Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3636
Title: | การพัฒนาอาหารเช้าพร้อมบริโภคอัดแท่งจากธัญพืช |
Other Titles: | Development of breakfast cereal bar |
Authors: | รัชดา สาดตระกูลวัฒนา |
Advisors: | รมณี สงวนดีกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] |
Subjects: | ธัญพืช อาหารเช้า |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตอาหารเช้าพร้อมบริโภคอัดแท่งจากธัญพืช ในขั้นตอนแรกศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการอบจมูกข้าวสาลี (wheat germ) โดยใช้ fluidized bed dryer ที่อุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 80, 100 และ 120 ํC และใช้เวลา 5, 10 และ 15 นาที พบว่าใช้อุณหภูมิ 100 ํC และเวลา 15 นาที จะให้ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยอมรับมากที่สุดและมีการทำลายเอนไซม์ peroxidase ไปบางส่วน จากนั้นศึกษาภาวะที่ใช้ในการเตรียมปลายข้าวเหนียวพองโดยแปรเวลาที่ใช้ในการให้ความร้อนด้วยไอน้ำนาน 5, 10 และ 15 นาที พบว่าการให้ความร้อนด้วยไอน้ำนาน 10 นาที จะให้ปลายข้าวเหนียวพองที่มีปริมาตรการพองตัวและอัตราส่วนการพองตัวสูงที่สุด จากนั้นปรับให้ปลายข้าวเหนียวพองมีความชื้นก่อนทอด 12 14 และ 16% แล้วนำไปวัดค่าปริมาตรการพองตัวและอัตราส่วนการพองตัว พบว่าปลายข้าวเหนียวที่มีความชื้น 14% จะให้ปริมาตรการพองตัวและอัตราส่วนการพองตัวสูงที่สุด ต่อมาศึกษาอุณหภูมิในการทอดปลายข้าวพองโดยแปรอุณหภูมิเป็น 170, 180 และ 190 ํC พบว่าที่อุณหภูมิการทอดเป็น 190 ํC จะให้ปลายข้าวเหนียวพองที่มีการพองตัวสูงที่สุด สำหรับถั่วลิสงคั่วโดยใช้เครื่องคั่วที่ 160 ํC นาน 10 นาที นำวัตถุดิบที่ผ่านการเตรียมแล้วไปหาองค์ประกอบทางเคมีโดยจมูกข้าวสาลีมีปริมาณโปรตีน 28.3% ไขมัน 15.8% เส้นใย 1.6% เถ้า 4.3% และคาร์โบไฮเดรต 50.0% ปลายข้าวเหนียวพองปริมาณโปรตีน 3.5% ไขมัน 22.2% เส้นใย 0.1% เถ้า 0.2% และคาร์โบไฮเดรต 74% และถั่วลิสงคั่วมีปริมาณ โปรตีน 28.6% ไขมัน 47.0% เส้นใย 2.1% เถ้า 2.5% และคาร์โบไฮเดรต 15.4% จากการคำนวณพบว่าจะต้องใช้สัดส่วนของจมูกข้าวสาลีต่อปลายข้าวเหนียวพองต่อถั่วลิสงคั่วเป็น 20:40:40 ต่อมาศึกษาสัดส่วนของมอลโตสไซรัปต่อน้ำผึ้งที่ใช้ โดยใช้ปริมาณของแข็งเป็น 100 ต่อของผสมที่เป็นสารเชื่อม 30 กรัม แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 มีสัดส่วนมอลโตสไซรัปต่อน้ำผึ้งเป็น 20:6, 20:10 และ 20:14 ชุดที่ 2 40:6, 40:10 และ 40:14 และชุดที่ 3 60:6, 60:10 และ 60:14 (w/w) พบว่า สูตรที่ผู้บริโภคให้การยอมรับสูงสุดในแต่ละชุดคือ สูตรที่ใช้ปริมาณมอลโตสไซรัปต่อน้ำผึ้งเป็น 20:14, 40:10 และ 60:10 และค่าความแข็งเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณน้ำผึ้งเพิ่มขึ้น จากนั้นนำผลิตภัณฑ์แต่ละสูตรมาแปรแรงกดที่ให้กับผลิตภัณฑ์เป็น 1, 3 และ 5 กิโลกรัมต่อ 144 ตารางเซนติเมตร พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคะแนนความชอบสูงที่สุดในทุกสูตรคือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแรงกด 3 กิโลกรัมต่อ 144 ตารางเซนติเมตร และค่าความแข็งเพิ่มขึ้นเมื่อใช้แรงกดมากขึ้น นำผลิตภัณฑ์ทั้งสามสูตรมาทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อหาสูตรที่ผู้บริโภคชอบมากที่สุด ได้แก่ สูตรที่ใช้ ปริมาณมอลโตสไซรัปต่อน้ำผึ้งเป็น 20:14 และแรงกดที่ใช้กับผลิตภัณฑ์เป็น 3 กิโลกรัมต่อ 144 ตารางเซนติเมตร