Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3996
Title: | การศึกษาเชิงวิเคราะห์รูปแบบปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ที่ส่งผลต่อเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Other Titles: | An analytical study of interaction patterns of teachers and students affecting attitude and learning achievement in English subject of pratom suksa six students |
Authors: | รุ่งสุรีย์ สิงหราช, 2513- |
Advisors: | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การสื่อสารทางการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน พฤติกรรมการเรียน ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์รูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูแกนนำ และครูที่สอนแบบปกติกับนักเรียนที่ส่งผลต่อเจตคติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างประชากร เป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน เป็นครูแกนนำจำนวน 8 คน ครูที่สอนแบบปกติจำนวน 8 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 466 คน จาก 16 โรงเรียนๆ ละ 1 ห้องเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และแบบวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ แต่ละโรงจะได้รับการสังเกตจำนวน 5 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลเป็นความถี่และ ร้อยละความถี่ของพฤติกรรมแต่ละประเภท ใช้การทดสอบค่าที (t-test) เปรียบเทียบเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ระหว่างนักเรียนที่เรียนกับครูแกนนำ และนักเรียนที่เรียนกับครูที่สอนแบบปกติจำนวน37 คู่ วิเคราะห์รูปแบบปฏิสัมพันธ์ของครูที่เป็นอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมด้วยสถิติ The Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบปฏิสัมพันธ์ของครูแกนนำกับนักเรียนใช้อิทธิพลทางอ้อม คิดเป็นร้อยละ 23.83 อิทธิพลทางตรงคิดเป็นร้อยละ 27.85 การตอบสนองของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 34.52 พฤติกรรมการริเริ่มของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 2.19 ความเงียบและความสับสนในชั้นเรียนคิดเป็นร้อยละ 11.6 ครูแกนนำจะใช้อิทธิพลทางตรงมากกว่าอิทธิพลทางอ้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. รูปแบบปฏิสัมพันธ์ของครูที่สอนแบบปกติกับนักเรียนใช้อิทธิพลทางอ้อม คิดเป็นร้อยละ 14.32 อิทธิพลทางตรงคิดเป็นร้อยละ 40.55 การตอบสนองของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 34.31 พฤติกรรมการริเริ่มของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 1.48 ความเงียบและความสับสนในชั้นเรียนคิดเป็นร้อยละ 9.34 ครูที่สอนแบบปกติจะใช้อิทธิพลทางตรงมากกว่าอิทธิพลทางอ้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนกับครูแกนนำจำนวน 32คู่จากการเปรียบเทียบทั้งสิ้นจำนวน 37 คู่มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่า นักเรียนที่เรียนกับครูที่สอบแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่เรียนกับครูแกนนำจำนวน 29 คู่ จากการเปรียบเทียบทั้งสิ้นจำนวน 37 คู่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ สูงกว่านักเรียนที่เรียนกับครูที่สอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | To analyze the interaction patterns of the leading teachers and the regular teachers with students affecting attitude and learning achievement in English subject of pratom suksa six students. The subjects were 16 English teachers, 8 leading teachers, 8 regular teachers and 466 students of pratom suksa six in 16 schools under the Office of Elementary in Samutprakan Provincial Primary Education. The instruments of this study were the English learning attitude test, the English learning achievement test and the analytical form of teachers and students interaction in English subject. The subjects in each school was observed 5 times for this research. Data analyses were frequency and the percentage of frequency in each behavior category. The t-test was used to compare attitude and learning achievement between the students studied under the leading teachers with the students studied under the regular teachers amount 37 pairs. The interaction patterns were analyzed by using the Wilcoxon Signed Ranks test. The findings indicated that: 1. The interaction patterns of the leading teachers and students comprised of 23.83 percent of indirect influence, 27.85 percent of direct influence, 34.52 percent of response behaviors of student, 2.19 percent of initiation behaviors and 11.6 percent of silence of confusion. The leading teachers used more direct influence the indirect influence at .05 level of significance. 2. The interaction patterns of the regular teachers and students comprised of 14.32 percent of indirect influence, 40.55 percent of direct influence, 34.41 percent of response behaviors of student, 1.48 percent of initiation behaviors and 9.34 percent of silence or confusion. The regular teachers used more direct influence than indirect influence at .05 level of significance. 3. Thirty-two out of 37 pairs of students studied under the leading English teachers had significantly higher attitude than the students studied under the regular teachers at .05 level of significance. 4. Twenty-nine out of 37 pairs of studentsstudied under the leading English teachers had significantly higher achievement than the students studied under the regular teachers at .05 level of significance |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3996 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.414 |
ISBN: | 9741309309 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.414 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rungsuree.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.