Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35962
Title: Sexual perception and attitude of young urbanized Myanmar people consuming internet pornography and social networking channels
Other Titles: การรับรู้และเจตคติเกี่ยวกับเรื่องทางเพศของชาวเมืองวัยหนุ่มสาวในประเทศเมียนมาร์ผู้บริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ตและช่องทางระบบเครือข่ายทางสังคม
Authors: Aung Hein
Advisors: Prathurng Hongsranagon
Other author: Chulalongkorn University, College of Public Health Sciences
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: Adolescence -- Burma -- Sexual behavior
Online social networks
Internet and teenagers -- Burma
วัยรุ่น -- พม่า -- พฤติกรรมทางเพศ
เครือข่ายสังคมออนไลน์
อินเตอร์เน็ตกับวัยรุ่น -- พม่า
สื่อลามกอนาจาร
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: To examine the association between consuming internet pornography and sexual attitude and perception of young urbanized Myanmar people from MMTCP facebook group. The cross sectional study was conducted from 23 February to 15 March, 2013. The systematic sampling method was applied in 312 respondents for quantitative research. The data was collected through online structured survey system by using SurveyMonkey. The data were clarified by applying descriptive statistics for interpretation of data and inferential statistic to exmine the association between independent variables and sexual attitude and perception scale by using Chi-square, T- test and ANOVA test. The result showed that the prevalence of sex related chat on social network was 27.2% among 283 respondents. There were 69 male and 8 female in this 27.2%. The prevalence of pornographic related pages on social networking channels was 87.3% .97.6% of male respondents and 58.7% of female respondents being exposed to these pages. The current prevalence of internet pornography among respondents was 83.7%. 97.6% of male respondents and 72% of female respondents being exposed to internet pornography. There were significant associations between sex related chat on social network, consuming pornographic pages on social network and consuming internet pornography with level of sexual attitude and perception at the p-value less than 0.05. The result showed that there was significant difference of sexual attitude and perception of respondents by gender by mean of independent samples test. Practice level toward internet pornography was significantly associated with gender (p=0.00), marital status (p=0.39) and monthly average income (p=0.003) at p-values less than 0.05. But practice level toward internet pornography was not associated with education level, type of job and living place of respondents. Findings from this study pointed out that sex related online chat, consuming pornographic pages on social networks and consuming internet pornography had significantly associated with sexual attitude and perception of respondents and these associations should be considered as one of the factors that lead young people toward risky sexual behavior and practice. So comprehensive sex education program should be implemented among young people to overcome negative impact of internet pornography on young people. Updated health information in local languages should be available and accessible on the internet by young people.
Other Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ตและ เจตคติและการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทางเพศของชาวเมืองวัยหนุ่มสาวในประเทศเมียนมาร์จากกลุ่ม MMTCP เฟสบุ๊ค การศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้ดำเนินการระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ถึง 15 มีนาคม ปี 2556 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบกับกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยจำนวน 312 รายในการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ด้วยการสำรวจแบบมีโครงสร้าง SurveyMonkey สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและเจตคติและการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทางเพศด้วยการใช้สถิติไคสแควร์ การทดสอบ T- test และการทดสอบ ANOVA test ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของการคุยเล่นเรื่องทางเพศในระบบเครือข่ายทางสังคมอยู่ที่ร้อยละ 27.2 จากกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยจำนวน 283 ราย โดยแบ่งออกเป็นชายจำนวน 69 รายและหญิงจำนวน 8 ราย ความชุกของหน้าที่เข้าเยี่ยมชมซึ่งเป็นภาพโป๊เปลือยในช่องทางระบบเครือข่ายทางสังคมอยู่ที่ร้อยละ 87.3 โดยร้อยละ 97.6 เป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัยเพศชายและร้อยละ 58.7 เป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัยเพศหญิง ความชุกในปัจจุบันของการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ตของกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัยอยู่ที่ร้อยละ 87.3 โดยร้อยละ 97.6 เป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัยเพศชายและร้อยละ 72.0 เป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัยเพศหญิง พบความสัมพันธ์ด้วยค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ระหว่างการคุยเล่นเรื่องทางเพศในระบบเครือข่ายทางสังคม หน้าที่เข้าเยี่ยมชมซึ่งเป็นภาพโป๊เปลือยในช่องทางระบบเครือข่ายทางสังคม และการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ต กับระดับของเจตคติและการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีความแตกต่างระหว่างเจตคติและการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทางเพศของกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัยตามเพศด้วยค่าเฉลี่ยของการทดสอบ independent samples test ระดับการปฏิบัติของการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์ด้วยค่า p-value น้อยกว่า 0.05 กับเพศ (p=0.00) สถานภาพการสมรส (p=0.39) และรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน (p=0.003) หากแต่ระดับการปฏิบัติของการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ตไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา อาชีพการงาน และสถานที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัย ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การคุยเล่นเรื่องทางเพศในระบบออนไลน์ การบริโภคหน้าที่เข้าเยี่ยมชมซึ่งเป็นภาพโป๊เปลือยในช่องทางระบบเครือข่ายทางสังคม และการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับเจตคติและการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทางเพศของกลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัย และความสัมพันธ์เหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาว่า เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งนำพาให้คนวัยหนุ่มสาวเข้าสู่พฤติกรรมและการปฏิบัติทางเพศซึ่งมีความเสี่ยง ดังนั้น ควรจัดให้มีโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างรอบด้านให้แก่คนวัยหนุ่มสาวเหล่านี้ เพื่อให้รอดพ้นจากผลกระทบเชิงลบของการบริโภคสื่อภาพโป๊เปลือยในอินเทอร์เน็ต ทั้งยังควรทำให้ข้อมูลด้านสุขภาพมีความทันสมัยด้วยการใช้ภาษาท้องถิ่นและนำเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนวัยหนุ่มสาวอ่าน
Description: Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35962
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.806
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.806
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aung_he.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.