Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37632
Title: | กระแสวัฒนธรรมจีนบาบ๋าในบริบทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : ศึกษาเฉพาะกรณี ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต |
Other Titles: | The current of Baba-Chinese culture in context of cultural tourism : a case study of Talang Road, Muang District, Phuket Province |
Authors: | อรพรรณ ฐานะศิริพงศ์ |
Advisors: | ศิริรัตน์ แอดสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ชาวจีน -- ไทย -- ภูเก็ต ชาวจีน -- ไทย -- ภูเก็ต -- ความเป็นอยู่และประเพณี ชาวจีน -- ไทย -- ภูเก็ต -- ภาวะสังคม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- ภูเก็ต Chinese -- Thailand -- Phuket Chinese -- Thailand -- Phuket -- Social life and customs Chinese -- Thailand -- Phuket -- Social conditions Heritage tourism -- Thailand -- Phuket |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้มุ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิจัยภาคสนามโดยการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวไทยเชื้อสายจีนบาบ๋า ในบริบทของสังคมและวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต และเพื่อศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนบาบ๋าจังหวัดภูเก็ต ที่เป็นมาจากกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในปัจจุบัน โดยได้ใช้กรอบแนวคิด แนวคิดวัฒนธรรม (Culture) แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural change) แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural tourism) มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนบาบ๋า ในชุมชนถนนถลางที่มีการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทั้งจากภายนอกและภายในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสของการท่องเที่ยว ที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากภายนอกเข้าสู่ชุมชน และการพัฒนาภายในชุมชนเอง ที่ปรับตัวรับมือให้เข้ากับกระแสการท่องเที่ยวที่เข้ามา ในส่วนของวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนบาบ๋า ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมการไหว้เจ้า การเคารพบรรพบุรุษ ประเพณีการแต่งงาน โดยพิธีการบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน แต่ความหมายและคุณค่ายังคงเหมือนเดิม ในส่วนของวิถีชีวิตทั่วไป ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. กิจการที่รับช่วงต่อจากบรรพบุรุษ 2. เปลี่ยนกิจการเดิมหรือเปลี่ยนบ้านที่มีอยู่เดิมไปเพื่อการท่องเที่ยว 3. กิจการเปิดใหม่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชน จากการที่ชุมชนถนนถลาง เป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น ทำให้ท้องถิ่นและคนในชุมชนซึ่งเป็นชาวบาบ๋าเป็นส่วนใหญ่นัน้ นำเอาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยการเปิดให้เป็นถนนสายวัฒนธรรมของจังหวัด ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายจีนบาบ๋าผ่านวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยที่คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่คิดจะเปลี่ยนตัวเองเพื่อการท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชน แต่อยากให้การท่องเที่ยวที่เข้ามานั้น เคารพสิทธิของคนในชุมชน เน้นการเผยแพร่และเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างผ่านวิถีชีวิตของคนในชุมชนมากกว่า |
Other Abstract: | This qualitative research obtained data from related documents, participatory and non-partcipatory observations, in-depth interview of informants. The aim of the study was to research the current of Baba-Chinese culture in context of cultural tourism in Talang Road, Muang District, Phuket Province. The concept of culture, cultural change and cultural tourism were employed in this study. The results showed that way of life in Baba-Chinese community that cultural tourism into the community. People in the community have embraced cultural capital used to attract tourists by open to the street culture of the province. Traveler can learning culture and way of life of the Baba-Chinese community in all aspects. There are two ways of community change the first is cultural diffusion from outside to the community. Second is development within the community are adapt to the current of cultural tourism. The traditional and culture of the Baba-Chinese always continue in particular the culture within the family. Culture and ritual may have something changes but the meaning and the value still the same. Actually, people in Baba-Chinese culture wear normal costume similar to Thai people, but on special occasions they wear Babanonya ethnic costume. The occupation that most people in community were trading. Generally, people in the community have ideas that want to travel that came to respect the rights of the people in the community and focus in learning and publishing about different culture by the people living in the community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37632 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1182 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1182 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
orrapan_th.pdf | 5.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.