Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36275
Title: | กระบวนการและปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : การศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ |
Other Titles: | Processes and critical success factors of the knowledge management of schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok and vicinity : a qualitative and quantitative study |
Authors: | จารุวรรณ ฤทธิเพชร |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การบริหารองค์ความรู้ ความสำเร็จ Knowledge management Success |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษากระบวนการจัดการความรู้และปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้การศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ ส่วนที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้และปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของโรงเรียนกรณีศึกษา มีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการศึกษาเอกสารแบบสังเกตสภาพโรงเรียน แบบสังเกตกิจกรรมการจัดการความรู้ และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและครู วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนที่ 2 การศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 330 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่ม แบบแบ่งชั้น มีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคในการวัดตัวแปรสังเกตได้ ตั้งแต่ 0.791 - 0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียน มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอนย่อย คือ 1) โรงเรียนจัดประชุมผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อวางแผนงานการทำงาน 2) โรงเรียนจัดประชุมครูทั้งโรงเรียนเพื่อ กำหนดวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ของโรงเรียนร่วมกัน 3) กลุ่มสาระการเรียนรู้จัดประชุมเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ของ กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ของโรงเรียน 4) กลุ่มสาระการเรียนรู้นำเสนอโครงการและแนวทางในการนำ การจัดการความรู้ไปพัฒนาการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาความรู้ มี 3 ขั้นตอนย่อย คือ 1) โรงเรียนสนับสนุนให้ครูมีการ แสวงหาความรู้ 2) โรงเรียนจัดเตรียมเทคโนโลยีและแหล่งความรู้สำหรับการแสวงหาความรู้ 3) ครูมีการแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ ต่างๆ อย่างอิสระ ขั้นตอนที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอนย่อย คือ 1) โรงเรียนสนับสนุนให้ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) โรงเรียน จัดเตรียมเทคโนโลยีและสถานที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ขั้นตอน ที่ 4 การสร้างความรู้ มี 4 ขั้นตอนย่อย คือ 1) โรงเรียนสนับสนุนให้ครูสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 2) ครูนำความรู้จาก ประสบการณ์เดิมผนวกกับความรู้ใหม่เพื่อสร้างนวัตกรรม 3) ครูนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอน 4) ครูพัฒนา นวัตกรรมให้มีความสมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 5 การจัดเก็บความรู้ มี 5 ขั้นตอนย่อย คือ 1) โรงเรียนสนับสนุนให้ครูจัดเก็บความรู้ในรูปแบบของ บล็อก 2) โรงเรียนจัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บความรู้ในรูปของบล็อกแก่ครูในโรงเรียน 3) โรงเรียนจัดเตรียม เทคโนโลยีและสถานที่สำหรับการจัดเก็บความรู้ 4) ครูนำความรู้ไปจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ 5) โรงเรียนมีการติดตามและประเมินผลการ จัดเก็บความรู้ ขั้นตอนที่ 6 การใช้ประโยชน์จากความรู้ มี 4 ขั้นตอนย่อย คือ 1) โรงเรียนสนับสนุนให้ครูใช้ประโยชน์จากความรู้ในการ จัดการเรียนการสอน 2) ครูนำความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 3) ครูปรับปรุงความรู้และ นวัตกรรมอยู่เสมอ 4) ครูนำความรู้และนวัตกรรมไปเผยแพร่/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/จัดเก็บ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการ จัดการความรู้ของโรงเรียน ได้แก่ การสนับสนุนของผู้บริหาร ความเข้มแข็งของทีมงานการจัดการความรู้ การมีสิ่งกระตุ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจ การ ช่วยเหลือของหน่วยงานภายนอก การวางแผนงานและกิจกรรมการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงเรียนมีบรรยากาศและสถานที่ เอื้อต่อการจัดการความรู้ และมีงบประมาณที่เพียงพอ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จของการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=26.32, df=65, p = 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.97) โดยตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียน และตัวแปรการติดตามและประเมินผลการจัดการความรู้ของโรงเรียนมีอิทธิพลรวมสูงสุด ต่อการจัดการความรู้ของโรงเรียน ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จของการจัดการความรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ร้อยละ 88 |
Other Abstract: | To study processes and critical success factors of knowledge management of school under the office of the basic education commission in Bangkok and vicinity by a qualitative and quantitative study. A qualitative study was to study process and critical success factors of knowledge management of case study. The key informants consisted of executives and teachers. The data collected by document analysis, interview and observation. The research equipments are the document study form, the school observation form, the activities observation form, the executive and teacher interview form. The research data in this stage were analyzed by employing content analysis. A quantitative study was to study critical success factors of knowledge management of school. The research samples consisted of 330 schools in Bangkok and vicinity using stratified random sampling. The participants are executives and teachers. The data collected by using questionnaires that had Cronbach's alpha reliability coefficient for observe variables in the range 0.791- 0.982. The research data in this stage were analyzed by employing descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient and LISREL model analysis. The results of the study revealed that: 1. Knowledge management processes of school comprises of 6 main steps. Step1: Knowledge identification with 4 substeps. 1) The school holds conference among executives and head of subject groups in order plan working. 2) The school holds conference among all teachers in order to determine knowledge vision of school. 3) Each subject group holds meeting for determining the details of knowledge vision of school. 4) Each subject group action to shows project and implementation of knowledge management approach to develop teaching. Step2: Knowledge acquisition with 3 substeps. 1) The school supports teachers to acquire knowledge. 2) The school arranges technology and knowledge sources for knowledge acquisition. 3) Teachers are independent to seek knowledge from various sources. Step3: Knowledge sharing with 3 substeps. 1) The school supports teachers to share their knowledge. 2) The school arranges technology and places for sharing their knowledge. 3) Teachers share their knowledge both formally and informally. Step4: Knowledge creation with 5 substeps. 1) The school supports teachers to create innovation for developing their teaching. 2) The teachers search for and share the knowledge. 3) Teachers add their old experience with the their new knowledge to produce innovation. 4) Teachers use their innovation to try when they teach their students. 5) Teachers improve their innovation to be complete. Step5: Knowledge storage with 5 substeps. 1) The school supports teachers to store the knowledge in form of blog. 2) The school holds the conference among all teachers in order to demonstrate about knowledge storage in form of blog. 3) The school arranged technology and places for storing knowledge. 4) The teachers store knowledge in various methods. 5) The schools monitor and evaluate the result. Step6: Knowledge utilization with 5 substeps. 1) The school encourage teacher to utilize the knowledge in teaching. 2) Teachers use their knowledge and innovation to develop their teaching. 3) Teachers always keep knowledge and innovation 4) Teachers distribute the knowledge innovation/share knowledge/ knowledge storage. Furthermore, there are critical success factors of knowledge management which as following: the executive supports, the strength of knowledge management team, the stimulation for encouraging, the help from external organizations, the good plan and activities for knowledge management, knowledge sharing, appropriate environment and places of school and adequate budget. 2. The results from the success of knowledge management of school under the office of the basic education commission in Bangkok and vicinity model was found that model was fit with empirical data (χ 2=26.32, df=65, p = 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.97). The factors of school culture and monitoring and the evaluation of knowledge management of school had the highest total effects to the success of knowledge management of school. The variables in model accounted for 88% of variance in the success of knowledge management of school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36275 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.42 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.42 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jaruwan_ri.pdf | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.