Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4075
Title: การกำจัดตะกั่วและทองแดงจากน้ำเสีย โดยซิลิกาเจลที่ใช้แล้วเคลือบด้วยเหล็กออกไซด์
Other Titles: Removal of lead and copper from wastewater by iron-oxide coated waste silica gel
Authors: เบญจวรรณ วงศ์ศิริ, 2522-
Advisors: เฟื่องฟ้า อุ่นอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดตะกั่ว
น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดทองแดง
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการเตรียมตัวดูดซับเพื่อใช้ในการกำจัดตะกั่วและทองแดงออกจากน้ำเสียโดยซิลิกาเจลที่ใช้แล้วเคลือบด้วยเหล็กออกไซด์ ผลการศึกษา พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการเคลือบแบบที่ 1 (Modified Adsorption Method) คือใช้สารละลายเหล็กที่ความเข้มข้น 0.35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ปริมาตร 10 มิลลิลิตร ที่พีเอชของสารละลายเหล็กเท่ากับ 12.0 ต่อซิลิกาเจล 5 กรัม ที่ผ่านการอบมาก่อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนการเคลือบแบบที่ 2 (Modified Precipitation Method) คือ ใช้สารละลายเหล็กที่ความเข้มข้น 0.28 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ปริมาตร 25 มิลลิลิตร ต่อซิลิกาเจล 5 กรัม ที่ผ่านการอบมาก่อนที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 ชั่วโมง และปรับพีเอชของสารละลายเหล็กให้เท่ากับ 7.0 โดยใช้อุณหภูมิในการเคลือบที่ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ชั่วโมง และอบต่อที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากเคลือบแล้วซิลิกาเจลที่ได้มีความสามารถในการจับกับโลหะหนักสูงขึ้น ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดตะกั่วและทองแดง คือ ใช้ระยะเวลาในการสัมผัสนาน 30 นาที และพีเอชของสารละลายโลหะเท่ากับ 5.5 โดยสามารถกำจัดตะกั่วและทองแดงได้มากที่สุดเท่ากับ 11.82 และ 3.55 มิลลิกรัมต่อตัวดูดซับหนึ่งกรัม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพีเอชของสารละลายโลหะเท่ากับ 3 หรือต่ำกว่าเหล็กออกไซด์ที่เคลือบอยู่บนผิวของตัวดูดซับจะถูกชะละลายให้ปนเปื้อนออกมาในสารละลายได้ และการเติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.01 โมลต่อลิตรขึ้นไปในสารละลายโลหะจะส่งผลให้ตัวดูดซับสามารถกำจัดตะกั่วและทองแดงได้น้อยลง โดยการกำจัดโลหะหนักที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับไอโซเทอมของการดูดซับแบบฟรุนด์ลิช และเมื่อทำการเคลือบซิลิกาเจลที่ใช้แล้วที่นำมาจากต่างห้องปฏิบัติการ พบว่า สามารถกำจัดตะกั่วได้อยู่ในช่วง 8.21-11.82 มิลลิกรัมต่อซิลิกาเจลหนึ่งกรัม และกำจัดทองแดงได้อยู่ในช่วง 2.12-3.55 มิลลิกรัมต่อซิลิกาเจลหนึ่งกรัม โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดโลหะหนักจากน้ำเสียจริงที่มีตะกั่วที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 22.66 มิลลิกรัมต่อลิตร และทองแดงที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 13.11 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้เท่ากับ 89.48 และ 83.52 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Other Abstract: An iron-oxide coated waste silica gel was prepared for using as an adsorbent. Two preparation methods, modified adsorption method and modified precipitation method, were used. For the modified adsorption method, 5 grams of silica gel pretreated at 100 ํC for 24 hours were mixed with 10 mL of 0.35 %w/v iron concentration at pH 12.0. For the modified precipitation method, 5 grams of silica gel pretreated at 500 ํC for 3 hours were mixed with 25 mL of 0.25 %w/v iron concentration before adjusting the pH to 7.0. The obtained silica gel was baked at 80 ํC for 10 hours and further calcined at 550 ํC for 6 hours. The coated silica gels showed higher metals adsorption capacity than the uncoated one. In the study of metal removal using the adsorbent, the effect of contact time and pH of solution were investigated. The contact time of 30 minutes was used in adsorption experiments. Pb and Cu could be adsorbed on the adsorbent at pH 5.5. The maximum adsorption capacity of Pb and Cu are 11.82 and 3.55 mg/g silica gel, respectively. When the pH of metal solution is 3 or lower, the solubilization of iron oxide coated on surface of silica gel is observed. The presence of NaCl in metal solution in the level of 0.01 M or higher reduces the adsorption capacity of Pb and Cu. The adsorption isotherm of Pb and Cu are defined by the function of Freundlich. The adsorbents prepared from waste silica gel of different sources have adsorption capacity in the range of 8.21 11.82 and 2.12 3.55 mg/g silica gel for Pb and Cu, respectively. The maximum %removal of Pb and Cu from real wastewater having initial concentration of 22.66 mg/L for Pb and 13.11 mg/L for Cu are 89.48 % and 83.52%, respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4075
ISBN: 9741765207
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjawan.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.