การทดสอบความรู้ 19) การวัดค่านิยมด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และ 20) การประเมินผลโครงงานของผู้เรียน
Other Abstract: The specific purposes of this research were: 1) to study the opinions of science teachers and grade ten students about web-based instruction, the project-based learning and the development of the value of self-immunity 2) to study the opinions of the experts concerning web-based instructional model using project-based learning on science subject to develop the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy for grade ten students 3) to study the implementation of web-based instructional model and 4) to propose web-based instructional model using project-based learning on science subject to develop the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy for grade ten students. The samples of this research consisted of 1) 400 grade ten students who studied in the second semester of the 2007 academic year in 90 schools under the Office of The Basic Education Commission, 323 science teachers and 12 experts specialize in the web-based instructional design, the project-based learning, and the development of the value and self-immunity in sufficiency economy philosophy and 2) 39 grade ten students at Chulalongkorn University Demonstration Secondary School who studied biology subject in the first semester of the 2008 academic year. The research findings revealed that : 1. The science teachers agreed that a tool for knowledge sharing is web board, an e-mail is the most appropriate tool for submitting assignment, a project-based format on web should be a survey project, teacher and students should plan a project together on web, to develop the value and self-immunity in the sufficiency economy philosophy should spend 3-4 weeks. The grade ten students agreed that chat room is an appropriate tool for knowledge sharing and an e-mail is appropriate for submitting assignment. 2. The experts agreed that a chat room, a web board and an e-mail are the most appropriate tools for communication, a blog should be used for submitting assignment, a web board and a blog are the most appropriate tool for learning about sufficiency economy philosophy, a project presentation should be on web and in the classroom; to develop the value and self-immunity in the sufficiency economy philosophy should spend 3-4 weeks, questioning during lesson presentation helps students learn about the value and self-immunity; and to present the value and self-immunity content together with science content is the most appropriate method. 3. It was found that the students who learned from the web-based instructional model using a project-based learning were statistically significant level at .05 value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy post-test scores higher than pre-test scores. 4. A web-based instructional model using project-based learning on science subject to develop the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy for grade ten students consists of 20 steps; three steps for lesson preparation: 1) the unit orientation 2) pre-test on the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy 3) inform objectives; 14 steps for learning and teaching activities: 4) motivate learner attention with the lesson 5) recall prior knowledge 6) present content 7) present the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy 8) preliminary plan to start the project 9) provide guidance 10) develop the faith of the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy 11) plan a group project 12) enchance practical exercise based on the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy 13) conduct a project 14) participate in learning 15) a project summary and discussion 16) provide feed back 17) write a project report; and three steps for evaluation: 18) post test on science content 19) post-test on the value of self-immunity in the sufficiency economy philosophy and 20) evaluate a project.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35790
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1270
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1270
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vilailux_ch.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.