Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40211
Title: | การศึกษาคำเรียกเสียงและคำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับเสียงในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ |
Other Titles: | An ethnosemantic study of terms for hearing and terms expressing attitudes to sounds in Thai |
Authors: | สิริวิมล ศุกรศร |
Advisors: | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ -- แง่จิตวิทยา การได้ยิน อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ Thai language -- Semantics Thai language -- Semantics -- Psychological aspects Hearing Ethnosemantic |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คำเรียกเสียงหมายถึงคำที่ใช้ระบุเสียงที่ได้ยิน เป็นคำที่บ่งบอกคุณสมบัติของเสียง ซึ่งเป็นการรับรู้พื้นฐานของมนุษย์ ในอดีตงานวิจัยที่เกี่ยวกับเสียงมีเป็นจำนวนมากในหลายสาขา แต่ยังไม่มีงานวิจัยด้านคำในฐานะเป็นตัวแทนมโนทัศน์ที่เป็นประเภทของเสียง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำเรียกเสียงในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ โดยวิเคราะห์ความหมายของคำเรียกเสียงพื้นฐานด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ วิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำเรียกเสียงไม่พื้นฐาน และวิเคราะห์คำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับเสียงและความสัมพันธ์ของคำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับเสียงกับคำเรียกเสียงพื้นฐานในภาษาไทย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนวนิยาย 10 เล่ม และจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวไทยที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน โดยนำรายการสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์และสถานการณ์ จำนวน 110 รายการ ไปตั้งเป็นคำถามถามผู้บอกภาษา ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า คำเรียกเสียงพื้นฐานในภาษาไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 10 คำ ได้แก่ คำว่า ดัง กังวาน ก้อง ค่อยและเบา แหลม เล็ก ทุ้ม ใหญ่ และ แหบ ซึ่งแทนประเภทเสียงพื้นฐาน 9 ประเภท จากการศึกษาความหมายของคำเรียกเสียงพื้นฐานโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า คำเหล่านี้แตกต่างกันด้วยมิติแห่งความแตกต่างจำนวน 8 มิติ ได้แก่ ความชัดเจนของการได้ยิน การกินพื้นที่ การกินเวลา ความคงที่ของการได้ยิน ระดับเสียง ความเสียดแทง ความนุ่มนวล และความต่อเนื่องของเสียง เมื่อวิเคราะห์กลวิธีในการสร้างคำเรียกเสียงไม่พื้นฐานพบว่า มีทั้งสิ้น 5 กลวิธีหลัก ได้แก่ 1) กลวิธีการใช้ศัพท์เดี่ยว เช่น กระหึ่ม อื้ออึง 2) กลวิธีการผสมคำเรียกเสียงเข้าด้วยกัน เช่น ก้องกังวาน เล็กแหลม 3) กลวิธีการซ้ำคำเรียกเสียง เช่น เบาๆ แล้ม-แหลม 4) กลวิธีการผสมคำเรียกเสียงกับคำขยาย เช่น ทุ้มลึก แหลมบาดหู และ 5) กลวิธีการใช้คำว่า ออก เช่น ออกแหลม ออกห้าว ผลการวิเคราะห์คำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับเสียง พบคำแสดงทัศนคติทางบวกต่อเสียงที่ได้ยิน เช่น “ไพเราะ” “ใส” คำแสดงทัศนคติทางลบต่อเสียงที่ได้ยิน เช่น “บาดหู” “แสบแก้วหู” และคำแสดงทัศนคติเป็นกลาง เช่น คำว่า “เฉยๆ” “ธรรมดา” และ “ฟังได้” งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า คำเรียกเสียงสะท้อนให้เห็นการรับรู้และการจำแนกประเภทเสียงที่ได้ยินของคนไทย ซึ่งสนับสนุนความคิดที่ว่าคำเป็นตัวสะท้อนมโนทัศน์และระบบความคิดของผู้พูด |
Other Abstract: | Hearing is a basic sense of perception identified by hearing terms. Previous studies on hearing show that there are many studies in several fields, but there has been no study that relates hearing with terms in a particular language. This study deals with hearing terms and terms expressing attitude toward hearing in Thai. It aims to analyze the meanings of basic hearing terms, linguistics strategies in forming non-basic hearing terms, the meaning of terms expressing attitude toward hearing and the relationship between such terms and the basic hearing terms. The data was taken from ten novels in Thai and interviewing fifteen native speakers of Thai by using 110 things, phenomena, and situations as stimuli. The results of the study show that there are ten basic hearing terms in Thai representing nine basic categories of sounds: daŋ ‘loud’, kaŋwaan ‘resonance’, kɔŋ ‘echo’, bau or khɔi ‘soft’, lææm ‘sharp’, lék ‘thin’, thúm ‘mellow’, yài ‘thick’, and hææp ‘hoarse’. Furthermore, the analysis of the meaning of these basic hearing terms show that they are differentiated by eight dimensions of contrasts: clarity, covering wide space, time consuming, consistence of sound, pitch, piercing, softness, and continuity. The analysis of non-basic hearing terms show that there are five main strategies in forming Thai non-basic hearing terms: using monolexemic word, combining two hearing terms, reduplication, combining hearing terms with a modifier, and using the word ʔɔɔk. With regard to the terms expressing attitude to hearing or sounds, it is found that they can be divided into three categories according to their meanings: positive attitude terms, e.g. ‘beautiful’, ‘clear’; negative attitude terms, e.g. ‘unpleasant to hear’, ‘screeching’, and neutral attitude terms, e.g. ‘indifferent’, ‘simple’, and ‘so-so’. This study shows that hearing terms in Thai reflect the way Thai people perceive and categorize sounds. This support the notion that words reflect the cognitive system of the speakers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40211 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.471 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.471 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirivimol_Su.pdf | 3.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.