เมื่อนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่ามีปริมาณโปรตีนร้อยละ 17.8 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 46.5 ไขมันร้อยละ 27.3 และปริมาณเส้นใยร้อยละ 6.7 ผลิตภัณฑ์สุดท้ายนำมาศึกษาคุณภาพระหว่างเก็บโดยบรรจุผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุ 2 ชนิด คือ OPP/Metallised/PP และ OPP/Metallized/PET ตรวจสอบทางประสาทสัมผัส ค่าTBA ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด และปริมาณยีสต์และรา ตรวจสอบทุกๆ 7 วัน เก็บผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 30 ํC พบว่าผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บนาน 30 วันเมื่อเก็บในภาชนะบรรจุชนิดที่ 1 และ ผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บนาน 64 วัน เมื่อเก็บในภาชนะบรรจุชนิดที่ 2 |
Other Abstract: | The objective of this research was to develop breakfast cereal bar. Initially, wheat germ was roasted in the fluidized bed dryer at the temperature of 80, 100 and 120 ํC for 5, 10 and 15 minutes. Sensory evaluation showed that heating at 100 ํC for 10 minutes was the most acceptable condition with low peroxidase activity left. The wheat germ at this condition consisted of 28.3% protein, 15.8%fat, 1.6%fiber, 4.3%ash and 50.0%carbohydrate. Broken waxy-rice was steamed for 5, 10 and 15 minutes. Steaming for 10 minutes gave the highest expansion volume and expansion ratio. Moisture content before puffing (12, 14 and 16%) was studied. Broken waxy-rice at the moisture content of 14% gave the highest expansion volume and expansion ratio. Puffing temperature was investigated. Puffed rice at 190 ํC had the highest expansion volume and expansion ratio. This puffed rice consisted of 3.5%protein, 22.2%fat, 0.1%fiber, 0.2%ash and 74%carbohydrate. Roasted peanut consisted of 28.6% protein, 47%fat, 2.1%fiber, 2.5%ash and 15.4%carbohydrate. The ratio of wheat germ, broken waxy-rice and peanut (dry raw materials) was 20:40:40. Beside that the ratios of maltose syrup to honey which used as the binder in the product (dry raw materials:binder = 100:30) were investigated in 3 sets of experiments. Firstly, the ratio of maltose syrup to honey was 20:6, 20:10 and 20:14. Secondly, the ratio was 40:6, 40:10 and 40:14. Thirdly, the ratio was 60:6, 60:10 and 60:14. The formulae with the highest sensory score from each set were 20:14, 40:10 and 60:10. The pressed weight to form cereal bar was determined. The weight of 3 kg/144 cm2 gave the best result. The products from all three conditions were ranked. The product with the ratio of maltose syrup to honey of 20:14 and pressed weight of 3 kg/144 cm2 was selected. The final product composed of 17.8%protein, 27.3%fat, 6.7%fiber and 46.5%carbohydrate. The shelf life of the product in OPP/metallized/PP and OPP/metallized/PET bag at room temperature was 30 days and 64 days, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3636 |
ISBN: | 9743338012 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rachada.pdf | 5.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.