Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39499
Title: | การพัฒนาแผนการผลิตหลักสำหรับอุตสาหกรรมแบบผลิตตามสั่ง |
Other Titles: | Development of master production planning for make-to-order industry |
Authors: | ภัทราภรณ์ สัจจนดำรงค์ |
Advisors: | ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การควบคุมการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดการโรงงาน Production control Production planning Factory management |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันโรงงานต่างๆในประเทศไทย เริ่มมีการนำระบบอีอาร์พีมาใช้ในการบริหารและการจัดการกระบวนการต่างๆ ภายในโรงงานเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของฝ่ายผลิตสำหรับโรงงานที่นำระบบอีอาร์พีมาใช้ ล้วนคาดหวังว่าระบบอีอาร์พีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แผนกวางแผนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัญหาของระบบอีอาร์พีในส่วนของการวางแผนการผลิต คือ ระบบการวางแผนความต้องการด้านวัสดุที่อยู่ในระบบอีอาร์พีโดยทั่วไป ไม่ได้รองรับการคำนวณเกี่ยวกับกำลังการผลิตไว้ได้อย่างดีพอ และโรงงานที่มีรูปแบบการผลิตตามสั่งมักใช้คำสังซื้อจากลูกค้าเป็นข้อมูลในการวางแผนความต้องการวัสดุโดยตรง ดังนั้นแผนการผลิตที่ได้ บางครั้งอาจเป็นแผนที่ไม่สามารถปฏิบัติให้ทันกำหนดส่งได้จริง เนื่องมาจากกำลังผลิตมีไม่เพียงพอ หรือมีความหนาแน่นของงานในช่วงใดช่วงหนึ่งมากเกินไป งานวิจัยนี้ ได้พัฒนาเครื่องมือช่วยในการวางแผนการผลิตหลักของโรงงานโดยใช้หลักการการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการโปรแกรมเชิงเส้นตรง โดยเรียกเครื่องมือนี้ว่า MPO (Master Planning Optimizer) ซึ่งเป็นการประมวลผลด้วย Solver Engine ผ่านทางโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อสร้างแผนการผลิตหลักที่ทำให้เกิดต้นทุนรวมต่ำที่สุด บนเงื่อนไขที่จำกัดทั้งในส่วนของกำลังการผลิตของโรงงานและจำนวนวัตถุดิบที่มีอยู่ จากนั้นค่อยนำแผนการผลิตหลักที่คำนวณได้นี้ไปใช้วางแผนความต้องการด้านวัสดุต่อไป ผลการทดสอบการใช้งาน MPO ในโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งหนึ่ง พบว่าเมื่อนำ MPO มาใช้แทนการวางแผนการผลิตแบบปัจจุบัน ซึ่งอาศัยความสามารถและประสบการณ์ของผู้วางแผนเป็นหลัก พบว่าผู้วางแผนสามารถจัดแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในแง่ของการลดเวลาในการจัดแผนการผลิตลง จากปกติประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์ ลดเหลือเพียง 3-5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมถึงสามารถลดกำลังคนที่ใช้ในการจัดแผน และลดความผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดจากบุคคล อีกทั้งยังสามารถนำเครื่องมือนี้มาจำลองสถานการณ์เพื่อคำนวณเกี่ยวกับการเพิ่มกำลังการผลิต เมื่อกำลังการผลิตที่มีอยู่ตามปกติไม่เพียงพอ หรือเมื่อฝ่ายขายถามถึงความสามารถในการรับงานเพิ่ม ทางฝ่ายวางแผนก็สามารถหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ยังผลให้การประสานงานระหว่างแผนกมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น |
Other Abstract: | Small and Medium Enterprises these days are likely to adopt ERP system in the management and operation of the organizations. As for production aspect, the organizations implemented ERP expect that the system would become a tool for more effective planning process. Nevertheless, there are some problems of ERP on production planning. The MRP module on general ERP system does not support the production planning constraint. The production plan sometimes becomes impractical due to insufficient production capacity or job overload during particular session. This research has developed a tool for master production plan of the organization by adoption of linear programming to determine the most optimal value. This tool is called MPO or Master Planning Optimizer which is the data processing method through Solver Engine on Microsoft Excel. MPO would help establish a better production plan with minimum costs under production capacity and material constraints. The new master production plan would be implemented further for material requirement planning. The test result of MPO adoption in a garment factory found that the replacement of existing production planning with MPO which relies upon the competency and experience of the planner result in the more efficient planning. Production planning lead time decreases from 2-3 days a weed to 3-5 hours a week. Manpower for planning and human error decrease as well. Furthermore, MPO tool could be adopted in simulation situation to calculate the expansion of production capacity in case of inadequate production capacity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39499 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.575 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.575 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattaraporn_Sa.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.