Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36762
Title: การปรับปรุงแบบจำลองคณิตศาสตร์และการทดลองเพื่อประมาณค่ากำลังสูญเสียจากการไถลในการส่งกำลังด้วยเฟืองเฉียง
Other Titles: Improvement of a mathematical model and experiment for estimation of sliding loss in helical gear transmission
Authors: ภูวดล อัศวพิชญโชติ
Advisors: ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เฟือง
ยานยนต์ -- อุปกรณ์ส่งกำลัง
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Gearing
Motor vehicles -- Transmission devices
Mathematical models
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อกำลังสูญเสียของการส่งกำลังของคู่เฟืองเฉียง โดยได้แบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การประมาณผลของปัจจัยต่างๆ จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และการศึกษาจากการทดลอง ในส่วนของแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อประมาณกำลังสูญเสียของคู่เฟืองเฉียงจะปรับปรุงแบบจำลองการหาค่ากำลังสูญเสียจากการไถลของเฟืองตรงซึ่งเสนอโดย ชนัตต์ โดยแบบจำลองจะพิจารณาให้เฟืองเฉียงมีลักษณะเช่นเดียวกับชุดของเฟืองตรงซ้อนกันเป็นขั้นๆ และวางเอียงทำมุมกันตามองศาของมุมเบสฮีลิกซ์ ในส่วนของการทดลองนั้น ได้จัดสร้างชุดทดลอง back-to-back gearbox system ซึ่งเป็นชุดทดลองแบบไม่มีกำลังขาออก โดยกำลังที่ใส่เข้าไปจะไหลวนอยู่ในระบบเพื่อชดเชยแรงเสียดทานและกำลังสูญเสียต่างๆ ในระบบ ความแม่นยำของแบบจำลองที่สร้างขึ้นจะถูกตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบผลการประมาณกับผลการทดลอง โดยปัจจัยที่มีผลต่อกำลังสูญเสียในคู่เฟืองเฉียงที่พิจารณาในที่นี้ ได้แก่ มุมฮีลิกซ์ มุมกด ความกว้างหน้าฟัน โมดูล ความเร็วรอบ และภาระแรงบิด ผลการประมาณจากแบบจำลองพบว่าเฟืองเฉียงที่มีมุมฮีลิกซ์มากจะมีกำลังสูญเสียมาก เฟืองเฉียงที่มีมุมกดมากจะมีกำลังสูญเสียน้อย เฟืองเฉียงที่มีความกว้างหน้าฟันมากจะมีกำลังสูญเสียมากขึ้นเล็กน้อย และเฟืองเฉียงที่มีโมดูลมากจะมีกำลังสูญเสียมาก การเปรียบเทียบแนวโน้มของกำลังสูญเสียจากการทดลองและกำลังสูญเสียที่ประเมินได้จากแบบจำลองมีแนวโน้มสอดคล้องกันเฉพาะอิทธิพลของ มุมกด และโมดูล แต่อิทธิพลของมุมฮีลิกซ์และความกว้างหน้าฟันนั้นยังมีแนวโน้มที่ไม่สอดคล้องกับผลการทดลอง
Other Abstract: This thesis presents the preliminary study on parameters affecting to power losses in helical gears. This study is separated into two parts that are application of the mathematical model for estimating power loss of helical gear transmission and experiment to investigate the helical gear power loss. First the spur gear meshing model presented by Chanat has been improved, helical gear is modeled as the multi-section spur gears aligned slantwise along with base helix angle. The second part; experiment; the back-to-back gear test rig had been constructed for measuring helical gear power loss. This type of the test rig does not have the power output. The input power is circulated in the system to compensate the friction and power losses. In order to verify the accuracy of the model, the estimated power losses were compared with the experimental results. The parameters affecting to power loss considered here are helix angle, pressure angle, face width and module. The estimated results shows that the helical gear pair having higher helix angle and module has higher power loss but helical gear with higher pressure angle and face width has lower power loss. By comparison between the estimated and experimental results, it is found that the estimated results agree well with experimental results just only in case of affects of pressure angle and module, however the affects of helix angle and face width to power loss cannot be predicted correctly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.756
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.756
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
puwadon_as.pdf15.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.