Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36751
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาชัญญา รัตนอุบล | - |
dc.contributor.advisor | พรรณี บุญประกอบ | - |
dc.contributor.author | พงศ์รัชต์ธวัช วิวังสู | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-11-29T04:35:29Z | - |
dc.date.available | 2013-11-29T04:35:29Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36751 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองสำหรับการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองสำหรับการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) โดยผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในสำหรับการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา (4-P Model: The 4-P model of transformative learning for alcoholic rehabilitation treatment) ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพควบคู่กัน (Qualitative and Quantitative approaches) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ติดสุราเรื้อรังนิรนาม (Alcoholic ananomous: AA thailand) ที่ผ่านกระบวนการบำบัดรักษาผู้ติดสุราจากสถานบำบัดรักษาทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เลิกเสพสุราโดยถาวรมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 6 เดือน และมีการพบกลุ่ม (Meetings) ตามกำหนดสม่ำเสมอ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball sampling) จากกลุ่มผู้ติดสุราเรื้อรังนิรนามที่สมัครใจให้ข้อมูลวิจัยและขอให้กลุ่มตัวอย่างแนะนำกลุ่มผู้ติดสุราเรื้อรังนิรนามที่มีคุณสมบัติตามระบุเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างต่อไป จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามวิธีการวิจัย จำนวน 46 คน และ 7 คน ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ร่วมกับผลการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีสามารถทำนายการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองสำหรับ การบำบัดรักษาผู้ติดสุรา ได้แก่ สภาพโปรแกรมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา การรับรู้ประสบการณ์การเสพสุรา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง และแรงจูงใจเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพสุรา สามารถร่วมกันทำนายได้ คิดเป็นร้อยละ 47.6 โดยสภาพโปรแกรมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการบำบัดรักษาผู้ติดสุรามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองเพื่อการเลิกเสพสุราสูงสุด (ค่า Beta = .41) 2) และรูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองสำหรับการบำบัดรักษาผู้ติดสุราสอดคล้องตามรูปแบบ 4-P Model โดยพบว่า การทบทวนประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจเพื่อการเลิกเสพสุราเป็นกระบวนการสำคัญที่นำไปสู่การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองสำหรับการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research were to: 1) predict the related factors to transformative learning for alcoholic rehabilitation treatment and 2) develop the transformative learning model for alcoholic rehabilitation treatment. The sample in this study consisted of 46 alcoholics who have stopped drinking at least 6 month after finishing program treatment for collected data by quantitative research approach and 7 alcoholics for collected data by qualitative research approach. Instruments used for collecting data were scales and open-end questionnaire for in-depth interview and group discussion. Data were analyzed by using Pearson product-moment correlation and multiple regression analysis. The research findings were as follow: 1) Program and activities in alcoholic rehabilitation treatment, experience, sharing and motivation to change could explain 47.6% of variance in personal transformation 2) Results in considering the relevance with quantitative data and qualitative data which related to the 4-P Model: The 4-P Model of transformative learning for alcoholic rehabilitation treatment. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1050 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้ติดสุรา | en_US |
dc.subject | การบำบัด | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | การศึกษาต่อเนื่อง | en_US |
dc.subject | การศึกษาผู้ใหญ่ | en_US |
dc.subject | Alcoholics | en_US |
dc.subject | Healing | en_US |
dc.subject | Learning | en_US |
dc.subject | Continuing education | en_US |
dc.subject | Adult education | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองสำหรับการบำบัดรักษาผู้ติดสุรา | en_US |
dc.title.alternative | Development of a transformative learning model for alcoholic rehabilitation treatment | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1050 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pongratchadhawat_wi.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.