Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์-
dc.contributor.advisorสุวิทย์ ปุณณชัยยะ-
dc.contributor.authorกอบชัย จันทร์ศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-19T08:56:26Z-
dc.date.available2013-12-19T08:56:26Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37564-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบผลิตไฮโดรเจนด้วยกระบวนการพลาสมารีฟอร์มมิงจากไอเอทานอล โดยอาศัยความร้อนในการเปลี่ยนเอทานอลซึ่งมีสภาวะเป็นของเหลวภายใต้อุณหภูมิห้องให้กลายเป็นไอ และส่งผ่านบริเวณดิสชาร์จของชุดกำเนิดพลาสมาที่มีการจ่ายไฟฟ้าแรงสูงย่านความถี่ต่ำ ด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงที่พัฒนาขึ้นให้สามารถปรับเปลี่ยนความถี่และแรงดันไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง สามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าและกระแสสูงสุดได้ 10 kV และ 2.5 mA ตามลำดับ และตอบสนองได้ดีในย่านความถี่ 300-500 Hz เมื่อเอทานอลในสภาวะไอเคลื่อนผ่านบริเวณดิสชาร์จ จะแตกตัวและทำปฏิกิริยากับก๊าซอื่น ๆ ในอากาศและให้ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ เช่น ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งจากการทดลองพบว่าสำหรับระบบที่ได้สร้างขึ้น แรงดันไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน คือ 10 kV และ 350 Hz ตามลำดับ อัตราการผลิตเข้าสู่สภาวะคงที่หลังจากเริ่มผลิต 80 นาที นอกจากนี้ ได้ทำการทดลองเพื่อหาความเข้มข้นของเอทานอลที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน พบว่า ที่ความเข้มข้นของเอทานอล 25%, 50% และ 75% มีอัตราการผลิตไฮโดรเจนใกล้เคียงกันอยู่ประมาณ 1 mol/ml/min ซึ่งมากกว่าอัตราการผลิตเมื่อใช้ความเข้มข้นของเอทานอลที่ 99.8% โดยปริมาตรอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ปริมาณของไอน้ำที่ผสมกับเอทานอลจึงมีผลต่ออัตราการผลิตด้วยเช่นกันen_US
dc.description.abstractalternativeThis research focuses on the development of a hydrogen production system based on the plasma reforming method of biological ethanol in gaseous state. Ethanol, which is in liquid state at room temperature, is changed into its gaseous states by heating, and subsequently flowed through the discharge area of a plasma reactor powered by a low-frequency high-voltage power supply in continuous mode. The power supply has been designed for the maximum voltage and current of 10 kV and 2.5 mA respectively, with the operated frequency ranged between 300 and 500 kHz. The gaseous ethanol is ionized, reacts with other gases in the air, and produces several gaseous products including H2, CH4 and CO. An applied voltage of 10 kV and an operated frequency of 350 Hz are found to be most suited for hydrogen production using our system. Steady rate of production is reached after 80 minutes. Effect of ethanol concentration on the hydrogen production was also investigated. At 25%, 50%, and 75% concentration by volume the rate of production was found to be very close to each other (1 mol/ml/min), and considerably higher than at 99.8% concentration.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1127-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไฮโดรเจนen_US
dc.subjectเอทานอลen_US
dc.subjectแกสโครมาโตกราฟีen_US
dc.subjectHydrogenen_US
dc.subjectEthanolen_US
dc.subjectGas chromatographyen_US
dc.titleไดอิเล็กทริกแบริเออร์ดิสชาร์จในของเหลวสำหรับผลิตไฮโดรเจนen_US
dc.title.alternativeDielectric barrier discharge in liquid for hydrogen productionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1127-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kopchai_ja.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.