Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36158
Title: กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย
Other Titles: Strategies for developing transformational leadership of mid-level school administrators under The Sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand
Authors: กมลวรรณ เภกะนันทน์
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร, ประเทศไทย
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้บริหารโรงเรียน -- การฝึกอบรม
The Sisters of Saint Paul de Chartres, Thailand
Educational leadership
Transformational leadership
School administrators -- Training of
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย และพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางฯ มีวิธีดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย จำนวน 21 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการ ผู้บริหารระดับกลางและครู จำนวน 313 คน คิดเป็นร้อยละ 90.72 และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินและตรวจสอบร่างกลยุทธ์ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบประเมินและแบบตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์ฯ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI[subscript modified] ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารระดับกลางฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.00, ค่าเฉลี่ย = 4.08) สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯและการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯของผู้บริหารระดับกลางฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.69,ค่าเฉลี่ย = 4.71) โดยด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย= 4.10, ค่าเฉลี่ย = 4.74) ด้านการกระตุ้นทางปัญญาของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ และด้านการสร้างแรงบันดาลใจของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 0.16 ( PNI[subscript modified] = 0.16) เมื่อพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน พบว่า โดยภาพรวม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯตามจิตตารมณ์การศึกษาของคณะฯ ทั้ง 4 เรื่องเป็นจุดอ่อน มีค่าความต้องการจำเป็นตามลำดับดังนี้ 1) ปรัชญาการศึกษา ( PNI[subscript modified] = 0.19) 2) นโยบายทางการศึกษา ( PNI[subscript modified] = 0.18) 3) วัตถุประสงค์การจัดการศึกษา ( PNI[subscript modified] = 0.17) และ 4) สัมฤทธิผลที่มุ่งหวัง ( PNI[subscript modified] = 0.17) และเมื่อพิจารณา โอกาส ภาวะคุกคาม พบว่า โดยภาพรวม การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ ตามจิตตารมณ์ของคณะฯ เป็นโอกาส มีค่าเฉลี่ยเท่ากันทั้ง 4 ด้านคือ 0.15 ( PNI[subscript modified] = 0.15) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนในเครือฯ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์กระตุ้นทางปัญญา 2)กลยุทธ์เพิ่มคุณค่าในตนเอง 3) กลยุทธ์สร้างแรงบันดาลใจ และ 4) กลยุทธ์พัฒนาผู้นำที่มีอุดมการณ์ และมี16 กลยุทธ์รอง 32 วิธีดำเนินการ
Other Abstract: The purpose of this descriptive research is 1) to study the current and expected states and to develop the transformational leadership of mid-level administrators ; 2) to develop the strategies for developing the transformational leadership of mid-level administrators under The Sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand. The research methodology consists of nine steps. The data were gathered from 313 school’s mid-level administrators (90.72%) in 21 schools under The Sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand. Educated experts evaluated and examined the strategies’ draft manuscript. The instruments are questionnaires, evaluations, and the strategies draft’s model validations. The mean, standard deviation (S.D.) and PNI[subscript modified] are used in the data’s analysis. The research’s result were: The average of current states and the development of transformational leadership of mid-level administrators under the sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand are in the great level (mean = 4.00, mean = 4.08) . The average of expected states and the development of transformational leadership of mid-level administrators are in the greatest level (mean = 4.69, mean = 4.71) and the greatest average was in Idealized Influence (mean = 4.10, mean = 4.74) .The average of the transformational leadership’s Intellectual Stimulation and the development of transformational leadership’s Inspiration Motivation were at the least. The demand and necessity’s index was (PNI[subscript modified] = 0.16) The research’s result about the strength and the weakness of the transformational leadership of mid-level administrators under the Sisters of Saint Paul de Chartres’s spirit were found that all of four titles were in the weakness point as follow: 1) The Educational Philosophy (0.19) 2) The Educational Policy (0.18) 3) The Educational Objectives (0.17) and 4) The Expected Achievement (0.17). The result of the threat and the opportunity of the transformational leadership of mid-level administrators under the Sisters of Saint Paul de Chartres’s spirit were found in the opportunity point four titles (PNI[subscript modified] = 0.15). The strategies for developing the transformational leadership of mid-level administrators under The Sisters of Saint Paul de Chartres in Thailand consists of four main strategies : Idealized Influence , Inspiration Motivation , Intellectual Stimulation and Individual Consideration with sixteen vice strategies , and thirty – two procedures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36158
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1571
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1571
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kamolwan_bh.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.