Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3765
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการพัฒนาจิตและคุณภาพชีวิต ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลิกยาเสพติดแบบฉับพลัน |
Other Titles: | Communication strategies in mental and quality of life development project resulting to sudden drug quit decision |
Authors: | ภรินทร ทองลิ่ม, 2515- |
Advisors: | ธนวดี บุญลือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสื่อสาร การโน้มน้าวใจ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์การสื่อสารในโครงการพัฒนาจิตและคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อการตัดสินใจเลิกยาเสพติดแบบฉับพลัน" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสาร, กลยุทธ์การสื่อสาร, เทคโนโลยีการสอนและจิตวิทยาการสื่อสารในโครงการพัฒนาจิตและคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิทยากรที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาส การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มเชิงลึก (Focus Group Discussion) ผู้เข้ารับการอบรมที่ตัดสินใจเลิกยาเสพติดแบบฉับพลัน โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยทั้งสิ้น 35 คน ผลการวิจัยพบว่า : การสื่อสารในการฝึกอบรมโครงการพัฒนาจิตและคุณภาพชีวิตเป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่ที่มีลักษณะการสื่อสารสองทางที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ การสื่อสารสองทางที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ การทักทาย พูดคุย ซักถามปัญหา การเจรจาต่อรอง ซึ่งประกอบด้วยวัจนภาษาและอวัจนภาษา เนื้อหาที่พูดคุยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาเสพติด การสื่อสารสองทางที่เป็นทางการเป็นการสื่อสารระดับกลุ่ม ได้แก่ การประชุมปรึกษาหารือ ระหว่างคณะครู-อาจารย์และวิทยากร นอกจากนี้การสื่อสารส่วนใหญ่จะใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบในการสื่อสารเพื่อให้ทุกคนรับรู้ในการสื่อสารร่วมกัน องค์ประกอบกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1) ผู้ส่งสาร เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากเป็นพระสงฆ์ และมีความรู้ในเรื่องที่จะสื่อสารและมีความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อเทคโนโลยีทันสมัยประกอบการสอน มีทักษะการสื่อสารด้านการพูดโน้มน้าวใจ และมีจิตวิทยาการสื่อสารสูง 2) สารหรือเนื้อหาที่นำมาอบรมมีการใช้คำพูดเข้าใจง่าย เนื้อหามีความหมายนัยและนัยประหวัด กระชับได้ใจความ มีการบรรยายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน มีการใช้อุปมาอุปไมยนำมาเปรียบเทียบจริง มีการใช้จุดจูงใจในสารโดยใช้ความกลับกับการใช้อารมณ์ในการโน้มน้าวใจ 3) สื่อที่นำมาใช้ในการฝึกอบรมมีลักษณะเป็นสื่อผสม คือ สื่อบุคคล สื่ออิเลคโทรนิคส์ สื่อคอมพิวเตอร์สื่อเกม และสื่อเพลง กลยุทธ์การสื่อสาร ได้แก่ กลยุทธ์การจัดแถวกระจายขุมกำลัง กลยุทธ์การสวมบทบาท กลยุทธ์กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กลยุทธ์การเล่าเรื่องอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ กลยุทธ์การสาธิตให้ดู กลยุทธ์กระบวนการกลุ่ม กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง กลยุทธ์การใช้เกม เพลง และบทกลอน กลยุทธ์การลงโทษและให้รางวัล กลยุทธ์การใช้เพื่อนสอนเพื่อน กลยุทธ์จบเรื่องด้วยคำพูดประทับใจ |
Other Abstract: | The research on "Communication strategies in mental and quality of life development project resulting to sudden drug quit decision" is a qualitative research. The objective of research was to study the communication process, strategy technology and psychology in the training process. Data were collected by indepth interviews with the trainer-Pha Ajarn Weerapan and his team, 35 student trainees who have decided to suddenly quit using drug. Participatory observation during training was also used to collect data. The findings of the research are as follows: Two-way communication both formal and in formal is implemented during training process. The second principle of effective communication involves the use of appropriate nonverbal and verbal cues in the program's message. The subjects of the program training cover mainly drug and other social problems, the application of religious doctrine to cope with the problems and proper earning a living. The third principle is the appropriate use of audio-visual aids during the training to facilitate the explanation for better understanding and clarity. The elements of communication effectiveness includes 1) a highly credible communicator perceived by the audience. The monk trainers especially Pra Ajarn Weerapan is perceived as having believable characteristics such as trustworthiness, expertise, dynamism, skillyfully using high communication technology as tools, appropriately and harmoniously using fear and emotional appeals, motivation as persuasive communication strategies, using pass experiences as references of the subject of teaching. 2) Message and language : there is an application of concise statement, denotation, connotation, dialogue, metaphor, analogy, abstract illustration transforming into concrete objects to facilitate understanding. 3) Media : games and music, integrated media is used as well as :-interpersonal media, eletronic media, computer. 4) Receivers is analysed in order to using laguages both verbal and nonverbal cues appropriate to the demographiclevel of the trainees and perceived similarities between trainers and trainees. Additional communication strategies include : 1) Re-arrangement of trainees for the purpose of "Separate" and "integrate" strategy 2) Role-playing 3) Group process and group pressure 4) Demonstration 5) Narration with attractive opening or ending, analogy, metaphor and direct and indirect recommendation 6) Reward and Punishment 7) Bargaining 8) Music and game playing 9) Friend warning strategy 10) Impressive speech |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3765 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.2 |
ISBN: | 9740300146 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.2 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharintorn.pdf | 33.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.