Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4005
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประศักดิ์ หอมสนิท | - |
dc.contributor.advisor | วลัย พานิช | - |
dc.contributor.author | อาริยา สุขโต, 2516- | - |
dc.date.accessioned | 2007-09-07T06:28:55Z | - |
dc.date.available | 2007-09-07T06:28:55Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741307551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4005 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกสถานที่เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา และนำเสนอรูปแบบการใช้สื่อสารศึกษานอกสถานที่เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ ครูผู้มีประสบกาณณ์การสอนกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับประถมศึกษา หรือ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีลูกโซ่ ผู้วิจัยใช้เทคนิคเดลฟายในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรอบสุดท้าย ทำให้ได้ข้อความสำหรับรูปแบบการใช้สื่อการศึกษานอกสถานที่เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 135 ข้อ จาก 136 ข้อ 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการใช้สื่อสารศึกษานอกสถานที่เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 2.1 การกำหนดเนื้อหาและวัตถุประสงค์ : เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมและวัตถุประสงค์การศึกษานอกสถานที่จะต้องกำหนดทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยเน้นวัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัยมากที่สุด 2.2 การเตรียมการเกี่ยวกับสถานที่ : เลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน, ประสบการณ์การเรียนรู้, เนื้อหาในบทเรียน, ความปลอดภัย ; ศึกษาในชุมชนใกล้เคียงโดยนำเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากรท้องถิ่นมาร่วมให้ความรู้ 2.3 การเตรียมตัวของครู : ครูต้องสำรวจสถานที่ล่วงหน้า ติดต่อสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ วางมาตรการเพื่อรักษาความปลอดภัย, การกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ, เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียน และการเตรียมอุปกรณ์การเรียนให้พร้อมและเหมาะสมในการศึกษานอกสถานที่แต่ละครั้ง 2.4 การเตรียมผู้เรียน : ต้องมีการเตรียมการทั่วไปเรื่องสุขภาพร่างกาย, วัตถุประสงค์, แจ้งกำหนดการต่างๆ เตรียมศึกษาหาความรู้ก่อนศึกษาจริง เน้นการเตรียมทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการศึกษานอกสถานที่ 2.5 การดำเนินการศึกษานอกสถานที่ : กิจกรรมควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง : สนับสนุนการใช้ทักษะต่างๆ ในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 2.6 การสรุปผลการศึกษานอกสถานที่ : ผู้เรียนต้องสามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ โดยการอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้เรียนและครู ; การแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ 2.7 การจัดกิจกรรมต่อเนื่องหลังการศึกษานอกสถานที่ : การบูรณาการการศึกษานอกสถานที่กับวิชาอื่น ; จัดกิจกรรมขยายผลในโรงเรียนและต่อเนื่องสู่ชุมชน 2.8 การประเมินผล : ประเมินผลประสิทธิผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั่งไว้ทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษาพิสัย | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to obtain expert's opinions regarding the utilization of educational fieldtrip for environmental education and to propose a model for the utilization of educational fieldtrip for environmental education in elementary schools. The samples were 20 experts in environmental education and teachers in elementary schools who specialized in environmental education selected by snow ball technique. The methodology used to generate group consensus was the three rounds of Delphi Technique. The research instrument consisted of three questionnaires. The collected data were analyzed by median and interquartile range. The results revealed that : 1. The 135 items of group consensus from 136 items were considered a model for the utilization of educational fieldtrip for environmental education instruction. 2. The model comprised of eight steps : 2.1 Determine content and state objectives : Determine the appropriate content, and fieldtrip objectives should be stated in 3 domains, cognitive, affective, and psychomotor, with emphasis on affective domain. 2.2 Prepare location : Select the appropriate and suitable location for learners, learning experiences, subject content, safety ; study in the nearby community using the qualified and sufficient local wisdom and resource persons. 2.3 Prepare instructor : Instructor should survey location, provide effective use of facilities, set safety standard, motivate learners through variety use of media, and provide necessary materials and equipment for each fieldtrip. 2.4 Prepare learner : learners should be in normal physical health, inform learners' time and schedule, provide knowledge and train learners the required fieldtrip skills. 2.5 Conduct activities : Activities should be learner-centered and practical for the learner ; promote self-study skills. 2.6 Summarize fieldtrip outcome : learners should be able to generalize and infer their experiences through learner-instructor discussion and media ; encourage free response. 2.7 Conduct follow-up activities: integrate fieldtrip experiences into other subjects ; conduct continuous activities in school and community. 2.8 Evaluate fieldtrip : assess learners' learning achievement against three domains of objective | en |
dc.description.budget | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.description.sponsorship | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.format.extent | 2850863 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.413 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สื่อการสอน | en |
dc.subject | การศึกษานอกสถานที่ | en |
dc.subject | สิ่งแวดล้อมศึกษา | en |
dc.title | การนำเสนอรูปแบบการใช้สื่อการศึกษานอกสถานที่ เพื่อการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา | en |
dc.title.alternative | A proposed model for the utilization of educational fieldtrip for environmental education instruction in elementary schools | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.413 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.