Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36505
Title: | การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยผู้ใช้อำนาจปกครอง |
Other Titles: | Management of minor’s property by the parent |
Authors: | บงกชสุดา ทองละไม |
Advisors: | ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน ทรัพย์สิน -- การจัดการ Civil and commercial law Property -- Management |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงหลักกฎหมายในเรื่องการจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลของนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองกระทำไปโดยไม่ได้ขออนุญาตจากศาลตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในมาตรา 1574 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเนื่องมาจากมาตรา 1574 ไม่ได้บัญญัติผลชัดเจนในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ขออนุญาตศาลไว้ ซึ่งทำให้เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยถึงผลไว้เป็นสองแนวทาง คือ ผลเป็น “โมฆะ” และ “ไม่มีผลผูกพัน” ซึ่งมีผลแตกต่างกันในทางกฎหมาย อีกทั้งในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผู้เยาว์มีความเป็นอยู่ที่ดีหรือไม่ แต่กฎหมายกลับไม่มีบทบัญญัติรับรองในการที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะสามารถกระทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์เพื่อประโยชน์ในความเป็นอยู่ที่ดีของตัวผู้เยาว์เอง คือไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ระบุไว้ชัดเจนให้ผู้ใช้อำนาจปกครองทราบได้เลยว่าการใดที่ผู้ใช้อำนาจปกครองสามารถกระทำได้ และหากได้ทำการขออนุญาตจากศาลแล้วศาลจะให้การอนุญาต แต่กฎหมายเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้อย่างเต็มที่ ทั้งที่มาตรา 1574 เป็นการจำกัดอำนาจในการจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยผู้ใช้อำนาจปกครองถูกจำกัดอำนาจอย่างมาก ทำให้บทบัญญัติกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ดังนั้น การศึกษาวิจัยเรื่องนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงเรื่องดังกล่าว โดยนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายในเรื่องการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยผู้ใช้อำนาจปกครองของสาธารณรัฐแคนาดา รัฐควิเบก สหพันธรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะสาธารณรัฐแคนาดา รัฐควิเบก และสหพันธรัฐเยอรมนี อันมีบทบัญญัติผลของนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองกระทำไปโดยไม่ได้ขออนุญาตจากศาลไว้อย่างชัดเจน และสาธารณรัฐแคนาดา รัฐควิเบก ที่มีบทบัญญัติให้นิติกรรมที่กระทำเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เยาว์หากผู้ใช้อำนาจปกครองร้องขอต่อศาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ใช้อำนาจปกครองจะได้รับการอนุญาตให้กระทำนิติกรรมนั้นได้ จากการศึกษา เห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าว โดยให้เพิ่มบทบัญญัติที่ศาลต้องคำนึงถึงในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เยาว์และเพิ่มผลของนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ผู้ใช้อำนาจปกครองกระทำไปโดยไม่ได้ขออนุญาตจากศาลให้เป็น |
Other Abstract: | This thesis aims to study the legal principle of the Civil law, the section 1574 in the minor’s property managing by the parent and the result of the parent has made to the minor’s property without asking permission by the court. Due to the section 1574 of the Civil law, it does not indicate clearly on the parent performed on the minor’s property unless the court order and the judgement of the case came out into two categories; “ nullity ” and “ ineffective ”. From this happened, it‘s clearly seen that it based on the court’s determination. As the solution, it’s made much differences on the minor’s interests or satisfactions. Under the Principle of the section 1574, hasn’t imposed the role of the parent to administration on the minor’s property clearly and also the resolution of unauthorized Acts is depended on the court. However, we have explained that the text over a custody case on the proper capacity to parent with regard to the administration of the minor’ s property is inappropriated and inadequate. This study was therefore aimed to analyze and compare to the laws of Quebec Canada Federal Republic of Germany and Japan on the minor in the subject of property management by the governing authority. From the investigation found that particularly Quebec Canada and the Federal Republic of Germany, the violation of a provision allowing a court to act on the minor's property by governing authority clearly. In conclusion of the study, to bring about a better result , protect the rights of a minor and also their benefit on their property. Mending over the law, section 1574, jurisdiction to modify on the management of the minor’s property by authorized from the court and the parent or custody and the parties involved clearly on their violating and performing, it must be required. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36505 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1508 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1508 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
bongkodsuda_to.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.