Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36597
Title: | การประเมินคอนกรีตที่เสียหายจากเพลิงไหม้ |
Other Titles: | Assessment of fire-damaged concrete |
Authors: | ทศวัฒน์ ดวงวิไลลักษณ์ |
Advisors: | วิทิต ปานสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | คอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก Reinforced concrete Reinforced concrete structure |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจะเสื่อมสภาพเมื่อถูกเพลิงไหม้หากจะนำโครงสร้างดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่ การซ่อมแซมอาจเป็นตัวเลือกที่ดีในแง่ของค่าใช้จ่ายและเวลา แต่ทั้งนี้การซ่อมแซมจะกระทำที่ผิวซึ่งความเสียหายจากเพลิงไหม้ก็จะเกิดขึ้นที่ผิวเช่นกัน โดยอุณหภูมิแต่ละระดับจะทำให้เกิดความเสียหายที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงระดับความเสียหายที่ผิวดังกล่าวก่อน จึงจะหาวิธีการซ่อมแซมผิวหน้าที่เหมาะสมกับความเสียหายนั้นๆ ได้ เช่นนั้นแล้วจุดประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือการศึกษาเพื่อตรวจสอบและจำแนกระดับความเสียหายขององค์อาคารที่เกิดเพลิงไหม้ โดยจะมีดัชนีชี้วัดคือการทดสอบแบบไม่ทำลายและแบบกึ่งทำลาย ในงานวิจัยจะใช้ชิ้นตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งถูกเผาไฟเพียงด้านเดียวที่ระยะเวลา 30, 60, 90 และ 120 นาที ตามมาตรฐาน ASTM E119 แล้วจึงตรวจสอบสภาพความเสียหาย โดยใช้การทดสอบ 2 วิธีได้แก่ การทดสอบแบบไม่ทำลายประกอบด้วย การตรวจสอบด้วยสายตา ผลที่ได้คือความเสียหายของชิ้นตัวอย่างจะรุนแรงขึ้น และสีจะเปลี่ยนชัดเจนขึ้นเมื่อถูกเผาไปเป็นระยะเวลานานขึ้น การทดสอบด้วยคลื่นอัลตราโซนิคเพื่อหาระดับความลึกที่เสียหายซึ่งจะตรวจวัดและคำนวณความเสียหายได้ตั้งแต่ปานกลางจนถึงมาก และการทดสอบแบบกึ่งทำลายประกอบด้วย วิธีค้อนกระแทก ซึ่งผลการทดสอบพบว่ายิ่งระยะเวลาถูกเผาไฟนานขึ้นค่าการสะท้อนจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ การเจาะทดสอบเพื่อดูความสมบูรณ์ของชิ้นตัวอย่างและระดับความลึกของของสีที่เปลี่ยนไป ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลของวิธีคลื่นอัลตราโซนิคแล้วจะมีค่าที่มากกว่า และการดึงทดสอบ ซึ่งพบว่าแรงยึดเหนี่ยวของคอนกรีตมีแนวโน้มที่ลดลงตามระยะเวลาที่เผาไฟ เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ร่วมกันจะสามารถสร้างเป็นตารางสำหรับจำแนกระดับความเสียหายของคอนกรีตเสริมเหล็กและสามารถทำนายความลึกของของผิวที่มีกำลังดึงทดสอบที่ยอมให้สำหรับการซ่อมแซมได้ |
Other Abstract: | Reinforced concrete structure after fire cannot be effectively used as it was. Repairing may be a better solution in terms of budget and time. However, repairing do on the surface concrete which is fire damaged. The degree of damage varied on temperature. Therefore, it is necessary to know the degree of damage of surface before use the suitable repair. The research study is to determine the degree of fire damaged concrete. It is an indicator of non-destructive testing and partially destructive testing. Concrete specimens are only one side of the fire in time 30, 60, 90 and 120 minutes according to ASTM E119. Non-destructive testing used to investigation. Visual inspection, concrete is severely damaged and color will change in fire a long time. Ultrasonic pules velocity test, measure and calculate depth of damage since moderate to severe damage of specimen. Partially destructive testing used to investigation. Schmidt hammer, rebound number decrease when time increase. Core testing for integrity of the samples and depth of color changes. When compared with the results of ultrasonic pulse velocity test will be over. Pull off test, trend of bond strength of concrete are decrease with time. The data were analyzed to create class of damage of reinforced concrete and predict the depth of damage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36597 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1522 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1522 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
totsawat_da.pdf | 17.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.