Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/382
Title: | โครงการศึกษาครอบครัวไทย : สรุปผลวิจัยเบื้องต้น |
Other Titles: | General family survey |
Authors: | ภัสสร ลิมานนท์ สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ เกื้อ วงศ์บุญสิน วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ |
Subjects: | ครอบครัว--ไทย ขนาดครอบครัว การสมรส--ไทย ครอบครัว -- ไทย ผู้สูงอายุ--ไทย |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากความขาดแคลนข้อมูลระดับประเทศที่ให้ความรู้เกี่ยวกับครอบครัวไทยที่อาจนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการและการวางแผนทั้งปัจจุบันและในอนาคต ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทย สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการศึกษาครอบครัวไทย ปี พ.ศ. 2537 เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวโดยสัมภาษณ์ประชากรชาย-หญิงในเขตเมือง และชนบทของทุกภาค จำนวน 3,237 ราย ข้อมูลแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งประวัติความเป็นมาของผู้ให้สัมภาษณ์และครอบครัว ซึ่งมีความแตกต่างกันพอสมควรระหว่างผู้ที่อยู่ในเขตเมืองและชนบท ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร ภาระรับผิดชอด และการตัดสินใจภายในครอบครัว แสดงให้เห็นว่าการแบ่งภาระหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว เกดิขึ้นตามสถานภาพ เพศ และอายุของบุคคล แต่ทั้งสามีและภรรยายังมีส่วนร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นไปในครอบครัวในเรื่องสำคัญหลายเรื่อง โดยไม่ปล่อยให้เป็นอำนาจเด็ดขาดของฝ่ายใดฝ่ายเดียว ครอบครัวในเขตเมืองและเขตชนบท สมาชิกครอบครัวชายและหญิง มีการจัดสรรเวลาในแต่ละวันเพื่อทำกิจกรรมแตกต่างกัน รวมทั้งภาระกิจนอกบ้านของสังคมเมืองได้แย่งเวลาของสมาชิกที่จะได้อยู่ร่วมกันไปมิใช่น้อย อย่างไรก็ตาม พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง ทั้งที่อยู่ในบ้านเดียวกันหรืออยู่ต่างถิ่นยังคงมีความเหนียวแน่นพอควร โดยบุคคลเหล่านี้มีการรักษาระดับความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่นการขอคำปรึกษา มีการติดต่อสื่อาร เพื่อส่งข่าว การขอและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านเงินทอง ข้าวของ ฯลฯ ส่วนสุดท้ายของการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชากรที่ตกเป็นตัวอย่างยังให้ความสำคัญยิ่งต่อแนวการปฏิบัติที่ว่า ลูกต้องให้การดูแลเลี้ยงดูอย่างดีแก่พ่อแม่สูงอายุ ทั้งเมื่อยามปกติและยามป่วยไข้ สำหรับทัศนคติและค่านิยมของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีต่อครอบครัวในเรื่องต่างๆ แสดงให้เห็นว่าค่านิยมหลายเรื่องยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมากนัก อีกทั้งค่านิยมที่มีการแบ่งแยกบทบาทระหว่างชายและหญิงภายในครอบครัวและในสังคมไทย ยังชัดเจนอยู่มาก |
Description: | คุณลักษณะพื้นฐานและภูมิหลังของผู้ให้สัมภาษณ์และครอบครัว -- การสมรสและสภาวะชีวิตสมรสกับการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนชีวิตของผู้ให้สัมภาษณ์ -- สภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัว และสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดูบุตร ภาระรับผิดชอบของสมาชิกครอบครัว และการตัดสินใจในครอบครัว -- การจัดสรรเวลาของครอบครัว -- ผู้สูงอายุ ทัศนคติ และค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัว |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/382 |
ISBN: | 9746315064 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bhassorn(fami).pdf | 8.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.