Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36412
Title: | การกำจัดสารเอ็นโดซัลแฟนในดินโดยใช้นาโนโพลิเมอร์ชนิดแอมฟิฟิลิกโพลียูริเธน |
Other Titles: | Removal of endosulfans in soil using amphiphilic polyurethane nanopolymer |
Authors: | เชาว์วุฒิ สิงห์แก้ว |
Advisors: | เบญจลักษณ์ กาญจนเศรษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การกำจัดสารปนเปื้อนในดิน เอ็นโดซัลแฟน นาโนโพลิเมอร์ Soil remediation Endosulfans Nanopolymer |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการศึกษานี้ทำการสังเคราะห์นาโนโพลิเมอร์ชนิดแอมฟิฟิลิกโพลียูริเธน เพื่อใช้กำจัดสารเอ็นโดซัลแฟน (ชนิดแอลฟา เบตา และซัลเฟต) จากดิน นาโนโพลีเมอร์ที่ได้ มีสมบัติชอบน้ำที่บริเวณผิวด้านนอกและไม่ชอบน้ำที่ผิวด้านในโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 - 130 นาโนเมตร ทำให้สามารถดูดซับสารประกอบอินทรีย์ชนิดชอบไขมันได้รวมทั้งพวกเอ็นโดซัลแฟน นาโนโพลิเมอร์ ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ และเอ็นโดซัลแฟน ที่อยู่ในระบบน้ำ - ดิน ถึงจุดสมดุลที่ 48 ชั่วโมง และเป็นระยะเวลาสัมผัสที่ใช้ตลอดทั้งการศึกษานี้ ความเข้มข้นของนาโนโพลีเมอร์ที่ 10 มิลลิกรัม/ลิตร กำจัดสารได้ดี (90-94%) โดยประสิทธิภาพการกำจัดเรียงตามลำดับดังนี้ เอ็นโดซัลแฟนแอลฟา >เอ็นโดซัลแฟนซัลเฟต > เอ็นโดซัลแฟนเบตา ตามลำดับ ดินที่สไปค์ด้วยเอ็นโดซัลแฟนที่แยกแช่ในนาโนโพลิเมอร์และในน้ำแยกอิออนในคอลัมน์แก้วเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วทำการชะด้วยน้ำแยก อิออน แสดงให้เห็นว่าน้ำแยกอิออนชะพวกเอ็นโดซัลแฟนจากดินในปริมาณต่ำมากตรงกันข้ามกับนาโนโพลิเมอร์ เนื้อดินและปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูงดูดซับสารได้แรงและมีผลให้ยากต่อการกำจัดด้วยนาโนโพลีเมอร์ นั่นคือปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินต่ำชี้ให้เห็นถึงความสามารถที่เอื้อต่อการกำจัดสูง เช่นเดียวกับค่าลอการิทึมของความเข้มข้นของสารระหว่างชั้นออคตานอลกับน้ำ ของสาร (Log K[subscript OW]) ซึ่งให้ผลคล้าย ๆ กัน นอกจากนี้ขนาดของอนุภาคดินก็มีอิทธิพลในการกำจัดสารจากดิน |
Other Abstract: | In this study, amphiphilic nanopolymers were synthesized for removing endosulfans (alpha, beta and sulfate) from soil. The obtained polymers had hydrophilic on outer surface and hydrophobic interior with 50-130 nm diameters which enabled them to sorb some lipophilic organic compounds including endosulfans. The various concentrations of nanopolymer and endosulfan in soil-water system reached equilibrium at 48 h, the contact time used throughout the study. The nanopolymer of 10 mg/L found out to be best for removal (90 - 94%) and the efficiency is in the order of alpha endosulfan > endosulfan sulfate > beta endosulfan respectively. The endosulfans spiked soil in a glass column were soaked separately in 10 mg/L nanopolymer and deionized water for 48 h and later leached with deionized water showed that deionized water capable to leach endosulfans from soil at very low amount in contrary to nanopolymer. The soil texture and its high organic carbons exhibited strong affinity to the compounds and as a consequence made them difficult to be removed by the nanopolymers. That is low organic carbon content in soil indicated its capacity facilitate high removal rate as well as low log K[subscript OW] values of the compounds exhibited similarly. Besides, soil particle size influenced the removal of compounds from soils. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36412 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.62 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.62 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaowoot_si.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.