Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมนทิพย์ จิตสว่าง-
dc.contributor.authorปรียาภรณ์ สุโพธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-02-21T02:42:54Z-
dc.date.available2014-02-21T02:42:54Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39199-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้ต้องขังหญิงในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย และ สาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงของผู้ต้องขังหญิงในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการใช้เทคนิคของการจดบันทึก เป็นต้น โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังหญิง ในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย ที่คัดเลือกตามความเหมาะสม และ ความสมัครใจ จำนวน 16 ราย โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิงในการก่ออาชญากรรมมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดที่ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่กระทำต่อสังคม นั่นคือ มีการแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และรูปแบบของพฤติกรรมที่แสดงออกมาแตกต่างกับผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิง: ศึกษากรณีผู้ต้องขังหญิง ในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิง คือ การศึกษา สถานภาพสมรส สภาพแวดล้อมและบริเวณที่อยู่อาศัย การคบเพื่อน การเรียนรู้จากสื่อ และ ความกดดันในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ในทางตรงกันข้ามปัจจัยที่มีอิทธิพลน้อยต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิง คือ อายุ อาชีพ รายได้ และ การขัดเกลาจากครอบครัวที่ให้กำเนิด ดังนั้น การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิง: ศึกษากรณีผู้ต้องขังหญิงในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย” จึงเป็นประโยชน์ในการการนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสร้างพื้นฐานในกระบวนการป้องกันการแก้ไขพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิงที่นำไปสู่การก่ออาชญากรรมและไม่ให้เป็นปัญหาที่เรื้อรังและยืดเยื้อต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to study about violent behaviour of female inmates in assaults and battery cases and their cause, by using Anthropological approach which are; participant observations, in-depth interviews and note taking. The 16 targets population is female inmates in assault and battery cases that volunteered or selected by appropriation. Violent behaviour of women in making crime is increasing. What cause women change behavior against social, which is showing more violence behavior. However, the behavior that shown is various.The study found out that the most influenced factors are education, marital status, living environment, friends, media and pressure in sexual inequity. On the other hand, the least influenced factors are age, career, income and family socialization. This study is useful to make a policy about building protection and dissolve women’s violence, which leads to committing crime, and to protect from becoming a protracted problem.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1107-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักโทษหญิงen_US
dc.subjectความรุนแรงen_US
dc.subjectสตรี -- ภาวะสังคมen_US
dc.subjectWomen prisonersen_US
dc.subjectViolenceen_US
dc.subjectWomen -- Social conditionsen_US
dc.titleพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้หญิง : ศึกษากรณีผู้ต้องขังหญิงคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายen_US
dc.title.alternativeViolent behaviour of women : a study on female inmates in assault and battery casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1107-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preeyaporn_Su.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.