Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39208
Title: | การรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อในยุคโลกาภิวัตน์ |
Other Titles: | Thai people's perception of the importance regarding media literacy in the globalized era |
Authors: | สุขใจ ประเทืองสุขเลิศ |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สื่อมวลชน การรู้เท่าทันสื่อ Mass media Media literacy |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความรู้เท่าทันสื่อเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในยุคโลกาภิวัตน์ อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวเรื่องความรู้ เท่าทันสื่อในประเทศไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ทั้งๆที่ ก่อนหน้านี้จะมีงานวิจัยที่พบว่านักศึกษาไทย มีระดับ ความรู้เท่าทันสื่อที่ต่ำ และแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อมีมานานแล้วในประเทศไทยก็ตาม ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาว่า คนไทยรับรู้ถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ความต่างกันทางด้านอายุ ระดับการศึกษา บทบาทในครอบครัว บทบาททาง สังคม และประสบการณ์ด้านสื่อ ทำให้คนไทยรับรู้ถึงความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ และทักษะการรู้เท่า ทันสื่อแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูอาจารย์ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่ยังไม่มีบุตร และนักรณรงค์เคลื่อนไหวทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า คนไทยตระหนัก ถึงปัญหาที่เกิดจากสื่อมวลชนมาก อย่างไรก็ตาม คนไทยเห็นว่าการแก้ปัญหาที่เกิดจากสื่อมวลชน ด้วยวิธี การควบคุม และลงโทษผู้ผลิต/ผู้บริโภคสื่อสำคัญกว่าการฝึกฝนผู้บริโภคให้รู้เท่าทันสื่อ อย่างไรก็ดี เมื่อ พิจารณาจากปัจจัยที่แตกต่างกันทั้งสื่ด้านของคนไทย คือ อายุ ระดับการศึกษา บทบาทในครอบครัว บทบาท ทางสังคม และประสบการณ์ด้านสื่อก็พบว่า คนไทยที่เป็นนักรณรงค์ด้านรู้เท่าทันสื่อ และผู้มีส่วนผลักดัน นโยบายทางการศึกษาเห็นความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ส่วนการรับรู้ เกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันสื่อของคนไทยพบว่า คนไทยเห็นความสำคัญของทักษะการรู้เท่าทันสื่อค่อนข้าง มาก โดยเฉพาะทักษะการประเมินค่า และการวิเคราะห์ ในขณะที่พวกเขาเห็นว่าทักษะการสร้างสรรค์สื่อ จำเป็นน้อยที่สุด นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากปัจจัยที่แตกต่างกันทั้งสื่ด้านก็พบว่าคนไทยที่มีการศึกษาสูงกว่า และมีประสบการณ์ด้านสื่อมากกว่าเห็นด้วยทักษะการวิเคราะห์ และประเมินค่าสื่อมากกว่าผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านสื่อน้อยกว่า นอกจากนี้นักรณรงค์ด้านรู้เท่าทันสื่อและผู้มีส่วนผลักดันนโยบายการ ศึกษา เห็นความสำคัญของทักษะการวิเคราะห์มากที่สุด อย่างไรก็ดี ไม่มีกลุ่มใดที่เรียงลำดับ ความสำคัญ ของการรู้เท่าทันสื่อแตกต่างกัน |
Other Abstract: | In the globalized era, being media literate is very important. However, media literacy movement in Thailand is still not fully developed. Therefore, this study focused on Thai people's perception of the importance of media literacy and media literacy skills. It also examined whether age, educational level, social role, family role and media experience affect the perception of the importance of media literacy and its skills. Survey research and in-depth interview were conducted with Thai teachers, professors, students, people who have children and have no children, social activists and policy makers as the population of the study. This research shows that Thai people rate the importance of the media problems highly. However, they think that controlling and punishing media producers and consumers are the most appropriate ways to solve the problem as compared to training the consumer to be media literate. When analyzing the factors affecting the perception, the data indicated that social activists and policy makers are the group that is most aware of the importance of media literacy. Regarding media literacy skills, all of the skills, especially the evaluation and analytical skills, are considered importance. Communicative participation and production skill are rated the lowest. Thai people with higher educational level and more media experience rate the importance of analytical and evaluation skill higher than their counterparts. Social activist and policy makers rate the importance of the analytical skill the highest. All Thai people perceive the importance of five media literacy skills; evaluation, analytical, access, synthesis and communicative participation and production skill, in the same order. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39208 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.381 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.381 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukjai_Pr.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.