Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38373
Title: | โมเดลเจตจำนงต่อการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักวิชาชีพ : บทบาทการส่งผ่านของการประทับตราว่าด้วยค่าตามการรับรู้และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ |
Other Titles: | A model of professional help seeking intentions : the mediating role of perceived stigma and attitudes toward help seeking |
Authors: | ธนวัต ปุณยกนก |
Advisors: | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความรู้สึกเป็นตราบาป พฤติกรรมการแสวงหาความช่วยเหลือ Stigma (Social psychology) Help-seeking behavior |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาอิทธิพลของการประทับตราว่าด้อยค่าในการแสวงหาความช่วยเหลือ และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา จากนักวิชาชีพที่มีต่อเจตจำนงต่อการแสวงหาความช่วยเหลือในกลุ่มนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี และศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศในการรับรู้ถึงการประทับตราว่าด้อยค่าในการแสวงหาความช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 1,191 คน (ชาย 592 คน และหญิง 599 คน) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างและทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า การประทับตราว่าด้อยค่าทั้ง 3 รูปแบบสามารถทำนายเจตจำนงต่อการแสวงหาความช่วยเหลือได้ โดยมีเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาจากนักวิชาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยการประทับตราว่าด้อยค่าจากตนเอง ส่งผลต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือมากที่สุด (β = -.54, p < .001) รองลงมาคืออิทธิพลรวมของการประทับตราว่าด้อยค่าจากสังคม (β = -.32, p < .001) การประทับตราว่าด้อยค่าจากบุคคลใกล้ชิดมีอิทธิพลรวมต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือต่ำที่สุด (β = -.17, p < .001) และเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือมีอิทธิพลต่อเจตจำนงต่อการแสวงหาความช่วยเหลือ (β = -.23, p < .001) ตัวแปรทั้งหมดในสมการสามารถอธิบายความแปรปรวนของเจตจำนงต่อการแสวงหาความช่วยเหลือได้ 19.0% และการประทับตราว่าด้อยค่าทั้ง 3 รูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือได้ 36.6% ทั้งนี้เพศไม่มีอิทธิพลกำกับต่อความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรในโมเดล |
Other Abstract: | To investigate the relationship pattern of stigmas of seeking help and attitude toward help seeking on help seeking intentions in Thai undergraduate students and to examine the differences between genders in perceiving stigma of seeking help. Participants were 1,191 (592 male and 599 female) undergraduate students. The data analyses using structural equation modeling and multi-sample analysis through LISREL were conducted. Findings reveal that the three forms of stigma have effect of intention to seek help with attitude toward help seeking as a mediator significantly (p < .001). Self stigma demonstrates the most effect on attitude (β = -.54, p < .001), followed by public stigma (β = -.32, p < .001), and personal stigma (β = -.17, p < .001). Attitude towards help seeking predicts help seeking intentions (β = -.23, p < .001). The model account for 19.0% of all the variance of help seeking intentions and stigmas account for 36.6% of all attitudes towards help seeking variances. Finding also indicates that gender did not have a moderation effect on causal relationship between stigmas and help seeking intentions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการปรึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38373 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1243 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1243 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanawat_po.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.