Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36418
Title: การศึกษารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมการคิดในช่วงเวลาไพร์มไทม์
Other Titles: A study of children television programs enhancing thinking during prime time
Authors: ธนาวัฒน์ วยาจุต
Advisors: วชิราพร อัจฉริยโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
โทรทัศน์กับเด็ก
การรู้คิดในเด็ก
Television programs for children
Television and children
Cognition in children
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กต่อสัปดาห์และปริมาณของการนำเสนอการคิดในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในช่วงเวลาไพร์มไทม์ (prime time) ในระยะเวลา 1 เดือน คือระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม พ.ศ.2550 ผลการวิจัยพบว่า 1. สัดส่วนเวลาออกอากาศของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในช่วงเวลาไพร์มไทม์ต่อสัปดาห์ จากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3,5,7,9,11 และ TITV พบว่าโดยภาพรวม สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มีช่วงเวลาสำหรับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (225 นาที ร้อยละ13.4) รองลงมาคือสถานีโทรทัศน์ช่อง TITV (150 นาที ร้อยละ 8.9) และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 (105 นาที ร้อยละ6.3) เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ สำหรับสถานีโทรทัศน์ที่ไม่มีรายการสำหรับเด็กเลย ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และ 11 (0 นาที ร้อยละ0) 2. การส่งเสริมการคิดในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในช่วงเวลาไพร์มไทม์ประเภทเกมโชว์ พบว่า โดยภาพรวมมีรายการอยู่ 2 รายการ คือ รายการ "เกมทศกัณฐ์เด็ก" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และ รายการ "ถ้าคุณแน่อย่าแพ้ป.4" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 รายการเหล่านี้นำเสนอการคิดแก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับ 1 (จำนวน 782 ครั้ง ร้อยละ30.3) รองลงมาคือการคิดเปรียบเทียบ (จำนวน 515 ครั้ง ร้อยละ 20.0) และการคิดมโนทัศน์ (จำนวน 370 ครั้ง ร้อยละ14.4) เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ ส่วนการคิดที่ไม่ได้นำเสนอเลย ได้แก่ การคิดสังเคราะห์ (จำนวน 0 ครั้ง ร้อยละ 0) 3. การส่งเสริมการคิดในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในช่วงเวลาไพร์มไทม์ประเภทการ์ตูน พบว่า โดยภาพรวมมีรายการอยู่ 6 รายการ คือ รายการ "4 Angies สี่สาวแสนซน เทอม 2" รายการ "12 ราศี" รายการ "เวตาล" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และ รายการ "รามเกียรติ์" รายการ "นาจาศิษย์เจ้าแม่กวนอิม" รายการ "จอมซนมนตรา 2" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 รายการโทรทัศน์เหล่านี้เสนอการคิดสร้างสรรค์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 (จำนวน 615 ครั้ง ร้อยละ 22.2) รองลงมาคือการคิดแก้ปัญหา (จำนวน 593 ครั้ง ร้อยละ21.4) และการคิดเปรียบเทียบ (จำนวน 511 ครั้ง ร้อยละ18.5) เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ สำหรับการคิดที่ไม่ได้นำเสนอเลย ได้แก่ การคิดสังเคราะห์ (จำนวน 0 ครั้ง ร้อยละ 0) 4. การส่งเสริมการคิดในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในช่วงเวลาไพร์มไทม์ประเภทละคร พบว่า มีรายการประเภทนี้ปรากฏในบางช่องเท่านั้น ได้แก่ เรื่อง "นะโมฮีโร่ผู้น่ารัก" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง TITV ได้เสนอการคิดมโนทัศน์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 (จำนวน 289 ครั้ง ร้อยละ 22.0) รองลงมาคือการคิดแก้ปัญหา (จำนวน 253 ครั้ง ร้อยละ 19.2) และการคิดเปรียบเทียบ (จำนวน 225 ครั้ง ร้อยละ 17.1) เป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ สำหรับการคิดที่เสนอน้อยที่สุดคือ การคิดสังเคราะห์ (จำนวน 11 ครั้ง ร้อยละ 0.8)
Other Abstract: The propose of this research are 1) to study the proportion of the children’s television on public television stations broadcasted during prime time period per week ; and 2) to study the amount of thinking-supportive element of such programs. The study was undertaken between November 5 to December 4, 2007. The research result are as follow; 1. With regard to the proportion of the children’s television program during prime time period per week, as analysis of programs broadcasted on channel 3,5,7,9,11 and TITV found that channel 3 provided the highest proportion of air time for children’s television program per week (225 minutes , 13.4 percent), followed by TITV (150 minutes, 8.9 percent) and channel 7 (105 minutes, 6.3 percent) respectively. Channel 5 and 11 were found to provide the lowest proportion of air time for children’s television program per week (0 minute, 0 percent.) 2. With regard to the thinking - supportive element in the children television program during prime time period, game show category, it was found that only two programs, namely ; "Game Tossa kan Dek" on channel 9 and "Tar Khun Nae Ya Pae Por Se" on channel 3, intendedly enhanced children thinking with the problem-solving thinking type being the most frequent (n = 782, 30.3 percent), followed by the comparative thinking type (n = 515, 20.0 percent) and the conceptual thinking type (n = 370 , 14.4 percent) respectively . However ,none of the synthesis thinking type (n = 0 , 0 percent) was found in both programs. 3. . With regard to the thinking - supportive element in the children television program during prime time period, cartoon category, it was found that only six programs, namely ; " 4 Angies See Sao San Son Term Song" "Sib Song Ra see" and "Vatarn" on the channel 3 , "Ram ma kien" "Naja Sit Chaomae Kuan Im" and "Jom Son Montra 2" on channel 7, intendedly enhanced children thinking with the creative thinking type being the most frequent (n = 615, 22.2 percent), followed by the problem-solving thinking type (n = 593, 21.4 percent) and the comparative thinking type (n = 511, 18.5 percent) respectively. However ,none of synthesis thinking type (n = 0, 0 percent) was found in any of the six programs. 4. . With regard to the thinking - supportive element in the children television program during prime time period, drama category, it was found that only one program, namely ; "Namo Hero Poo Narak" on channel TITV , intendedly enhanced children thinking with conceptual thinking type being the most frequent (n = 289 , 22.0 percent), followed by the problem-solving thinking type (n = 253, 19.2 percent) and the comparative thinking type (n = 225, 17.1 percent) respectively. The synthesis thinking type (n = 11, 0.8 percent) was also found in this program.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36418
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.986
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.986
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dhanavat_va.pdf13.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.